เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา)
มหาเสวกโท เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย นามเดิม พร (2 ธันวาคม พ.ศ. 2406 – 17 สิงหาคม พ.ศ. 2498) เป็นขุนนางชาวสยาม ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก อุปราชมณฑลพายัพ องคมนตรี และได้รับพระราชทานนามสกุลจารุจินดา[1]
ประวัติ
แก้เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย มีนามเดิมว่าพร เป็นบุตรพระยาเพชรพิไชย (ทองจีน) และคุณหญิงเย็น เพชรพิไชย (สกุลเดิม:เกตุทัต) เกิดเมื่อวันพุธ แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน ตรงกับวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2406[2]
เมื่ออายุ 11 ปี ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนพระบรมมหาราชวังและที่โรงเรียนสวนนันทอุทยาน[3] เมื่อจบการศึกษาแล้วจึงถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นลำดับ คือ เป็นนายรองฉัน ถือศักดินา ๓๐๐ เมื่อวันพุธ เดือนสิบเอ็ด แรมห้าค่ำ ปีระกาสัปตศก จุลศักราช ๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2428[4]แล้วเป็นจ่าห้าวยุทธการ ถือศักดินา ๖๐๐ เมื่อวันเสาร์ เดือนสิบเอ็ด แรมสี่ค่ำ ปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๒๔๘ ตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2429[5]แล้วเลื่อนเป็นพระศิริไอสวรรย์ ถือศักดินา ๑๐๐๐ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2434[6]จนวันที่ 2 มกราคม ร.ศ. 116 จึงได้เลื่อนเป็นพระยาอุไทยมนตรี ผู้ว่าราชการเมืองปราจีนบุรี ถือศักดินา 3,000[7]
วันที่ 15 กรกฎาคม ร.ศ. 131 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦๅชัย อภัยพิริยพาหะ ตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลพิศณุโลก ถือศักดินา 10,000[8]
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นองคมนตรี[9]
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย พายัพไผทนรพิทักษ์ จงรักษ์รามนฤนาถ ประศาสนนัยนิติธารี ศรีจารุจินดากุลวงศ์ ธำรงสัตย์มัทวสมาจาร ตรัยรัตนวิศาลสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[10]
เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2498[11] ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ณ วัดเทพศิรินทราวาส
ตำแหน่ง
แก้หน้าที่ราชการ
แก้- พ.ศ. 2430 – ย้ายไปรับราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าจำนวน[12]
- พ.ศ. 2432 – เจ้ากรมยาฝิ่นหลวง[13]
- พ.ศ. 2433 – เจ้ากรมสารบรรณ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ทำการแทนปลัดทูลฉลองเป็นครั้งคราว[14]
- พ.ศ. 2437 – ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นข้าหลวงรักษาการเมืองนครนายก
- พ.ศ. 2438 – ย้ายไปเป็นข้าหลวงเมืองฉะเชิงเทรา[15]
- พ.ศ. 2439 – ย้ายมาเป็นเลขานุการของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[16]
- 2 มกราคม พ.ศ. 2440 – ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี[7]
- 21 มิถุนายน พ.ศ. 2441 – ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเป็นข้าหลวงประจำนครลำพูน
- พ.ศ. 2445 – ย้ายไปเป็นข้าหลวงนครลำปาง ในระยะเวลาเกิดขบถเงี้ยว ได้รักษาบ้านเมืองจนเรียบร้อย จนเสร็จการจราจล
- พ.ศ. 2449 – ย้ายไปเป็นข้าหลวงประจำเมืองนครน่าน
- 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 – ข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก[17]
- 4 เมษายน พ.ศ. 2458 – ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี[9]
- 28 ตุลาคม พ.ศ. 2464 – ย้ายไปรับราชการแทนอุปราชภาคพายัพ เมื่อเวลาทรงประชวร (หม่อมเจ้าบวรเดช)
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465 – เป็นอุปราชภาคพายัพ และสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ[18]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2469 – ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเข้ามาเป็น สมุหพระนครบาล ในกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย อีกตำแหน่งด้วย[19]
- 4 เมษายน พ.ศ. 2469 – ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นองคมนตรี[20]
- 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 – กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เพราะชราได้รับพระราชทานบำนาญพิเศษ
ยศและตำแหน่ง
แก้ยศพลเรือน
แก้ยศเสือป่า
แก้ตำแหน่ง
แก้- 31 ธันวาคม 2459 – ราชองครักษ์เวรเสือป่า[30]
ครอบครัว
แก้เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาไชย มีภรรยา 4 คน[3] ได้แก่
- คุณแฉ่ง มีธิดา 2 คน
- คุณหญิงบุญรอด (สกุลเดิม:วัชราภัย) มีบุตร 3 คน
- คุณหญิงเพิ่ม (สกุลเดิม:จารุจินดา) มีบุตรธิดา 2 คน
- คุณหญิงชอุ่ม (สกุลเดิม:คุปตารักษ์) มีบุตรธิดา 6 คน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[31]
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[32]
