หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พลเรือเอก[1] นายแพทย์ หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ (27 ธันวาคม พ.ศ. 2472 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ประสูติแต่หม่อมเร่ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา เป็นพระอนุชาร่วมพระชนกในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗
หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2472 |
สิ้นชีพิตักษัย | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (94 ปี) |
หม่อม | หม่อมนวลศรี สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์วไลวัฒนา สวัสดิ์-ชูโต หม่อมราชวงศ์สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์ |
ราชสกุล | สวัสดิวัตน์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ |
พระมารดา | หม่อมเร่ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ประสูติแต่หม่อมเร่ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2472 และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]
หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ มีภราดาและภคินีร่วมครรโภทรสิบองค์[3]
หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสกสมรสกับหม่อมนวลศรี สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม วีรบุตร) ธิดาพลตำรวจตรีวุฒิ วีรบุตร มีโอรสธิดาสองคน ได้แก่[4]
- หม่อมราชวงศ์วไลวัฒนา สวัสดิ์-ชูโต สมรสกับวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต
- หม่อมราชวงศ์สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์ สมรสกับวรัตดา สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
อีกทั้งยังเป็นพระอนุวงศ์ผู้ใหญ่ ครั้นถึงเทศกาลสงกรานต์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชสำนักผู้ใหญ่ เชิญเครื่องสรงน้ำสงกรานต์ไปพระราชทาน เป็นการแสดงพระราชกตัญญุตาธรรมตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสรงน้ำสงกรานต์ไปพระราชทาน[5]
การทรงงานและกรณียกิจ
แก้พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และทรงสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2505
ทรงเข้ารับราชการตั้งแต่ พ.ศ. 2505 โดยทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นนายแพทย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ กรมแพทย์ทหารเรือ ต่อมาเป็นรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และเป็นนายแพทย์ประจำสำนัก กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นต้น[4]
พ.ศ. 2534 เป็นราชองครักษ์พิเศษ และวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานพระยศ พลเรือเอก เป็นกรณีพิเศษ และแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษประจำกองบังคับการกรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กองนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน[6] และงานพิเศษ พ.ศ. 2528[4]
หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เป็นแพทย์ไทยที่นำวิทยาการด้านรังสีวิทยามาใช้ในการตรวจวิเคราะห์ และวินิจฉัยอาการป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้วิทยาการด้านรังสีวิทยาประเมินอาการของโรคได้อย่างแม่นยำ ทรงเป็นแพทย์ไทยท่านแรกที่ได้นำเครื่องมืออัลตราซาวนด์มาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ทำให้วิทยาการด้านนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วประเทศ เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้โดยทั่วไป
พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อสาธารณประโยชน์อยู่หลายองค์กร ได้แก่
- มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- มูลนิธิบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
- มูลนิธิชีวิตพัฒนาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- ชมรมอัลตร้าซาวด์ทางการแพทย์แห่งประเทศไทย
การทรงงานพิธีเนื่องด้วยพระราชวงศ์
แก้หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสด็จทรงงานพิธีเนื่องด้วยพระราชวงศ์ต่าง ๆ อาทิ
9 มีนาคม พ.ศ. 2528 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ทรงอัญเชิญเครื่องทองน้อย ในขบวนพระอิสริยยศ พร้อมด้วยราชสกุลสวัสดิวัตน์ พระประยูรญาติในสมเด็จฯ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
13 เมษายน ของทุกปี เสด็จบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ณ พระอุโบสถ วัดราชาธิวาสวิหาร สืบต่อจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเคยเสด็จเป็นประจำทุกปี
7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ และราชสกุลสวัสดิวัตน์ เป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
6 มกราคม พ.ศ. 2562 เสด็จไปทรงเยี่ยมชมงานอุ่นไอรักคลายความหนาว "สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น ณ ลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า และโดยเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ร่วมทอดพระเนตรการแสดง
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เป็นพระบรมวงศานุวงศ์องค์แรก โดยทรงเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษกที่พระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพระเต้าเบญจคัพย์ รัชกาลที่ 5 ระหว่างการสรงมุรธาภิเษก และระหว่างพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ หม่อมเจ้าปุสานทรงกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษกด้วยถ้วยศิลาจารึกพุทธคาถาเป็นทิศแรก คือ ทิศบูรพา[7]
เสด็จปฏิบัติกรณียกิจแทนพระองค์
