พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
มหาอำมาตย์ตรี มหาเสวกตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 51 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด เป็นต้นราชสกุลสุริยง และเป็นพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดากับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง | 9 เมษายน พ.ศ. 2454[1] - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 |
ประสูติ | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 |
สิ้นพระชนม์ | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 (34 ปี) |
หม่อม |
|
พระบุตร |
|
ราชสกุล | สุริยง |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ. |
พระประวัติ
แก้พระชนม์ชีพช่วงต้นและการศึกษา
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 9 ขึ้น 7 คํ่า ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ตรงกับ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 51 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ. มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินี 2 พระองค์ คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสเสด็จไปศึกษาต่อที่ทวีปยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2440 ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ จบการศึกษาแล้วกลับมาผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร[2]
รับราชการ
แก้หลังจากลาผนวช ทรงรับราชการจนได้เป็นมหาอำมาตย์ตรี ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[3]อธิบกรมสำรวจ[4]และอธิบดีโรงกษาปณ์[5][6]
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส เมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457[7] พระองค์ทรงรับราชการตำแหน่ง มหาเสวกตรี ผู้ตรวจการกรมศิลปากร ซึ่งเป็นกรมที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยโอนกิจการของกรมช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ
นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[8]
สิ้นพระชนม์
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส สิ้นพระชนม์ด้วยอหิวาตกโรค เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 34 ปี 277 วัน[9]
พระโอรส-ธิดา
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสเป็นต้นราชสกุล สุริยง มีหม่อม 5 ท่าน โดยหม่อมท่านแรกคือ หม่อมชื้น ธิดาเจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)[10] ซึ่งเป็นญาติฝ่ายพระชนนี และได้รับการยอมรับให้เป็นสะใภ้หลวง[11] นอกนั้นก็มีนางห้ามท่านอื่น ได้แก่ หม่อมจง หม่อมเรณี (สกุลเดิม ฟุสโก – ธิดาร้อยโท ไมเคิล ฟุสโก) หม่อมสวง (น้องสาวหม่อมจง) และหม่อมเรณิ (น้องสาวหม่อมเรณี) โดยมีพระโอรสและพระธิดา 12 องค์ ดังนี้[12][13]
ลำดับ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | มารดา | เสกสมรส | พระนัดดา |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | หม่อมเจ้าไตรภูมิประยุรพันธุ์ สุริยง | 24 กันยายน พ.ศ. 2450 | 10 มีนาคม พ.ศ. 2452 | หม่อมชื้น สุริยง ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) |
มิได้สมรส | |
2. | หม่อมเจ้าแฝด (ไม่มีพระนาม) | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2454 | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2454 | มิได้สมรส | ||
3. | หม่อมเจ้าแฝด (ไม่มีพระนาม) | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2454 | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2454 | มิได้สมรส | ||
4. | หม่อมเจ้ารัศมีสุริยัน สุริยง | 29 มีนาคม พ.ศ. 2456 | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2531 | หม่อมจง สุริยง อยุธยา | หม่อมมาร์แซลล์ สุริยง ณ อยุธยา (สกุลเดิม ดูมาส์) |
หม่อมราชวงศ์สุรินทร์ สุริยง |
5. | ท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2456 | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | หม่อมเรณี สุริยง อยุธยา (สกุลเดิม ฟุสโก) |
จิตติ สุจริตกุล | ไกรจิตต์ สุจริตกุล |
6. | กิรณานฤมล ดูรยะชีวิน | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2458 | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 | หม่อมสวง สุริยง ณ อยุธยา | หม่อมเจ้าเจตนาธร จักรพันธุ์ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) |
ผกากน ทองคำ พิมลชัย ดูรยะชีวิน พิไลวรรณ ม่วงศิริธรรม จันทราภรณ์ พลดี สุริยพันธุ์ ดูรยะชีวิน |
7. | หม่อมเจ้าโกศลสุริยาทิตย์ สุริยง | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2458 | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 | หม่อมเรณิ สุริยง ณ อยุธยา (สกุลเดิม ฟุสโก) |
หม่อมธีระ สุริยง ณ อยุธยา (นามเดิม เทรุโกะ อีชิมัทสึ) หม่อมอรพินท์ สุริยง ณ อยุธยา (สกุลเดิม เบอร์เดน) |
หม่อมราชวงศ์ทัศนัย สุริยง หม่อมราชวงศ์เชื้อชัย สุริยง หม่อมราชวงศ์เดือนเต็ม ปานแสง |
8. | หม่อมเจ้ากิติสุริโยภาส สุริยง | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2459 | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2481 | มิได้สมรส | ||
9. | หม่อมเจ้าทินชาติธำรง สุริยง | 14 กันยายน พ.ศ. 2459 | 16 กันยายน พ.ศ. 2540 | หม่อมจง สุริยง อยุธยา | หม่อมราชวงศ์ศุภกันต์ สุริยง (ราชสกุลเดิม เทวกุล) |
หม่อมราชวงศ์ทินเทวัญ สุริยง หม่อมราชวงศ์วโรทัย สุริยง |
10. | หม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 | หม่อมเรณิ สุริยง อยุธยา (สกุลเดิม ฟุสโก) |
หม่อมสุลาลีวัลย์ สุริยง ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุวรรณทัต) |
หม่อมราชวงศ์ธิติสาร สุริยง หม่อมราชวงศ์ประยูรพันธุ์ สุริยง หม่อมราชวงศ์นันทนา สุริยง หม่อมราชวงศ์อำพล สุริยง หม่อมราชวงศ์อัจจิมา สุริยง |
11. | หม่อมเจ้าสุริยทัตรังสรรค์ สุริยง | 18 กันยายน พ.ศ. 2460 | 1 เมษายน พ.ศ. 2514 | หม่อมเรณี สุริยง อยุธยา (สกุลเดิม ฟุสโก) |
หม่อมสดับ สุริยง ณ อยุธยา (สกุลเดิม สันธินาค) |
|
12. | หม่อมเจ้าสุวรรณกุมารี สุริยง | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2461 | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | หม่อมเรณิ สุริยง อยุธยา (สกุลเดิม ฟุสโก) |
มิได้สมรส |
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
- 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
- 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2452 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2449 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[16]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[17]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[18]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[19]
พระยศ
แก้พระยศพลเรือน
แก้- มหาอำมาตย์ตรี
- มหาเสวกตรี
พระยศเสือป่า
แก้- 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458: นายหมวดตรี[20]
ราชตระกูล
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส |
พระชนก: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: หม่อมน้อย | |||
พระชนนี: เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ท่านผู้หญิงกลิ่น | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ท่านผู้หญิงอิ่ม |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล |
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/51.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การทรงผนวชแลบวชนาคหลวง, เล่ม 26, ตอน ๐ง, ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๒, หน้า ๙๑๙-๙๒๔
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/025/627_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/033/836.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/048/1292_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/001/19_2.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม, เล่ม ๓๑, ตอน ๐ง, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗, หน้า ๑๘๓๕
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/51.PDF
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์
- ↑ "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 5 สายเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วน บุนนาค)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'สะใภ้เจ้า' กับภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคม". มติชนออนไลน์. 14 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 26 (ตอน 0 ง): หน้า 2626. 6 มีนาคม ร.ศ. 128. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 23 (ตอน 27): หน้า 679. 30 กันยายน ร.ศ. 125. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 1783. 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 50. 9 เมษายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 1802. 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 15 (ตอน 26): หน้า 283. 25 กันยายน ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พระราชทานยศเสือป่า