เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมมารดาตลับ (สกุลเดิม: เกตุทัต; เกิด: พ.ศ. 2395 — อนิจกรรม: 9 มิถุนายน พ.ศ. 2472) เป็นธิดาคนโตของพระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต) กับภรรยาชื่ออิ่ม[1]
เจ้าจอมมารดา ตลับ ในรัชกาลที่ 5 | |
---|---|
เกิด | ตลับ เกตุทัต พ.ศ. 2395 |
เสียชีวิต | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2472 (77 ปี) |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ |
บิดามารดา | พระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต) อิ่ม เวียงในนฤบาล |
ประวัติ
แก้ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เธอจึงได้ถวายตัวเป็นพระสนมสิบสองพระกำนัลตามโบราณราชประเพณี ต่อมาได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำ มีบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าจอมตลับ" และหลังจากประสูติพระราชธิดาพระองค์แรกจึงได้มีศักดิ์เป็น "เจ้าจอมมารดาตลับ" มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 2 พระองค์ คือ
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 — 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 — 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ต่อมาเป็น "กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์" องค์ต้นราชสกุลรพีพัฒน์
เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชราเมื่อเวลา 5 นาฬิกา 45 นาทีที่ วังรพีพัฒน์ อันเป็นที่ประทับของ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2472 รวมอายุ 77 ปี ต่อมาเวลา 17.00 น. วันเดียวกันได้มีการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ[2] โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมมารดาตลับ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษฝ่ายใน (ท.จ.ว.)[4]
- พ.ศ. 2447 : เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 5 (ม.ป.ร.5)[5]
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (33): 295. 22 สิงหาคม พ.ศ. 2431.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ข่าวถึงอสัญกรรม
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๗๒๙)
- ↑ "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลพระจุลจอมเกล้าแลถวายบังคมพระบรมรูป" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 498. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 570. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-02-10.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1153. 23 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
- นิกร ทัสสโร. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2549. 520 หน้า. ISBN 974-9909-30-5