พระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี)
นายพลตรี พระยาสิงห์เสนี นามเดิม สอาด สกุลสิงหเสนี เป็นขุนนางชาวสยาม ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เช่น องคมนตรี อัครราชทูต เจ้ากรมคลังแสงสรรพาวุธ เป็นต้น
พระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี) | |
---|---|
อัครราชทูตสยาม ณ กรุงลอนดอน | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2442 – พ.ศ. 2445 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) |
ถัดไป | พระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2402 |
เสียชีวิต | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 (71 ปี 132 วัน) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงหงษ์ สิงหเสนี |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลตรี |
บังคับบัญชา | กองทัพบก |
ประวัติ
แก้พระยาสิงห์เสนี มีนามเดิมว่าสอาด เกิดเมื่อวันศุกร์ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2402 เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระยาเพ็ชรชฎา (ดิศ สิงหเสนี) กับคุณหญิงนุ่ม ถึงปี พ.ศ. 2411 พระอินทรเทพ (ทับ ทรรพนันทน์) ขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสิทธิ์นายเวร ได้พาไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กไล่กา[1]
พ.ศ. 2423 ได้ลาอุปสมบท ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว จนฺทสิริ) เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ บวชอยู่ 9 เดือนจึงลาสิกขาบท แล้วกลับไปรับราชการ[2]
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2426 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเหล่าทัพประจำกรุงปารีส ต่อมาได้เยือนหลายประเทศและเข้าเฝ้าประมุขรัฐหลายท่าน เช่น สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในระหว่างพระราชพิธีกาญจนาภิเษก สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน ประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ และจักรพรรดิเมจิ[3]
เมื่อกลับมารับราชการในสยาม ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา ได้ถวายบังคมลาไปรับราชการในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2437[4]
วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[5] พ.ศ. 2442-2445 ไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงลอนดอน[6] พ.ศ. 2443-พ.ศ. 2444 เป็นอัครราชทูตประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.[7] แล้วกลับสยามในปี พ.ศ. 2445
ในปี พ.ศ. 2446 ได้ดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ท่านได้เข้าพิธีถือน้ำและรับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[8] พ.ศ. 2453 เป็นเจ้ากรมคลังแสงสรรพาวุธ และในปี พ.ศ. 2455 เป็นผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์ ถึง พ.ศ. 2456 จึงเกษียณจากราชการ
ลำดับบรรดาศักดิ์
แก้- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงสาสตราธิกรณฤทธิ์ ถือศักดินา 800[9]
- 5 กันยายน พ.ศ. 2434 เลื่อนเป็น พระประสิทธิ์ศัลการ ถือศักดินา 1000[10]
- 4 เมษายน พ.ศ. 2437 เลื่อนเป็น พระยาประสิทธิ์ศัลการ ถือศักดินา 1,500[11]
- 2 มกราคม พ.ศ. 2460 เลื่อนเป็น พระยาสิงห์เสนี ศรีสยาเมนทรสวามิภักดิ์ ถือศักดินา 1,500[12]
ยศ
แก้ตำแหน่ง
แก้ครอบครัว
แก้พระยาสิงห์เสนี มีบุตรธิดา 3 คนกับคุณหญิงหงษ์ สิงหเสนี (ธิดาของพระยาประชาชีพบริบาล (เหม สิงหเสนี) กับคุณหญิงเกด) ได้แก่
- พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี)
- คุณหญิงเนื่อง บุรีนวราษฐ์ ภริยาพระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี)
- นางสาวสนิท สิงหเสนี (หม่อมสนิท กาญจนวิชัย ณ อยุธยา) หม่อมในหม่อมเจ้ารัตโนภาษ กาญจนวิชัย พระโอรสในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ
และมีบุตรธิดากับอนุภรรยาอีกหลายคน ได้แก่
- หลวงศรีสิงหนาท (วาด สิงหเสนี)
- หลวงวิเศษพจนการ (เตี้ยม สิงหเสนี)
- นายนิน สิงหเสนี
- นายโชติ สิงหเสนี
- เด็กหญิงสุภาพ สิงหเสนี
- เด็กหญิงปิ๋ว สิงหเสนี
อนิจกรรม
แก้พระยาสิงห์เสนี ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบมาตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 นายแพทย์ หลวงประกิตเวชศักดิ์ และนายแพทย์ พระสุนทโรสถ จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วยกันรักษา แต่อาการยังทรุดลงเนื่องจากท่านชราภาพ[17] จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 ได้รับพระราชทานโกศโถประกอบศพ ชั้นรองโกศ 2 ชั้น ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คัน เป็นเกียรติยศ[18] และได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2475 เวลา 17:30 น. ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[19]
เกียรติยศ
แก้เครื่องยศ
แก้พระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี) ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
แก้- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[21]
- พ.ศ. 2440 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[22]
- พ.ศ. 2453 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[23]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)[24]
- พ.ศ. 2437 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[25]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[26]
- พ.ศ. 2437 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[27]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2430 – เหรียญกาญจนาภิเษกสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
- พ.ศ. 2445 – เหรียญราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7[28]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2430 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 5[29]
- สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2430 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา ชั้นที่ 5[29]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2432 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 5[30]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1[31]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ สายสกุลสิงหเสนี, หน้า 141
- ↑ สายสกุลสิงหเสนี, หน้า 142
- ↑ สายสกุลสิงหเสนี, หน้า 143
- ↑ "ข้าราชการกราบถวายบังคมลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 (6): 44. 6 พฤษภาคม 2437. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2018.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งองคมนตรี, เล่ม 12, ตอน 41, 12 มกราคม ณ.ศ. 114, หน้า 386
- ↑ "List of Thai Ambassadors in UK". สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "List of Thai Ambassadors to the U.S." สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2,273-4
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม 11, ตอน 3, 15 เมษายน ร.ศ. 113, หน้า 21
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร์บรรดาศักดิ์, เล่ม 34, ตอน , 10 กุมภาพันธ์ 2460, หน้า 3327
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร์
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม
- ↑ สายสกุลสิงหเสนี, หน้า 150
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม 48, ตอน ง, 28 กุมภาพันธ์ 2474, หน้า 2447-8
- ↑ "หมายกำหนดการ ที่ 10/2475 พระราชทานเพลิงศพ พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ และ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช 2476" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ง): 4287. 12 มีนาคม 2475.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องยศ, เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๒๘๕, ๑๒ มกราคม ๑๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๓, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๗๓๑, ๑๖ มกราคม ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๓, ๑๐ มกราคม ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๒, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, นายทหารที่ได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลาในศก ๑๑๓, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๙๒, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๑๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๕๓, ๑๔ มกราคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๔๘ หน้า ๙๑๙, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๑๒๑
- ↑ 29.0 29.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๔ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๒๔๘, ๑๕ พฤศจิกายน ๑๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖ ตอนที่ ๕๒ หน้า ๔๕๑, ๓๐ มีนาคม ๑๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๐ หน้า ๗๘๖, ๕ มกราคม ๑๒๐
- บรรณานุกรม
- คำให้การเรื่องทัพญวนในรัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สยามบรรณกิจ, 2460. 91 หน้า. หน้า (1)-(16). [พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพลตรี พระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี)]
- สายสกุลสิงหเสนี. กรุงเทพฯ : ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง, 2541. หน้า 141-150. [วัดเทพลีลา พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพนางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี]