จิตติ สุจริตกุล
จิตติ สุจริตกุล (4 มีนาคม พ.ศ. 2451 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2513) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และอดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นพระอนุชาใน สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ในรัชกาลที่ 6
จิตติ สุจริตกุล | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2513 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 มีนาคม พ.ศ. 2451 |
เสียชีวิต | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2513 (62 ปี) |
คู่สมรส | หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง (สมรส 2485) |
ประวัติ
แก้จิตติ สุจริตกุล เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2450 ที่ตำบลบางสะแก อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับท่านผู้หญิงกิมไล้ สุธรรมมนตรี เป็นบุตรคนที่ ุ6 มีพี่น้องร่วมมารดา 7 คน คือ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสุจริตธำรง (สวาส สุจริตกุล) พระพิบูลย์ไอศวรรย์ (เปรียบ สุจริตกุล) สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา นายกวดหุ้มแพร (โต สุจริตกุล) และนางปิมปลื้ม บุนนาค
จิตติ สุจริตกุล เริ่มเรียนอักษรเลขที่บ้าน จนในปี พ.ศ. 2456 ได้เข้าเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียนมัธยมวัดนวลนรดิศ
จิตติ สุจริตกุล สมรสกับท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง) พระธิดาลำดับที่ 2 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส[1][2] มีบุตรชาย คือ นายไกรจิตต์ สุจริตกุล สมรสกับนางพัลลภา หงสกุล[3] มีบุตรสองคนคือ โสภณา และศักดิ์สุริยง สุจริตกุล[4]
ในพ.ศ. 2511 ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
การทำงาน
แก้จิตติ สุจริตกุล เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศและรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ในปี พ.ศ. 2512 จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม[5] ในขณะยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้จิตติ สุจริตกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[9]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[11]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2502 – เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นที่ 2 ทุติยาภรณ์[12]
- นครรัฐวาติกัน :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญเกรกอรีมหาราช ชั้นที่ 1[13]
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นที่ 1
- เอธิโอเปีย :
- ตูนิเซีย :
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาสสำนักพระราชวัง เรื่องลาออกจากถานันดรสักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 59 (60ง): 2099. 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2534.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ "สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ 6" (PDF). ชมรมสายสกุล ณ สงขลา. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (แต่งตั้ง พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทนนายจิตติ สุจริตกุล ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๒๔๗๓, ๓ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๓๒๘, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๕๑, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๑๕๔๗, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๔๐๔, ๑๕ กันยายน ๒๕๐๗