นครลำพูน เป็นประเทศราชของราชวงศ์โก้นบองโดยแยกตัวออกมาจากการปกครองของเชียงใหม่ ภายหลังตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์ และได้รับนาม เมืองลำพูนไชยประเทศราช[4]

เมืองลำพูนไชยประเทศราช

นครลำพูน
พ.ศ. 2270–พ.ศ. 2442
  อาณาเขตนครลำพูน
สถานะนครรัฐเอกราชโดยพฤตินัย (2270-2300)

ประเทศราชของราชวงศ์โก้นบอง (2300[1]-2318)

ประเทศราชของอาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์ (2318-2442)
เมืองหลวงนครลำพูน
ภาษาทั่วไปคำเมือง
ศาสนา
ศาสนาพุทธ (เถรวาท)
การปกครองราชาธิปไตย
เจ้าผู้ครองนคร 
• ก่อน พ.ศ. 2308/2309-2309
พระเมืองไชย
• พ.ศ. 2318-2320
พระยาอัยวงศ์
• พ.ศ. 2349–2486
ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน
ประวัติศาสตร์ 
• พม่าสิ้นอิทธิพลจากดินแดนล้านนาตอนล่าง
พ.ศ. 2270
• พระเมืองไชยก่อกบฏต่อพม่า
พ.ศ. 2308/2309
• สวามิภักดิ์ต่อสยาม
พ.ศ. 2318
• ฟื้นฟูนครลำพูน
พ.ศ. 2349
• พงศาวดารสยามรับรองสถานะประเทศราช[2]
พ.ศ. 2357
พ.ศ. 2442
สกุลเงินรูปี[3]
ก่อนหน้า
ถัดไป
2270:
หัวเมืองเชียงใหม่
2442:
มณฑลลาวเฉียง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

ประวัติศาสตร์

แก้

การก่อตัวของรัฐ

แก้

ในปี พ.ศ. 2270/2271 (จ.ศ. 1089) กบฏตนบุญเทพสิงห์โค่นล้มผู้ปกครองพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ทำให้เกิดสภาวะสุญญากาศทางการเมืองในดินแดนล้านนาตอนล่าง แม้ว่าพม่าพยายามที่จะย้ายศูนย์กลางการปกครองไปยังเชียงแสน[5] แต่หัวเมืองล้านนาตอนล่างต่างแยกตัวเป็นอิสระและปกครองตนเองในลักษณะเดียวกับชุมนุมต่างๆหลังเสียกรุงครั้งที่ 2[6] นครลำพูนเป็นหนึ่งในนครอิสระที่ถูกบันทึกจากการทำสงครามกับนครข้างเคียง เช่น ลำปางในปี พ.ศ. 2272/2273 (จ.ศ. 1091)[7] เชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2280/2281 (จ.ศ. 1099)[8] เชียงแสนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2301[5] และป่าซางในปี พ.ศ. 2305/2306 (จ.ศ. 1124)[8] อีกทั้งยังมีความแตกแยกภายในนครลำพูนเองดังที่แม่ทัพนครลำพูนยกทัพขึ้นไปกำจัดแม่ทัพอีกคนหนึ่งที่เมืองเชียงแสนหลังเดือนมกราคม พ.ศ. 2303[5][6]

ในปี พ.ศ. 2300 อาณาจักรพม่ารวมเป็นหนึ่งได้อีกครั้งภายใต้ราชวงศ์โก้นบอง ทำให้นครต่างๆในดินแดนล้านนาต่างส่งบรรณาการมาสวามิภักดิ์[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2306 กองทัพพม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงตั้งตัวเป็นอิสระอยู่ พร้อมทั้งปราบปรามหัวเมืองอื่นๆในล้านนา แม้นครลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าอีกครั้ง แต่ผู้ปกครองพม่าไม่สามารถควบคุมเมืองต่างๆได้อย่างสมบูรณ์[6] ทำให้พระเมืองไชยแห่งนครลำพูนเป็นผู้นำให้กับเมืองเชียงใหม่ นครลำปาง นครแพร่ และนครน่านในการก่อกบฏต่อพม่า จนกระทั่งถูกปราบลงในปี พ.ศ. 2309[9] ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองพม่าและผู้ปกครองท้องถิ่นยังคงดำเนินต่อไป เป็นเหตุให้นครลำปางและนครลำพูนสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรธนบุรีในปี พ.ศ. 2318 ในระหว่างสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2317

