การเฉลิมพระยศเจ้านาย

พระยศเจ้านายในราชสกุลมี 2 ประเภท[1] คือ

  1. แผนผังแสดงการได้มาของสกุลยศ
    สกุลยศ คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้านายชั้นต่าง ๆ ซึ่งธงทอง จันทรางศุ ได้กล่าวว่า "เป็นยศที่ได้มาด้วยพระชาติกำเนิด"[2] ประกอบด้วย 3 ลำดับ ได้แก่
    1. เจ้าฟ้า — คือ พระราชโอรสธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีพระชนนีเป็นเจ้านาย
    2. พระองค์เจ้า — คือ
      1. พระราชโอรสธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีพระชนนีเป็นสามัญชน
      2. พระโอรสธิดาของเจ้าฟ้า ที่มีพระมารดาเป็นเจ้า
    3. หม่อมเจ้า — คือ
      1. พระโอรสธิดาของเจ้าฟ้า ที่มีพระมารดาเป็นสามัญชน
      2. พระโอรสธิดาของพระองค์เจ้า
  2. อิสริยยศ คือ ยศที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนา ซึ่งธงทอง จันทรางศุ ได้อธิบายความว่ามีอยู่ 2 แบบ[2] คือ
    1. มีพระบรมราชโองการตั้งให้ทรงกรม
    2. มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนลำดับชั้นความเป็นเจ้านายขึ้น ซึ่งแยกย่อยออกได้เป็น 2 กรณี
      1. เลื่อนพระยศขึ้นในเวลาที่ยังทรงพระชนม์อยู่
      2. สถาปนาพระอัฐิ คือ การเลื่อนพระยศขึ้นเมื่อสิ้นชีพตักษัยไปแล้ว

การเฉลิมพระยศเจ้านาย

แก้

ประเพณีการเฉลิมพระยศ เจ้านายแต่โบราณ ถือเอาการสองอย่างเป็นหลัก คือ การอภิเษกอย่างหนึ่ง และ การจารึกพระสุพรรณบัฏอย่างหนึ่ง

  • การอภิเษก คือ ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง (คือพระเจ้าแผ่นดิน) รดน้ำให้บนศีรษะ คือ สัญลักษณ์ของการมอบหมายทั้งยศและหน้าที่
  • พระสุพรรณบัฏ คือ แผ่นทองจารึกพระนามของเจ้านายพระองค์นั้น และจะพระราชทานจากพระหัตถ์ ให้แก่เจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศ

การเฉลิมพระยศเจ้านายนั้น ถือเอาการ จารึกพระสุพรรณบัฏ เป็นสำคัญ โดยจะต้องทำพิธีสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ต้องหาวันฤกษ์งามยามดีที่จะจารึก
  2. ต้องทำพิธีจารึกในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  3. ต้องมีสมณะและพราหมณ์พร้อมกันอวยชัยในพิธี
  4. ต้องประชุมเสนาบดีนั่งเป็นสักขีพยาน

ในรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากทรงยกเลิกระบบไพร่แล้ว การ "ทรงกรม" ของเจ้านาย จึงเป็นเพียงแต่การให้พระเกียรติยศ แก่เจ้านายพระองค์นั้น แต่ไม่มีไพร่สังกัดกรมแต่อย่างใด ส่วนพระนามของเจ้านายที่ทรงกรมได้แบบธรรมเนียมมาจากยุโรป โดยทรงตั้งพระนามเจ้านายที่ทรงกรมตามชื่อเมืองต่าง ๆ ได้แก่

ในรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ในการพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ 6 รอบ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง

ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 และในปีเดียวกันนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ในการราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 1
  2. 2.0 2.1 ธงทอง จันทรางศุ. “หลังลับแลมีอรุณรุ่ง : พระยศของเจ้านาย” มติชนสุดสัปดาห์. 28 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567.
บรรณานุกรม
  • จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 508 หน้า. ISBN 974-417-527-3
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 68. ISBN 978-974-417-594-6

ดูเพิ่ม

แก้