แก้พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ทรงปฏิบัติกรณียกิจแทนพระองค์อยู่บ่อยครั้ง[1] เช่น
พระราชพิธีถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[8] ในวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี
พระราชพิธีบำเพ็ญพระกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
2 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เสด็จแทนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระกุศลครบ 150 ปี วันประสูติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พระราชพิธีบำเพ็ญพระกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
4 เมษายน พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงพระบุพโพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
พระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2559[9]
พระราชพิธีบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีบวงสรวงงาช้างสำหรับสร้างพระราชลัญจกรในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง
22 - 23 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นผู้แทนพระองค์ ในการพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล เป็นต้น
สิ้นชีพิตักษัย
แก้หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ได้สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 สิริชันษา 94 ปี ทั้งนี้ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เป็นเจ้านายที่มีพระชนม์อยู่เป็นองค์สุดท้ายของราชสกุลสวัสดิวัตน์[10] วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชทานดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในโอกาสนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล โดยเสด็จในการนี้ด้วย
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[14]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๒ (ว.ป.ร.๒)[16]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
ยศทางทหาร
แก้หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพเรือ |
ประจำการ | 18 มีนาคม พ.ศ. 2552 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 |
ชั้นยศ | พลเรือเอก |
- 1 มกราคม พ.ศ. 2501: เรือโท[17]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504: เรือเอก[18]
- พลเรือตรี
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2552: พลเรือเอก[6]
รางวัลเกียรติยศ
แก้- รางวัลคนดีศรีแพทย์ทหาร ครั้งที่ 5 ประจำปีพุทธศักราช 2563 จากสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาการแพทย์ทหาร และบริการสังคม ซึ่งเป็นรางวัลที่ยกย่องเชิดชูเกียรติ บุคคลตัวอย่างของแพทย์ทหาร ตำรวจ ในฐานะแพทย์ “ผู้ริเริ่ม Ultrasound หรือ การตรวจด้วยเครื่องมือการตรวจอวัยวะภายในร่างกายที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงของประเทศไทย,นายแพทย์ทหารผู้ถวายงานรับใช้พระบรมวงศ์ และผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน”
สถานที่เนื่องด้วยพระนาม
แก้- ห้องประชุมพลเรือเอกหม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ชั้น 3 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์[19] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ข่าวในพระราชสำนัก 13 เมษายน 2552
- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
- ↑ "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 4 สายพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (แย้ม บุนนาค)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-02. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 "ฉลองครบ 84 ชันษา พล. ร.อ. นพ. ม.จ. ปุสาณ สวัสดิวัตน์". แนวหน้า. 30 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ในหลวง ทรงน้อมพระวรกายพระราชปฏิสันถารกับ ม.จ.ปุสาณ สวัสดิวัตน์ พระอนุวงศ์ผู้ใหญ่
- ↑ 6.0 6.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารเป็นกรณีพิเศษและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พลเรือตรี หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 9ข วันที่ 10 มิถุนายน 2552 หน้า 129
- ↑ หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๕๖๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เก็บถาวร 2019-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ข่าวในพระราชสำนักราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 16ข วันที่ 15 มิถุนายน 2559
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก ประจำปี 2559 (มกราคม 2559)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 39ข วันที่ 30 ตุลาคม 2559
- ↑ "ม.จ.ปุสาณ สวัสดิวัตน์ สิ้นชีพิตักษัย ประวัติเจ้านายองค์สุดท้าย แห่งราชสกุลสวัสดิวัตน์". www.sanook.com/news. 2024-06-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๒ เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข, ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑๑ เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข, ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานแครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๔ เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๒ เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒, ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๒
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 3 สายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-02. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)