นครลำพูนระหว่างสงครามพม่า-สยาม

แก้

เหตุการณ์เกี่ยวกับนครลำพูนหลังจากเข้าเป็นประเทศราชของอาณาจักรธนบุรีถูกบันทึกไว้แตกต่างกันระหว่างพงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย[10]ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝ่ายสยามและพระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ ใช้เป็นแหล่งอ้างอิง[2] และตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่[8]ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝ่ายเชียงใหม่และลำปาง[11]

เนื้อหาในพงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย

แก้

ในปี พ.ศ. 2318 คราวสงครามอะแซหวุ่นกี้ กองทัพพม่าเข้าโจมตีเวียงป่าซาง พระยาวิเชียรปราการและพระยาอัยวงศ์เจ้าเมืองลำพูนตัดสินใจทิ้งเมืองเชียงใหม่และลำพูนลงมาอาศัยอยู่ตามเมืองต่างๆ พระยาวิเชียรปราการและพระยาอัยวงศ์ถึงแก่กรรมที่เมืองสวรรคโลก เมืองลำพูนจึงกลายเป็นเมืองร้าง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ตั้งพระยาคำฟั่นเปนพระยาลำพูนไชย แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ยกเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย ขึ้นเป็นเมืองประเทศราชแต่นั้นมา

เนื้อหาในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

แก้

ในปี พ.ศ. 2318 กองทัพพม่าเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่ พระยาวิเชียรปราการและพระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางตัดสินใจทิ้งเมืองเชียงใหม่และลำปางลงมาอยู่เมืองสวรรคโลก ต่อมา พ.ศ. 2322/2323 (จ.ศ. 1141) พระยาวิเชียรปราการกลับขึ้นมาตั้งอยู่เมืองลำพูน ต่อมาไม่นานกองทัพเชียงแสนและเชียงรายตีเมืองลำพูนแตก ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2331 พระราชโอวาทของเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วระบุว่าเมืองลำพูนได้กลายเป็นเมืองร้าง เมืองลำพูนถูกกองทัพพม่ายึดครองอีกครั้งในสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2340 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2345 และโปรดเกล้าฯ ตั้งพระยาคำฟั่นเป็นเจ้าเมืองลำพูนในปี พ.ศ. 2348 พระยาคำฟั่นนำบริวารจากเมืองเชียงใหม่และลำปางออกมาตั้งเมืองลำพูนในปี พ.ศ. 2349 และนครลำพูนได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับพระเจ้ากาวิละในการขยายอำนาจไปยังเมืองเชียงรุ่งและเมืองอื่นๆในสิบสองปันนา ระหว่าง ปี พ.ศ. 2350-2356

ข้อสนับสนุนและข้อโต้แย้ง

แก้

พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชยให้รายละเอียดที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการถึงแก่กรรมของพระยาวิเชียรปราการและการตั้งพระยากาวิละเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ในขณะที่ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างละเอียดมากกว่า และสอดคล้องกับศุภอักษรจากสยามถึงนครลำพูนในปี พ.ศ. 2352[12] อย่างไรก็ตาม หลักฐานทั้งสองชิ้นบันทึกเหตุการณ์พระยาวิเชียรปราการทิ้งเมืองเชียงใหม่ไว้คลาดเคลื่อนไปจากพงศาวดารของสยามและพม่าซึ่งระบุว่าเกิดขึ้นระหว่างสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2320[13]

นครลำพูนในฐานะประเทศราชของสยาม

แก้

หลังจากได้รับสถานะประเทศราชของสยาม นครลำพูนร่วมมือกับนครเชียงใหม่และนครลำปางอันเป็นเครือญาติในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนขยายอำนาจสู่ดินแดนรัฐเมืองยอง กลุ่มนครรัฐไทลื้อและเชียงรุ่ง[6][8] นอกจากนี้ นครลำพูนยังร่วมกับฝ่ายสยามในการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์[14]และทำสงครามเชียงตุง เนื่องจากอาณาเขตนครลำพูนถูกล้อมรอบด้วยรัฐพันธมิตรทำให้ไม่สามารถขยายดินแดนได้ นครลำพูนจึงใช้วิธีกวาดต้อนผู้คนจากเมืองที่ตีได้มาฟื้นฟูบ้านเมืองแทน

ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 สยามเริ่มได้รับผลกระทบจากการขยายอำนาจของชาติตะวันตก สยามจึงเร่งผนวกประเทศราชต่างๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ในปี พ.ศ. 2442 สยามประกาศจัดตั้งมณฑลลาวเฉียง ทำให้สถานะประเทศราชของนครลำพูนสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม เจ้าผู้ครองนครลำพูนยังคงมีตำแหน่งเจ้าและมีอำนาจในการปกครองบางส่วน[6] จนกระทั่งสยามเริ่มมีนโยบายไม่แต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครในปี พ.ศ. 2469[15] ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำพูนจึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2486

รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง

แก้

ในฐานะรัฐอิสระและประเทศราชของพม่าและธนบุรี

แก้
รายนาม เริ่ม สิ้นสุด หมายเหตุ
ไม่ปรากฏนาม ไม่ปรากฏ เมษายน พ.ศ. 2305

(เดือน 7 ลง 7 ค่ำ)[8]

อาจเป็นคนเดียวกับเจ้าเมืองลำพูนที่ให้ท้าวมหายศโจมตีนครลำปางในปี พ.ศ. 2272/2273 (จ.ศ. 1091)
พระเมืองไชย ก่อน พ.ศ. 2308/2309

(จ.ศ. 1127)

ธันวาคม พ.ศ. 2309

(เดือน 3 เพ็ญ)

ก่อกบฏต่อพม่า จ.ศ. 1127-1128 ต่อมาหลบหนีไปจีน
เชกคายแดง ไม่ปรากฏ 3 มกราคม พ.ศ. 2318 สยามรับรู้ในฐานะพระยาลำพูน[16]
ทัพหลวงสยามมาถึงนครลำพูนในสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2317 เชกคายแดงสวามิภักดิ์ต่อสยามและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาอัยวงศ์[16] หรือ พระยาไวยวงศา[17]
พระยาอัยวงศ์ 3 มกราคม พ.ศ. 2318 มกราคม พ.ศ. 2320[10] ได้รับการแต่งตั้งในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2318, ถึงแก่กรรม ณ เมืองสวรรคโลก[10]
พระยาอัยวงศ์ทิ้งนครลำพูนในสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2320[10]
พระยาวิเชียรปราการ พ.ศ. 2322/2323

(จ.ศ. 1141)

พ.ศ. 2322/2323

(จ.ศ. 1141)

ปกครองเมืองโดยพฤตินัย[8]
พ.ศ. 2322/2323 (จ.ศ. 1141) นครลำพูนถูกกองทัพเมืองเชียงแสนตีแตก[8]
มกราคม พ.ศ. 2331 เจ้าฟ้าหลวงชายแก้วทรงระบุว่าเมืองลำพูนเป็นเมืองร้าง[8]
ต้นปี พ.ศ. 2341 กองทัพพม่ายึดครองนครลำพูนในสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2340 แต่กองทัพสยามสามารถยึดคืนมาได้
พ.ศ. 2345 กองทัพพม่ายึดครองนครลำพูนในสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2345 แต่กองทัพสยามสามารถยึดคืนมาได้
นครลำพูนถูกทิ้งร้างจนถึงเมษายน พ.ศ. 2349 (เดือน 7 ออก 8 ค่ำเม็งวัน 5)[8]

พระยาคำฟั่นทรงได้รับการสถาปนาให้เป็นพระยาลำพูนไชย ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2348 (เดือนยี่ แรม 8 ค่ำ วัน 5) ที่กรุงเทพฯ[8]

