ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์

พระอนุวงศ์ไทยผู้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์

ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ (เดิม: หม่อมเจ้าศรีสว่างวงศ์ ยุคล; ประสูติ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489) เป็นธิดาในพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่ทองแถม ประยูรโต เป็นโสทรเชษฐภคินีในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล

ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์
เกิดหม่อมเจ้าศรีสว่างวงศ์ ยุคล
17 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
คู่สมรสศักดา บุญจิตราดุลย์
บุตรทีฆ บุญจิตราดุลย์
ศศินทุ์ บุญจิตราดุลย์
บิดามารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
ทองแถม ประยูรโต

ประวัติ

แก้

ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ เป็นธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่ทองแถม ประยูรโต เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489 มีเจ้าน้องร่วมหม่อมมารดาสององค์ คือ หม่อมเจ้าหญิง (ถึงชีพิตักษัยเมื่อชันษา 1 วัน) และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล และมีเจ้าพี่เจ้าน้องต่างหม่อมมารดาอีกสี่องค์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (ตอ. 26) และระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศรีสว่างวงศ์ขอพระราชทานกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2521[1] เพื่อสมรสกับศักดา บุญจิตราดุลย์ มีบุตรสองคน คือ ทีฆ บุญจิตราดุลย์ และศศินทุ์ บุญจิตราดุลย์[2]

การทำงาน

แก้

ศรีสว่างวงศ์เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปปฏิบัติกรณีกิจอยู่บ่อยครั้ง เช่น ไปในการบำเพ็ญพระกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[3] นอกจากนี้ยังได้ถวายงานใต้เบื้องพระยุคลบาทมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลก่อนสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันเช่น

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราชพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง[4]

ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปี พ.ศ. 2560 ร่วมเดินในริ้วขบวนอิสริยศ ริ้วขบวนที่ 2 ร่วมกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล, ร้อยเอก หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล และหม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล[5]

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีตักบาตรเนื่องในพระราชพิธีสงกรานต์ โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ 150 รูป เข้าไปรับพระราชทานบิณฑบาตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง[6]

ในปี พ.ศ. 2563 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานในพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 50 รูป ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร, วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร, วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เข้าไปรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์, เล่ม 96, ตอนที่ 16, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522, หน้า 587
  2. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-07-03.
  4. ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2559
  5. https://news.thaipbs.or.th/content/266944
  6. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/750236
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-23. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
  8. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้