สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (17 มีนาคม พ.ศ. 2425 – 8 เมษายน พ.ศ. 2475) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 44 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองและสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ทรงเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอภิรัฐมนตรี ในรัชกาลที่ 7 พระองค์สิ้นพระชนม์วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475 เป็นพระปัยกา (ทวด) ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และทรงเป็นต้นราชสกุลยุคล[1]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นโท กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ | |||||
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย | |||||
ดำรงตำแหน่ง | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 1 เมษายน พ.ศ. 2471 | ||||
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||
ก่อนหน้า | เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) | ||||
ถัดไป | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต | ||||
ประสูติ | 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม | ||||
สิ้นพระชนม์ | 8 เมษายน พ.ศ. 2475 (50 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม | ||||
พระราชทานเพลิง | 2 มีนาคม พ.ศ. 2476 พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส | ||||
ภรรยา |
| ||||
| |||||
พระบุตร | |||||
ราชวงศ์ | จักรี | ||||
ราชสกุล | ยุคล | ||||
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||
พระมารดา | พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา | ||||
ลายพระอภิไธย |
พระประวัติ
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2426) ณ พระตำหนักสวนบัว ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งวิมานเมฆภายในพระราชวังดุสิต
พระองค์มีพระโสทรกนิษฐภคินี 3 พระองค์ ซึ่งมีพระนามที่คล้องจองกัน ได้แก่ พระองค์เจ้าชายยุคลฑิฆัมพร พระองค์เจ้าหญิงนภาจรจำรัสศรี พระองค์เจ้าหญิงมาลินีนพดารา และพระองค์เจ้าหญิงนิภานภดล ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2431 พระองค์และพระขนิษฐาจึงได้รับเลื่อนพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า ทรงศักดินา 15,000[2] ชาววังเรียกลำลองว่า สมเด็จชาย
วันที่ 17 มีนาคม ร.ศ. 110 ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงษ์ อุภัยพงษพิสุทธิ วรุตโมภโตสุชาติ บรมนารถราชกุมาร กรมหมื่นลพบุราดิศร ทรงศักดินา 40,000[3][4]
ในปี ร.ศ. 125 ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงษ์ อุภัยพงษ์พิสุทธิ วรุตโมภโตสุชาติ บรมนารถราชกุมาร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ ทรงศักดินา 40,000
พระกรณียกิจ
แก้ภายหลังจากที่พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองและสาขาวิชาประวัติศาสตร์ แล้วทรงเสด็จกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และเจ้ากรมพลังภังค์ (กรมการปกครอง) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล และอุปราชมณฑลปักษ์ใต้[5] ทรงประทับ ณ พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา และ วังโพธิยายรด จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็น โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช) ทรงตั้งกรมเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช
ในขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล และสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ. 2453 - 2458 และอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ระหว่างปี พ.ศ. 2458 - 2468 พระองค์ทรงเลือกเอาเมืองสงขลาเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑล โดยการโปรดให้สร้างพระตำหนักเขาน้อยสำหรับเป็นที่ประทับอย่างถาวร ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งทางการปกครองได้พัฒนาด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษาให้เจริญยิ่งขึ้นอย่างมาก และที่สำคัญพระองค์ทรงช่วยปกป้องแผ่นดินภาคใต้ให้พ้นวิกฤตการจากการคุกคามของอังกฤษ และทรงมีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้แผ่นดินปักษ์ใต้ทั้งหมดยังคงเป็นผืนแผ่นดินในราชอาณาจักรไทยมาได้ตราบเท่าทุกวัน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอุปนายกเสือป่า แทนพลเอกเจ้าพระยารามราฆพ ที่ถวายบังคมลาไปราชการต่างประเทศ เนื่องจากทรงเห็นว่าพระองค์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการเสือป่า สมควรจะฉลองพระเดชพระคุณในตำแหน่งอุปนายกเสือป่าได้
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและอภิรัฐมนตรี
ก่อนสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2475 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี องคมนตรี สมุหมนตรี ราชองครักษ์พิเศษ นายทหารพิเศษกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร. และนายทหารพิเศษประจำกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.
