สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2467) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 55 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามาลินีนภดารา"

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นโท
กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
ประสูติ31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428
สิ้นพระชนม์22 ธันวาคม พ.ศ. 2467 (39 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

เมื่อปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา"[1] หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามาภิไธยสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี"[2]

ในปี พ.ศ. 2454 ทรงร่วมกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี พระโสทรขนิษฐภคินี บริจาคทุนทรัพย์สร้างเครื่องใช้สำหรับ "ตึกเยาวมาลย์อุทิศ ปิยราชบพิตร ปดิวรัดา" ในโรงเรียนเทพศิรินทร์

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี ประชวรด้วยพระโรคพระปับผาสะมานาน และต่อมาประชวรด้วยโรคพระวักกะ พระอาการทรุดลงและสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2467 ณ วังสวนสุนันทา สิริพระชันษา 39 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ วังสวนสุนันทา เจ้าพนักงานภูษามาลาเชิญพระศพลงสู่พระโกศลองในประกอบด้วยพระโกศกุดั่นใหญ่ และอัญเชิญพระศพจากวังสวนสุนันทา มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ภายในพระราชวังดุสิต ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในมีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา"[3]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามาลินีนภดารา (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 - พ.ศ. 2431)
  • พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา (พ.ศ. 2431 - พ.ศ. 2439)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี (พ.ศ. 2439 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2467)

ภายหลังการสิ้นพระชนม์

  • สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (4 มกราคม พ.ศ. 2468 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[4]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาค และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม 5, ตอน 8, 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431, หน้า 61
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานพระสุพรรณบัฏ, เล่ม 13, ตอน 44, 31 มกราคม พ.ศ. 2439, หน้า 533
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาตั้งกรมสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดาราศิรินิภาพรรณวดี เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน เก็บถาวร 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 41, ตอน ง, 11 มกราคม พ.ศ. 2467, หน้า 3635
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 41, ตอน ง, 4 มกราคม พ.ศ. 2467, หน้า 3573
  5. "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์และเครื่องยศที่พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ได้รับพระสุพรรณบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 13 (ตอน 45): หน้า 548. 7 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 115. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 38 (ตอน 0 ง): หน้า 3194. 29 มกราคม พ.ศ. 2464. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "ถวายบังคมพระบรมรูป และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเศกครั้งหลัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 12 (ตอน 33): หน้า 304. 17 พฤศจิกายน ร.ศ. 114. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 39): หน้า 1153. 27 ธันวาคม ร.ศ. 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน 0 ง): หน้า 2444. 22 มกราคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)