หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์

ศาสตราจารย์ ร้อยเอก หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2455 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) อดีตองคมนตรี,อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและเป็นนักภาษาศาสตร์ชาวไทยเชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีและสันสกฤต[1]

จิรายุ นพวงศ์
องคมนตรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มิถุนายน พ.ศ. 2455
ประเทศสยาม
เสียชีวิต7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (91 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา

หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมายได้แก่องคมนตรี,อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม แห่งราชบัณฑิตยสภา ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีและสันสกฤต คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการแผนกอักษรศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล ระหว่างที่ศึกษาอยู่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ไปทำงานเสรีไทย เป็นทหารในกองทัพบกอังกฤษ จนกระทั่งสงครามเสร็จสิ้นจึงปลดประจำการขณะมียศร้อยเอก

บุคคลสำคัญในวงการภาษาไทย

แก้

ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาภาควิชาภาษาไทย ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจากผลงานนี้ได้ก่อกำเนิดให้มีผู้ที่รัก และรู้ภาษาไทยเกิดขึ้นอีกซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตครูทางภาษาไทยของประเทศ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ได้วางพื้นฐาน และ ปรับปรุงหลักสูตรภาษาไทยให้มีความทันสมัย รวมทั้งได้ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษาวิชาภาษาไทยไปถึงขั้นปริญญาเอก ในแง่มุมของคำศัพท์ภาษาไทย ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ได้บัญญัติคำขึ้นใหม่ โยเน้นให้มีความกะทัดรัด ออกเสียงง่าย ได้ใจความและความหมายชัดเจน อาทิเช่น สารัตถศึกษา , กิตติมศักดิ์ , กิตติกรรมประกาศ และ พฤทธาจารย์ เป็นต้น

ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งคือ ได้เป็นพระอาจารย์ในวิชาบาลี และสันสกฤต ถวายพระอักษรแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ครั้งยังทรงศึกษาที่โรงเรียนจิตรลดา และเรื่อยมาจนทรงเข้าศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี

ถึงแก่อสัญกรรม

แก้

หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

ประวัติการศึกษา

แก้

ประวัติการทำงาน

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. การดำรงตำแหน่ง
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๓, ๒๖ เมษายน ๒๔๗๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๑๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
  • จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1