หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2449 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 5 | |
ประสูติ | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2449 วังเชิงสะพานเทเวศรนฤมิตร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นชีพิตักษัย | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 (78 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2528 เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส |
ชายา | หม่อมเจ้าทรงอัปสร รพีพัฒน์ |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ หม่อมราชวงศ์รพีพงษ์ รพีพัฒน์ หม่อมราชวงศ์อับษร โรกอซ |
ราชสกุล | รพีพัฒน์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ |
พระมารดา | หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา |
ศาสนา | พุทธ |
เอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักร | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2506 – 2510 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล |
ถัดไป | สุนทร หงส์ลดารมภ์ |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา (ธิดาของพระยาสุพรรณพิจิตร (โต) กับหม่อมราชวงศ์สำอาง (ธิดาหม่อมเจ้าหนู เสนีวงศ์)) มีโสทรภราดาและโสทรภคินี 10 องค์ และมีขนิษฐาต่างพระมารดา 2 องค์ ประสูติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2449 ณ วังเชิงสะพานเทเวศร์นฤมิตร เมื่อพระชันษาได้ 4 ถึง 5 ปี ทรงเริ่มเรียนหนังสือที่วังฯ โดยมีครูสอนพิเศษคือ มหาวงศ์ สอนหนังสือไทย และครูตั้ง สอนภาษาอังกฤษ ครั้นชันษาได้ 9 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. 2458 ต่อมาเมื่อโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ซึ่งเป็นสาขาของโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้เปิดสอนที่สามเสน ใกล้กับวังเชิงสะพานเทเวศร์ จึงทรงย้ายมาเรียนที่โรงเรียนนี้ เมื่อทรงสอบไล่ได้ชั้นเตรียมแล้วก็ทรงย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2466 ทรงเดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ในช่วงแรกทรงเรียนวิชาภาษาและวิชาสามัญอื่นๆ เป็นเวลา 2 ปี ครั้นถึงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2468 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของประเทศอังกฤษ ที่มิดเดิลเทมเปิล ทรงเรียนจบหลักสูตรและทรงเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2470 หลังจากนั้นได้เสด็จกลับมายังประเทศไทย
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ เข้ารับราชการที่กระทรวงยุติธรรมเป็นข้าราชการตุลาการ ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลแพ่ง[1] หลังจากนั้นได้โอนไปรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งเลขานุการเอก ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ถึง พ.ศ. 2503 และหลังจากนั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศอังกฤษ[2] ประจำ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[3] ในระหว่างปี พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2510
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงอัปสร รพีพัฒน์ ท.จ.ว. (ราชสกุลเดิม กิติยากร; พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร) มีโอรสธิดา 3 คน คือ หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ หม่อมราชวงศ์รพีพงษ์ รพีพัฒน์ และ หม่อมราชวงศ์อับษร โรกอซ
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 สิริชันษา 78 ปี ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานน้ำหลวงสรงศพหม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[4]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[8]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง
แก้- ↑ แจ้งความกระทรวงยุติธรรม เรื่อง ย้ายผู้พิพากษา เล่ม 56 หน้า 1457 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 21 สิงหาคม 2482
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศอังกฤษ เล่ม 80 ตอนที่ 17 ราชกิจจานุเบกษา 19 กุมภาพันธ์ 2506
- ↑ รายนามเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (List of Ambassadors)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ เล่ม 102 ตอนที่ 118 วันที่ 3 พฤษภาคม 2528
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 669 เล่ม 84 ตอนที่ 128 ราชกิจจานุเบกษา 30 ธันวาคม 2510
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 254 เล่ม 82 ตอนที่ 111 ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2508
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 84 ตอนที่ 41 วันที่ 10 พฤษภาคม 2510
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม 70 ตอนที่ 80 ราชกิจจานุเบกษา 29 ธันวาคม 2496