มณฑลสุราษฎร์ หรือเดิมชื่อ มณฑลชุมพร เป็นมณฑลที่ประกอบด้วย 4 เมือง คือ ชุมพร หลังสวน ไชยา และกาญจนดิษฐ์ หรือปัจจุบันคือพื้นที่ในจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่ชุมพร[1] (ต่อมาย้ายที่ทำการไปอยู่ที่เมืองไชยาใหม่ จึงได้เปลี่ยนชื่อมณฑลไปด้วย) เป็นมณฑลที่เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจทั้งแร่ธาตุและป่าไม้ ได้แก่ ดีบุก ถ่านหิน ทองคำ และผลิตภัณฑ์จากป่าทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะมีช้างมากจนเรียกว่า ดงช้าง[2]

มณฑลสุราษฎร์
มณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2439 – 2469

เมืองหลวงชุมพร (พ.ศ. 2439–2458)
สุราษฎร์ธานี (พ.ศ. 2458–2469)
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2439–2443
พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) (คนแรก)
• พ.ศ. 2444–2448
พระยาวรสิทธิ์เสวีวัตร (ใต้ฮัก ภัทรนาวิก)
• พ.ศ. 2448–2455
พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์)
• พ.ศ. 2455–2468
พระยาคงคาธราธิบดี (พลอย ณ นคร) (คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• จัดตั้งมณฑลชุมพร
พ.ศ. 2439
• เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลสุราษฎร์
พ.ศ. 2458
• เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภาคปักษ์ใต้
21 มีนาคม พ.ศ. 2459
31 มีนาคม พ.ศ. 2469
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองชุมพร
เมืองไชยา
เมืองกาญจนดิษฐ์
เมืองหลังสวน
เมืองบ้านดอน
มณฑลนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

ประวัติ แก้

สมัยระบบกินเมือง เมืองชุมพรตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตระกูล ณ นคร สาเหตุในการจัดตั้งมณฑลชุมพร เพราะทางกรุงเทพเห็นว่าไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมกำลังคนของหัวเมืองเหล่านี้[3] อีกทั้งมีการคุกคามของมหาอำนาจชาวตะวันตกที่กำลังสนใจคอคอดกระในเขตเมืองชุมพรและกระบุรี เป็นส่วนแคบสุดของแหลมมลายูและอาจเป็นเส้นทางย่นระยะทางไปตะวันออกไกลได้[4] จึงได้จัดตั้งมณฑลชุมพร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2439 โดยตั้งเป้าหมายจะให้เป็นมณฑลทำนุบำรุงการค้า และแต่งตั้งพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลชุมพร พระยารัตนเศรษฐีเลือกที่ตั้งว่าการมณฑลที่ริมแม่น้ำท่าตะเภา ใกล้บ้านเจ้าเมืองในสมัยระบบกินเมือง[5] จากนั้นพระยาวรสิทธิ์เสวีวัตร (ใต้ฮัก ภัทรนาวิก) ดำรงตำแหน่่งข้าหลวงเทศาภิบาลระหว่าง พ.ศ. 2444–2448 และได้ย้ายที่ตั้งว่าการมณฑลไปอยู่ที่เมืองไชยา และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มณฑลสุราษฎร์" เมื่อ พ.ศ. 2458[6]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฐานะการคลังประเทศตกอยู่ในภาวะขาดดุลมาตลอด รัฐบาลจึงต้องการตัดงบประมาณ จึงได้ยุบมณฑลสุราษฎร์เมื่อ พ.ศ. 2468[7]

การปฏิรูป แก้

การแบ่งเขตการปกครองในสมัยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เมืองชุมพรประกอบด้วย 4 อำเภอ คือ อำเภอชุมพร อำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ และอำเภอกำเนิดนพคุณ เมืองหลังสวนประกอบด้วย 3 อำเภอ คือ อำเภอหลังสวน อำเภอสวี และอำเภอพะโต๊ะ เมืองไชยาประกอบด้วย 4 อำเภอ คือ อำเภอไชยา อำเภอพุนพิน อำเภอประสงค์ และอำเภอคีรีรัฐนิคม เมืองกาญจนดิษฐ์ประกอบด้วย 4 อำเภอ คือ อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอพุมควง อำเภอกะแดะ และอำเภอเกาะ[8] เจ้าเมืองแบบเก่าได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง

รายชื่อข้าหลวงเทศาภิบาล แก้

  • พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) พ.ศ. 2439–2443
  • พระยาวรสิทธิ์เสวีวัตร (ใต้ฮัก ภัทรนาวิก) พ.ศ. 2444–2448
  • พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) พ.ศ. 2448–2455
  • พระยาคงคาธราธิบดี (พลอย ณ นคร) พ.ศ. 2455–2468

อ้างอิง แก้

  1. วุฒิชัย มูลศิลป์. "มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ" (PDF). สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. p. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.
  2. จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช). พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เล่ม 3 (พระนคร : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, 2512), 34
  3. การเมืองการปกครองของมณฑลชุมพร พ.ศ. 2439-2468, 38.
  4. การเมืองการปกครองของมณฑลชุมพร พ.ศ. 2439-2468, 42.
  5. การเมืองการปกครองของมณฑลชุมพร พ.ศ. 2439-2468, 59.
  6. "ประกาศ เปลี่ยน นาม อำเภอ นาม เมือง และ นาม มณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.
  7. การเมืองการปกครองของมณฑลชุมพร พ.ศ. 2439-2468, 163.
  8. การเมืองการปกครองของมณฑลชุมพร พ.ศ. 2439-2468, 63.

บรรณานุกรม แก้