ในฐานะประเทศราชของรัตนโกสินทร์

แก้

การปกครอง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Harvey, Godfrey Eric (1925). History of Burma: from the Earliest Times to 10 March, 1824: The Beginning of the English Conquest. United Kingdom: Longmans, Green and Company. p. 241. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  2. 2.0 2.1 ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระ (1916), พระราชพงษาดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ [Royal Chronicle of the Kingdom of Rattanakosin: Second Reign] (PDF), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย, pp. 173–176, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
  3. "ทำไม "รูปีอินเดีย" จึงนิยมใช้ในล้านนา และเป็นเงินสกุลสำคัญของเศรษฐกิจ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  4. "จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทิศเหนือ (เมืองหวด เมืองตื่นด่าน เมืองลำพูน เมืองยอง)". ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย. 12 March 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-12.
  5. 5.0 5.1 5.2 อ๋องสกุล, สรัสวดี (2003). เอียวศรีวงศ์, นิธิ (บ.ก.). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. pp. 170, 231–232. ISBN 9742726612.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 อินปาต๊ะ, บริพัตร (2017). การฟื้นฟูรัฐน่านในสมัยราชวงศ์หลวงติ๋น พ.ศ. 2329-2442 (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 21, 27, 30, 68–69, 202. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-19. สืบค้นเมื่อ 11 April 2024.
  7. ชิวารักษ์, พริษฐ์ (13 August 2023). "ล้านนาปฏิวัติ: การต่อสู้ของตนบุญในประวัติศาสตร์ล้านนา (ตอนสอง)". The101.world. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-02-24. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, บ.ก. (1971), ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ [Tamnan Phuen Mueang Chiang Mai] (PDF), แปลโดย โชติสุขรัตน์, สงวน, พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, pp. 84–85, 95–96, 101–102, 106, 118, 123–125, สืบค้นเมื่อ 2024-04-11
  9. โบราณคดีสโมสร, บ.ก. (1919), "ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน" [Ratchawongsapakon Phongsawadan Mueang Nan], ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐ [Collection of Historical Archives] (PDF), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 หอพระสมุดวชิรญาณ, บ.ก. (1928), "พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย" [Phongsawadan Mueang Nakhon Chiang Mai, Mueang Nakhon Lampang, Mueang Lamphun Chai], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓ [A Collection of Chronicles] (PDF) (2nd ed.), พระนคร: โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, สืบค้นเมื่อ 2024-05-12
  11. สุขคตะ, เพ็ญสุภา (30 June 2023). "ตระหนัก 'ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่' (2) การสร้างความชอบธรรม ให้แก่พระเจ้ากาวิละ". มติชนสุดสัปดาห์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-12. สืบค้นเมื่อ 2024-05-12.
  12. กรมศิลปากร; สำนักหอสมุดแห่งชาติ (2019), จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ จุลศักราช ๑๑๗๑ - ๑๑๗๔ (PDF), กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, p. 25, ISBN 978-616-283-450-9, สืบค้นเมื่อ 2024-10-29
  13. หอพระสมุดวชิรญาณ, บ.ก. (1920), พงษาวดาร เรื่อง เรารบพม่าครั้งกรุงธนฯ แลกรุงเทพฯ [History Regarding Our Wars with the Burmese during Krung Thon and Krung Thep] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์ไทย, pp. 155–157, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
  14. แก้วศรี, ทรงวิทย์; วีระประจักษ์, ก่องแก้ว, บ.ก. (1987), จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๓ (PDF), กรุงเทพฯ: รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, pp. 131–132, ISBN 974-7912-02-3, สืบค้นเมื่อ 2024-05-12
  15. ขรัวทองเขียว, เนื้ออ่อน; จุฬารัตน์, จุฬิศพงศ์ (2014). "รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ. 2417-2476" [THE SIAMESE STATE AND LANNA, 1874-1933]. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6: 75. สืบค้นเมื่อ 2024-05-12.
  16. 16.0 16.1 กรมศิลปากร, บ.ก. (13 November 1937), "พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)" [Phraratchaphongsawadan Chabap Phan Channumat (Choem)], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [Collection of Historical Archives] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์เดลิเมล์, p. 47, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
  17. ราชบัณฑิตยสภา, บ.ก. (1933), "พงศาวดาร เรื่อง ไทยรบพะม่า เล่ม ๒" [Phongsawadan Rueang Thai Rop Phama Lem Song], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖ เล่ม ๒ [A Collection of Chronicles] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, p. 78, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14