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[33]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[34]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.)[35]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[36]
- พ.ศ. 2465 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[37]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2447 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2452 – เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้นที่ 3 (เงิน)[38]
- พ.ศ. 2454 – เข็มไอยราพต
- พ.ศ. 2455 – เข็มข้าหลวงเดิม[39]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๕, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๔๘, ๑๔ กันยายน ๒๔๕๖
- ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 235
- ↑ 3.0 3.1 "เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาไชย (พร จารุจินดา)". ชมรมสายสกุลจารุจินดา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-29. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สำเนาสัญญาบัตร, เล่ม ๓ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๑๙๗, ๒๑ ตุลาคม ๑๒๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวราชการ, เล่ม ๓ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๒๕๓, ๓๐ พฤศจิกายน ๑๒๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๓๖๙, ๑๐ มกราคม ๑๑๐
- ↑ 7.0 7.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานหิรัญบัตรและสัญญาบัตร, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๗๐๒, ๙ มกราคม ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๐๔, ๒๑ กรกฎาคม ๑๓๑
- ↑ 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๗, ๑๘ เมษายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรมตั้งกรม และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๒๒๗, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
- ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 239
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ตำแหน่งข้าราชการ ในหอรัษฎากรพิพัฒน์, เล่ม ๗ ตอนที่ ๓ หน้า ๓๔, ๒๐ เมษายน ๑๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศหอรัษฎากรพิพัฒน์, เล่ม ๗ ตอนที่ ๖ หน้า ๖๕, ๑๑ พฤษภาคม ๑๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความหอรัษฎากรพิพัฒน์, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๔๐๓, ๓๑ มกราคม ๑๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๙๓, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๑๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาง, เล่ม ๑๓ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๕๑๗, ๒๔ มกราคม ๑๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๕๓ หน้า ๑๓๓๓, ๓๑ มีนาคม ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งอุปราชและสมุหเทศาภิบาล, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๘๔, ๒ สิงหาคม ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๔๒๖, ๓๑ มีนาคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีตั้งองคมนตรี, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๔, ๒๕ เมษายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๗๓, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนยศอุปราช และสมุหเทศาภิบาล, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๓๕๘, ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๗๙, ๒๖ มีนาคม ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๐๗, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๕๕, ๑๕ ตุลาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖, ๒๗ เมษายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศเสือป่า, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๖๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศเสือป่า, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๕๙, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศเสือป่า, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๔๘, ๑ต มีนาคม ๒๔๖๖
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๗๒, ๗ มกราคม ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๑, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๐๙, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๐, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๙๔, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๒, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๕๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๖๒, ๒๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๗๓, ๒๘ กรกฎาคม ๑๓๑
- บรรณานุกรม
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 235-9. ISBN 974-417-534-6