พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์
พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2320 — 7 มิถุนายน พ.ศ. 2377) มีพระนามเดิมว่า แตง เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กับพระชายาทองอยู่ ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 แรม 1 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2320[1]
พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ | |
---|---|
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2320 |
สิ้นพระชนม์ | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2377 (56 ปี) |
พระบุตร | 75 องค์ |
ราชสกุล | เสนีวงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ |
พระมารดา | พระชายาทองอยู่ |
พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ มีพระโสทรภราดา และพระโสทรภคินี 5 พระองค์ คือ
- พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์ (พระนามเดิม ปาน) ต้นราชสกุลปาลกะวงศ์
- พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจับ
- พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนเรศร์โยธี (พระนามเดิม บัว)
- พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์
- พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล
ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงได้รับโปรดเกล้าสถาปนาเป็น "กรมหมื่นเสนีบริรักษ์" เมื่อปี พ.ศ. 2350 ขณะมีพระชันษาได้ 30 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เสด็จไปตีเมืองเวียงจันทน์ จนได้รับชัยชนะหลายครั้ง มีความดีความชอบ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น "กรมหลวงเสนีบริรักษ์" เมื่อปี พ.ศ. 2375[2]
พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2377 สิริพระชันษา 56 ปี มีพระโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น 75 องค์ (ไม่ปรากฏพระนาม 11 องค์ และไม่เป็นองค์ 5)[3] เป็นต้นราชสกุลเสนีวงศ์
พระธิดาองค์สุดท้าย ได้แก่หม่อมเจ้าหญิงเสงี่ยม สิ้นชีพิตักษัยในปี พ.ศ. 2432 สมัยรัชกาลที่ 5 พระชันษา 77 ปี
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. หน้า หน้าที่. ISBN 974-005-650-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- ↑ กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-204-4
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8