พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)

มหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร นามเดิม เกิด บุนนาค เป็นบุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม) มารดาชื่อ ศิลา เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2405 เป็นสามัญชนคนแรกที่ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และลงนามในธนบัตร มีผลงานด้านการเงินการคลังที่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา การใช้สตางค์แทนอัฐ การเสนอแนวคิดให้ตั้งธนาคารชาติ และการปฏิรูประบบภาษีโดยให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการเอง นอกจากนั้นยังประพันธ์ตำรา ทรัพยศาสตร์ ซึ่งได้รับยกย่องเป็นหนึ่งใน 100 เล่มหนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน ประเภทสารคดี[1]

พระยาสุริยานุวัตร
(เกิด บุนนาค)
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2449
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
รักษาการแทนเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
13 มิถุนายน – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2449 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 30 กันยายน พ.ศ. 2479
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลหยุหเสนา
อัครราชทูตสยามประจำฝรั่งเศส อิตาลี สเปนและรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2439 – พ.ศ. 2439
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 เมษายน พ.ศ. 2405
เสียชีวิต30 กันยายน พ.ศ. 2479 (74 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงลิ้นจี่
บุตร7 คน
บุพการี
อาชีพข้าราชการ, นักการทูต
ผลงานทรัพยศาสตร์

ประวัติ แก้

พระยาสุริยานุวัตร มีนามว่า "เกิด" เกิดในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นบุตรลำดับที่ 22 ของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม)[2] เมื่อเยาว์เข้าศึกษาหนังสือไทยที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต่อมาในปี พ.ศ. 2414 เดินทางไปศึกษาวิชาที่ปีนังและกัลกัตตา เป็นเวลา 5 ปี จึงกลับมาเข้ารับราชการในกรมมหาดเล็ก ตำแหน่งนายเวรฤทธิมหาดเล็ก ในปี พ.ศ. 2419 ต่อมารับราชการกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งผู้ช่วยข้าหลวงตะวันตก มีหน้าที่เป็นผู้เก็บและจ่ายเงินหลวง และเป็นล่ามทำหนังสือราชการเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุริยานุวัตร ถือศักดินา 600[3]และยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยข้าหลวงมณฑลพายัพในเวลาต่อมาและกำกับตำแหน่งกรมคลังเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง

ในปี พ.ศ. 2430 เป็นผู้ช่วยทูตประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน[4]ในระหว่างนี้ยังเรียบเรียงหนังสือเรื่องขนบธรรมเนียมราชการต่างประเทศขึ้น และถือว่าเป็นตำรากฎหมายและการปฏิบัติระหว่างประเทศ เรื่องการทูตภาษาไทยเล่มแรก ต่อมา พ.ศ. 2432 ดำรงตำแหน่งตำแหน่งอุปทูตประจำกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ. 2439 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุริยานุวัตร และเป็นอัครราชทูตประจำประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และรัสเซีย ระหว่างนี้ได้รับมอบอำนาจลงนามในสัญญากับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446

13 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ได้กลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งรักษาการแทน เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ[5]และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[6]ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ท่านจัดการโอนจำหน่ายฝิ่นจากนายอากรมาเป็นรัฐบาลทำเอง ยังคิดวิธีเปลี่ยนระบบการเงินของไทย จากมาตราเงินเป็นมาตราทองคำ และคิดทำสตางค์ขึ้นใช้แทนอัฐ ต่อมาลาออกจากราชการเมื่อวันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450[7]

ในสมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ท่านเขียนหนังสือเรื่อง ทรัพยศาสตร์ จำนวน 3 เล่ม ซึ่งถือว่า เป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้เขียนบทความทางเศรษฐกิจลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ศรีกรุง บทความที่สำคัญและมีชื่อเสียงมากคือ เรื่อง ธนาคารชาติ ในปี พ.ศ. 2476 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐบาลที่มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายก เป็นตัวแทนของรัฐบาลไปเจรจากับเจ้านายฝ่ายเหนือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนถึงอนิจกรรมในรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2479 ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี รวมอายุ 74 ปี[8]

ตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ แก้

  • พ.ศ. 2427 หลวงสุริยานุวัตร
  • พ.ศ. 2430 ผู้ช่วยราชทูตประจำราชสำนักเซนต์เจมส์
  • 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 พระสุริยานุวัตร ถือศักดินา 800[9]
  • 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 พระยาสุริยานุวัตร ถือศักดินา 1600[10]
  • 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 อัครราชทูตประจำ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส[11]
  • 13 มิถุนายน พ.ศ. 2448 รักษาการแทนเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
  • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2449 เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[12]
  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 มหาอำมาตย์เอก นอกราชการ[13]

ครอบครัว แก้

 
พระยาสุริยานุวัตร กับ คุณหญิงลิ้นจี่ และบุตรธิดา ขณะเป็นอัครราชทูตที่ปารีส พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903)

ด้านชีวิตส่วนตัว มีภรรยาชื่อ คุณหญิงลิ้นจี่ ธิดาพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) มีบุตรธิดา 7 คน คือหลวงสุริยพงศ์พิสุทธิแพทย์ (กระจ่าง) แพทย์ประจำกรมรถไฟหลวง ดร.ประจวบ บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกียรติ และจรัล ส่วนธิดาได้แก่ หม่อมลินจง เป็นหม่อมห้ามในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และลำจวน เป็นนางพระกำนัลในรัชกาลที่ 6

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "พระยาสุริยานุวัตร รัฐบุรุษนักเศรษฐศาสตร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-05. สืบค้นเมื่อ 2009-12-01.
  2. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, คนโปรดในรัชกาลที่ 5 นั้น ตามที่ปรากฏทั้งในเอกสารต่างๆ และคำบอกเล่าต่อๆ กันมา มีอยู่หลายท่าน เก็บถาวร 2003-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sakulthai.com
  3. ข่าวราชการ
  4. ข่าวเปลี่ยนราชทูตสยาม
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงวังและตั้งผู้แทนเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
  7. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  8. มหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร เก็บถาวร 2009-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน bunnag.in.th
  9. พระราชทานสัญญาบัตร
  10. ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน
  11. เปลี่ยนราชทูตสยาม
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  13. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (หน้า 1021)
  14. "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าและถวายบังคมพระบรมรูป (หน้า 500)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้