พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย บางแห่งสะกดว่า พิสิษฐสบสมัย[1] (21 กันยายน พ.ศ. 2451 — 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 21 กันยายน พ.ศ. 2451 |
สิ้นพระชนม์ | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 (65 ปี) |
พระสวามี | หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์พิลาศลักษณ์ บุณยะปานะ |
ราชสกุล | บริพัตร (โดยประสูติ) กิติยากร (โดยเสกสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
พระมารดา | หม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ |
ศาสนา | พุทธ |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย เรียกโดยลำลองว่า "ท่านพระองค์หญิงสาม" หรือ "ท่านพระองค์สาม"[2] ประสูติเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2449 เป็นพระบุตรพระองค์ที่สี่และเป็นพระธิดาพระองค์ที่สามในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า หม่อมเจ้าพิสิฐสบสมัย ครั้นในปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทั้งสาย[3]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย เสกสมรสกับหม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับหม่อมละออง กิติยากร ณ อยุธยา มีพระธิดาเพียงคนเดียวคือ หม่อมราชวงศ์พิลาศลักษณ์ กิติยากร ที่ต่อมาได้สมรสกับบัณฑิต บุณยะปานะ (สกุลเดิม สารสิน) มีบุตรธิดาด้วยกันสามคน คือ พิทูร, ศิถี และสิรี บุณยะปานะ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 สิริพระชันษาได้ 65 ปี มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)[4]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[5]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
พงศาวลี
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ปีฉลูสัปตศก พุทธศักราช 2468" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0ก): 66. 3 มีนาคม พ.ศ. 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2015-02-26.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ วิรัช จาตุรงคกุล. "ชีวิตในวังของสกุลจาตุรงคกุล". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๑๙๐๘, ๒ พฤษภาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๐๐, ๖ มีนาคม ๒๔๖๙