สิ้นพระชนม์
แก้นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ประชวรพระโรคพระหทัย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475[6] สิริพระชันษา 49 ปี 22 วัน โดยในวันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร. ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สอดสายสะพายจุลจอมเกล้า เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระราชวังดุสิตไปยังวังลดาวัลย์ ประทับบนพระตำหนัก พระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานประโคมกลองชนะ 40 จ่าปี่ 1 จ่ากลอง 1 แตรงอน 8 แตรฝรั่ง 8 สังข์ 1 ตามพระเกียรติยศ พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายใน และข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่ถวายน้ำสรงพระศพต่อไป เจ้าพนักงานภูษามาลาทรงเครื่องสุกรรมพระศพเชิญลงสู่พระลองใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสวมพระชฎาพระราชทานแล้ว เจ้าพนักงานเชิญขึ้นประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้า 3 ชั้น ภายใต้เบญจปฎลเศวตฉัตรประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ประดับพุ่มยอดและเฟื่อง แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 1 สำหรับ ชุมสาย 2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ 40 รูป มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นประธานสดับปกรณ์ แล้วถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระธรรมที่พระแท่นพระสวดอภิธรรม แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมทั้งหลางวันกลางคืน รับพระราชทานฉันอาหารภัตต์เช้า 8 รูป เพล 4 รูป มีประโคมกลองชนะ 20 จ่าปี่ 1 จ่ากลอง 1 แตรงอน 4 แตรฝรั่ง 4 สังข์ 1 ประจำยาม และไว้ทุกข์ในพระราชสำนักมีกำหนด 60 วัน
โดยมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร [7][8] ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองใหญ่ พร้อมด้วยเครื่องพระราชอิสสริยยศ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร มีนาคม พุทธศักราช 2475 และในวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
พระอนุสรณ์
แก้จากคุณงามความดีของพระองค์นานัปการ จังหวัดสงขลามีความตระหนักเป็นอย่างยิ่งในพระกรุณาธิคุณของพระองค์ ผู้ทรงวางแผนการปกครองบ้านเมืองในปักษ์ใต้ จึงได้พร้อมใจกันดำเนินการจัดสร้าง พระอนุสาวรีย์พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ประดิษฐานไว้บนยอดเขาน้อย โดยกำหนดวางศิลาฤกษ์เมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 เวลา 09.29 น. เมื่อการสร้างพระอนุสาวรรีย์พระรูปของพระองค์ท่านได้แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังดำรงพระยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ท่าน คล้ายกับว่าพระองอค์ทรงเสด็จกลับมาประทับอยู่กับชาวสงขลา และชาวปักษ์ใต้ ตลอดไป[9]
ข้าราชการและประชาชนได้มีการจัดพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระอนุสาวรีย์ พลเอกสมเด็จฯ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ในวันที่ 8 เมษายน ของทุกปี เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและพระกรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อประเทศชาติและชาวปักษ์ใต้
พระโอรส-พระธิดา
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงเป็นต้นราชสกุลยุคล โดยทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล พระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 มีพระโอรส คือ
นอกจากนี้ยังทรงมีหม่อมอีกคนหนึ่งคือ หม่อมราชวงศ์หญิงลดา ธิดาในหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ แต่ไม่มีพระโอรสหรือพระธิดา
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ายุคลทิฆัมพร (17 มีนาคม พ.ศ. 2425 - พ.ศ. 2431)
- พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร (พ.ศ. 2431 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2434)[2]
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหมื่นลพบุราดิศร (17 มีนาคม พ.ศ. 2434 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2449)[3]
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2449 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[10]
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2469)
- สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (15 มีนาคม พ.ศ. 2469 - 8 เมษายน พ.ศ. 2475)[11]
ภายหลังการสิ้นพระชนม์
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
แก้- พ.ศ. 2434 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[12]
- พ.ศ. 2437 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[14]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[17]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[18]
- พ.ศ. 2449 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[19]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[20]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[21]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[22]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[23]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[24]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2472 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1[25]
พระยศและตำแหน่ง
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | นายพลเอก นายพลเสือป่า |
พระยศทหาร
แก้- 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2469: นายพลเอก[26]
พระยศพลเรือน
แก้- 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454: มหาอำมาตย์โท[27]
- มหาอำมาตย์เอก
พระยศเสือป่า
แก้ตำแหน่ง
แก้- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2459: ราชองครักษ์พิเศษเสือป่า[30]
พงศาวลี
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ราชสกุลยุคลเป็นราชสกุลที่สืบเนื่องจากกรมหลวงลพบุรี
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (8): 61. 25 มิถุนายน จ.ศ. 1250. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "ประกาศการรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (51): 457–458. 20 มีนาคม ร.ศ. 110. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ การสมโภชในงานรับพระสุพรรณบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (39): 349–352. 27 ธันวาคม ร.ศ. 110. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/1.PDF
- ↑ 6.0 6.1 "ข่าวสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 49 (ตอน 0 ง): หน้า 185. 17 เมษายน พ.ศ. 2475. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๔๗๕ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเล่ม 49, ตอน ๐ ง, 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475, หน้า 4056
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเล่ม 49, ตอน ๐ ง, 5 มีนาคม พ.ศ. 2475, หน้า 4182
- ↑ http://dc.oas.psu.ac.th/dcms/files/01960/ch4_24.pdf
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระสุพรรณบัตรเลื่อนกรม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร ซึ่งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหมื่น และทรงตั้งพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นกรมหมื่น, เล่ม 23, ตอน 36, 2 ธันวาคม พ.ศ. 2449, หน้า 922
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระอิสริยศเฉลิมพระอภิไธยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์, เล่ม 42, ตอน 0 ก, 21 มีนาคม พ.ศ. 2468, หน้า 372
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, กำหนดการรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๘ หน้า ๔๓๔, ๒๘ กุมภาพันธ์ ๑๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีมงคลการโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๕๐ หน้า ๔๕๘, ๑๐ มีนาคม ๑๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๒๖, ๔ กรกฎาคม ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๒, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๗ หน้า ๔๐๕, ๑๐ ธันวาคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๗, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๗๑๖, ๗ ตุลาคม ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๑๐๔๐, ๖ ธันวาคม ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๓, ๑๖ มิถุนายน ๒๔๗๒
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/833.PDF
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/907_1.PDF
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (หน้า 1525)
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการเสือป่า
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) | เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 1 เมษายน พ.ศ. 2471) |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต |