เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)
มหาอำมาตย์โท มหาเสวกโท เจ้าพระยาอภัยภูเบศร นามเดิม ชุ่ม อภัยวงศ์ ในประเทศกัมพูชาปัจจุบันเรียกว่า คทาธรชุ่ม (เขมร: កថាថនឈុំ; 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465)[1] เป็นเจ้าเมืองพระตะบองต่อจากบิดา และเป็นสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลบูรพา[2] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล "อภัยวงศ์"[3] ท่านเป็นพระอัยกา (ปู่) ในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และเป็น พระมาตามหัยกา (ตาทวด) ในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) | |
---|---|
เกิด | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เมืองพระตะบอง อาณาจักรสยาม (ปัจจุบันคือจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา) |
ถึงแก่กรรม | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465 (61 ปี) เมืองปราจีนบุรี อาณาจักรสยาม |
บุตร | พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) ควง อภัยวงศ์ |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร มีนามเดิมว่าชุ่ม เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 ที่เมืองพระตะบอง[4] เป็นบุตรคนโตของเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์) บิดาได้นำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศึกษาราชการในสำนักสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นข้าราชการกรมมหาดเล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็นนายรองเล่ห์อาวุธ รองหุ้มแพรมหาดเล็ก ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอภัยพิทักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเจ้าเมืองพระตะบองอยู่กับเจ้าคุณบิดา
เมื่อเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย) ถึงแก่อสัญกรรม จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาคทาธรธรณินทร์ ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง สืบแทนบิดา ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (ดั่น) สมุหเทศาภิบาลมณฑลเขมรถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็นทั้งสมุหเทศาฯ มณฑลบูรพา ควบกับผู้สำเร็จฯ เมืองพระตะบองทั้งสองตำแหน่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น "เจ้าพระยาอภัยภูเบศร บรมนเรศร์สวามิภักดิ์ สมบูรณ์ศักดิ์สกุลพันธ์ ยุตธรรม์สุรภาพอัธยาศรัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ" มีตำแหน่งในราชการกระทรวงมหาดไทย ถือศักดินา 10,000 ไร่ เช่นเดียวกับเจ้าพระยาทั้งหลาย และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ปี พ.ศ. 2450 ในขณะที่ไทยมีกรณีพิพาทอินโดจีนกับประเทศฝรั่งเศส ต้องแลกมณฑลบูรพากับเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศส ท่านตัดสินใจทิ้งยศถาบรรดาศักดิ์ ทั้งที่ฝรั่งเศสชวนท่านปกครองเมืองพระตะบองต่อ แต่ท่านกลับอพยพครอบครัวและบุตรหลานมาเป็นข้าราชการธรรมดา มาลาออกมาอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2460 ได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานนามสกุลแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) และผู้สืบเชื้อสายต่อจากนั้นไปว่า "อภัยวงศ์" หลังจากนั้นท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ให้ประเทศชาติและจังหวัดปราจีนบุรีมากมาย เช่น บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และที่สำคัญคือได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดแก้วพิจิตรที่เมืองปราจีนบุรี โดยเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างและออกแบบเอง และนับเป็นวัดประจำสกุล "อภัยวงศ์"
ด้านอุปนิสัยส่วนตัว เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ชอบประกอบอาหารรับประทานด้วยตนเอง โดยส่วนมากจะเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพร จนกลายเป็นตำรับตกทอดมายังลูกหลานภายในตระกูลและกิจการในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสเมืองปราจีนบุรี ก็ได้ยังเสวยพระกระยาหารที่ท่านเป็นผู้ปรุงอีกด้วย[5]
เจ้าพระยาอภัยภูเบศรป่วยด้วยโรคเบาหวานถึงแก่อสัญกรรมที่เมืองปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465 สิริอายุ 61 ปี 29 วัน ปี ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจา ผ้าไตรบังสุกุล 3 ไตร ผ้าขาว 6 พับ[6] ได้เชิญศพไปตั้งบนตึกที่ท่านสร้างไว้ และได้รับพระราชทานเพลิงศพที่เมรุวัดแก้วพิจิตร และเชิญอัฐิไปบรรจุไว้ที่ฐานพระอภัยวงศ์ ในพระอุโบสถ วัดแก้วพิจิตร เมื่อพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) ถึงแก่อนิจกรรม จึงเชิญอัฐิและอังคารมาไว้เคียงข้างอัฐิของท่านเจ้าพระยาฯ ได้รับพระราชทานสดับปกรณ์อัฐิและน้ำสุคนธ์สรงอัฐิในทุกวันสงกรานต์จากพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เมื่อพระนางฯ สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ก็ทรงพระราชทานมาสรงทุกวันสงกรานต์ และถ้าว่างจากพระภารกิจทั้งสองพระองค์ก็จะมาบำเพ็ญพระกุศลพระราชทานแก่เจ้าพระยาอยู่เนืองๆ
บุตร - ธิดา
แก้บุตรและธิดาของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เท่าที่สามารถหาได้ ( โดยไม่ได้เรียงลำดับความเป็นพี่น้อง ) มีดังนี้
- ที่เกิดแต่ คุณหญิงสอิ้ง คฑาธรธรณินทร์
1.หม่อมเชื่อม กฤดากร ณ อยุธยา (ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร)
2.คุณหญิงรื่น กัลยาณวัฒนวิศิษฏ์ สมรสกับ พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร).
3.พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) พระชนกในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
4.พระอภัยวงศ์วรเศรษฐ์ (ช่วง อภัยวงศ์)
- ที่เกิดจากหม่อมผิว
5.หลวงราชบูรพานุรักษ์ (ฉาย อภัยวงศ์)
- ที่เกิดจากหม่อมแตง
6.นายถิน อภัยวงศ์ สมรสกับ เหม
- 6.1. เหลือบ อภัยวงศ์
- 6.2. ระเบียบ อภัยวงศ์
- ที่เกิดจากหม่อมกิมฮ้อ
7.นางเนื่อง สิงหเสนี สมรสกับ นายชิต สิงหเสนี
- ที่เกิดจากหม่อมนิ้ว
8.นางนารถ เทพหัสดิน ณ อยุธยา สมรสกับ นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา
- 8.1. สุโรทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา สมรสกับ มณี มิลินทรางกูร
- 8.8.1. สุริย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา สมรสกับ สายหยุด เลื่อนเชย
- 8.8.2. นพรัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา สมรสกับ สำเริง เคยอาษา
- 8.8.3. เกตุ เทพหัสดิน ณ อยุธยา สมรสกับ มณี
- 8.8.4. สุรัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุรินทร์ อ้นสืบสาย
- 8.8.5. น.ส. สงวนวงศ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
- ที่เกิดจากหม่อมกลีบ
9.นางชลานุสสร (เชื้อ รัตนเสน) สมรสกับ หลวงชลานุสสร (บุญเกิด รัตนเสน)
- 9.1. นางนงสันต์ เศขรฤทธิ์ สมรสกับ รศ.นพ. เชิญ เศขรฤทธิ์
- 9.1.1. เชนทร์ เศขรฤทธิ์
- 9.1.2. นุสสร โปษยานนท์ สมรสกับ ธะเรศ โปษยานนท์
- 9.1.2.1. ธนาภา โปษยานนท์
- 9.1.2.2. สรวิศ โปษยานนท์
9.2. ร.ต.อ. ประกาศ รัตนเสน สมรสกับ ม.ร.ว. ศิริพรรณ จักรพันธุ์
- 9.2.1. ศิริวรรณ รัตนเสน
- ที่เกิดจากหม่อมแอบ
10.นางเริงจิตต์ อภัยวงศ์ สมรสกับ นายยวง อภัยวงศ์
- ที่เกิดจากหม่อมแหวน
11.นางสวิง อภัยวงศ์ สมรสกับ นายสุเพีย
- ที่เกิดจากหม่อมเยื้อน
12.นายยวง อภัยวงศ์
13.ร้อยตำรวจโทสวงษ์ อภัยวงศ์
- ที่เกิดจากหม่อมถนอม
14.นางยุทธปฏิภาณ (เพียร กัลยาณมิตร) สมรสกับ หลวงยุทธปฏิภาณ (ชุด กัลยาณมิตร) มีบุตรสองคน คือ นายโชติ กัลยาณมิตร และ นางชีวิน อภัยภูมินารถ)
15.นายจิตรเสน อภัยวงศ์ (นามเดิม คือ นายหมิว อภัยวงศ์) สมรสกับ เมรี่ อีริคสัน สตรีลูกครึ่งไทย- สวีเดน[7]
16.นายแสวง อภัยวงศ์ (สมรสกับ นางประคอง พุ่มทองสุข - ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น นิภา อภัยวงศ์)
- ที่เกิดจากหม่อมรอด
17. หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) สมรสกับคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ (นามสกุลเดิม คุณะดิลก)
- 17.1. ดิลก อภัยวงศ์ สมรสกับ ม.ร.ว. จิรา ชุมพล
- 17.1.1. พิกรม อภัยวงศ์ สมรสกับ โศรดา ขำสา
- 17.1.1.1. บุญจิรา อภัยวงศ์
- 17.2. ดุลจิต อภัยวงศ์ สมรสกับ งามจิต
- 17.2.1. รอยไท อภัยวงศ์
- 2. อุมารัตน์ อภัยวงศ์
- 17.1.1. พิกรม อภัยวงศ์ สมรสกับ โศรดา ขำสา
- 17.2. คทา อภัยวงศ์ สมรสกับ ฆรณี อัชกุล
- 17.2.1. ทินภา อภัยวงศ์
- 17.3. คลอ อภัยวงศ์ สมรสกับ กิตติศิปล์ ฉันทวัฒน์
- 17.3.1. ปราณปริยา ฉันทวัฒน์
- 17.3.22. ปริณดา ฉันทวัฒน์
- ที่เกิดจากหม่อมหยุด
18.นายชาบ อภัยวงศ์
- ที่เกิดจากหม่อมสมอ
19.นายชุบ อภัยวงศ์
- ที่เกิดจากหม่อมริ้ว
20.นายเชียด อภัยวงศ์ สมรสกับ ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ (ม.ล. พวงร้อย สนิทวงศ์)
- 20.1. กสก อภัยวงศ์ สมรสกับ นภาพร อึ้งชู
- 20.1.1. พลอย อภัยวงศ์
- 20.1.2. แพร อภัยวงศ์
- 20.2. มัทนพันธุ์ อภัยวงศ์ สมรสกับ ดุละดิลก ดุละลัมพะ
- 20.2.2. ดุจกมล ดุละลัมพะ
- 20.3. พัชราภรณ์ อภัยวงศ์ สมรสกับ สุรพล บุนนาค
- 20.3.1. พชระ บุนนาค
- 20.3.2. อติชาติ บุนนาค
- ที่เกิดจากหม่อมหวาน
21.นางสุจริตธำรง (จรัสศรี สุจริตกุล) สมรสกับ พระสุจริตธำรง (สวาสดิ์ สุจริตกุล)
- ที่เกิดจากหม่อมสังวาลย์
22.นางราญปฏิเวธ (อบเชย สุวรรณกร) สมรสกับ พลจัตวา หลวงราญปฏิเวธ (เวก สุวรรณกร)
- ที่เกิดจากหม่อมบัว
23.พันตรีแถบ อภัยวงศ์
24.นางถวิล บินตำมะงง สมรสกับ ตนกู ไซนัล อาบิดิน บินตำมะงง ต่อมาสมรสกับนายสง่า อภัยภูมินารถ
- ที่เกิดจากหม่อมอิ้ว
25.นางแจ่มศรี วัชราภัย สมรสกับ นายภักดี วัชราภัย
- ที่เกิดจากหม่อมแย้ม
26.นางจงใจภักดิ์ (แสงอำไพ ฉัตรภูติ) สมรสกับ นายจงใจภักดิ์ (สง่า ฉัตรภูติ)
- ที่เกิดจากหม่อมช้อย
27.นางนวลฉวี บุณยเกศานนท์ สมรสกับ พันเอก ขุนสงบระงับศึก (สงบ บุณยเกศานนท์)
28.พันโทรวย อภัยวงศ์ สมรสกับ น.ส.ละมัย วัลยเสวี ต่อมา สมรสกับ น.ส. จรูญศรี โปษะกะบุตร
28.1 นาง รุจิรา พุ่มเล็ก สมรสกับ พลเรือตรี ตรีทิพย์ พุ่มเล็ก
28.1.1 นาง รุ่งทิพย์ ลีลาทิพย์กุล สมรสกับ นาย สันติ ลีลาทิพย์กุล
28.1.1.1 น.ส. สุภัททิยา ลีลาทิพย์กุล
28.1.2 พันเอก รุ่งธรรม พุ่มเล็ก
- ที่เกิดจากหม่อมละมุล
29.นายสวาสดิ์ อภัยวงศ์
- ที่เกิดจากหม่อมสอน
30.พันตำรวจโทสนอง อภัยวงศ์
- ที่เกิดจากหม่อมละม้าย
31.นายเกษม อภัยวงศ์ สมรสกับ น.ส.อนุศรี อนุรัฐนฤผดุง ต่อมา สมรสกับ น.ส.เฉลิมศรี โยฐาพยัคฆ์ษะ
31.1 พญ. อรสา อภัยวงศ์
31.2 ด.ช. อนุกูล อภัยวงศ์
31.3 น.ส.นวรัตน์ อภัยวงศ์
31.4 นาย ธีระ อภัยวงศ์
31.5 น.ส. ศิริยุพา อภัยวงศ์
31.6 ศาสตราจารย์ ดร. สุรพล อภัยวงศ์
31.7 นาย ธนวัฒน์ อภัยวงศ์
32.นางฉอ้อน ปกมนตรี สมรสกับ พระพิเศษพาณิชย์ (วิบูลย์ ปกมนตรี)
33.นายพัลลภ อภัยวงศ์ (นามเดิม คือ นายแฉล้ม อภัยวงศ์)
- ที่ไม่ทราบหม่อมมารดา
34.นายชวลิต อภัยวงศ์
35.นายสวน อภัยวงศ์ (ภายหลังเปลี่ยนมาใช้นามสกุล "ศรีภิรมย์" ชั่วคราว ซึ่งเป็นนามสกุลของนางเจื่อย ศรีภิรมย์ ผู้เป็นภรรยา แต่ก็มิได้ดำเนินการเปลี่ยนกลับภายหลังแต่อย่างใด)
ฯลฯ
ยศและบรรดาศักดิ์
แก้บรรดาศักดิ์
แก้- นายรองเล่ห์อาวุธ
- พระอภัยพิทักษ์
- 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 พระยาคทาธรธรณินทร์ รามนรินทร อินทราธิบดี พิริยพาห ถือศักดินา 10000[8]
ยศพลเรือน
แก้- มหาเสวกโท
ยศเสือป่า
แก้- 3 ธันวาคม พ.ศ. 2455 นายหมู่เอก[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2450 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
- พ.ศ. 2455 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[14]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ "កថាថនឈុំ". www.chanbokeo.com. สืบค้นเมื่อ 2023-04-17.
- ↑ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เก็บถาวร 2007-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน abhaibhubejhr.org
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 71" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 1422. 12 สิงหาคม 2460. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 155 (เชิงอรรถ)
- ↑ [ลิงก์เสีย] เปิดตำรับอาหารเป็นยา “เจ้าพระยาอภัยภูเบศร” จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (ง): 1570. 3 กันยายน 2465. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ มณี สิริวรสาร, คุณหญิง. ชีวิตเหมือนฝัน ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, มมป. , หน้า 86
- ↑ เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช (หน้า 524-25)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๔๘, ๒๑ พฤศจิกายน ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๘๔, ๒๘ พฤศจิกายน ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๖๔๘, ๔ ธันวาคม ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๐๗, ๑๕ ธันวาคม ๑๓๑
- บรรณานุกรม
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 155. ISBN 974-417-534-6