ปะลิส[3] หรือ เปอร์ลิซ[3] หรือเดิมสะกดว่า ปลิศ[4] และ เปอร์ลิศ[5] (มลายู: Perlis, ڤرليس) มีชื่อเต็มคือ เปอร์ลิซอินเดอรากายางัน (Perlis Indera Kayangan, ڤرليس ايندرا كايڠن) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดในมาเลเซีย อยู่ทางตอนเหนือสุดของมาเลเซียตะวันตก และติดชายแดนประเทศไทย

รัฐปะลิส

Negeri Perlis
เนอเกอรีเปอร์ลิซอินเดอรากายางัน
Negeri Perlis Indera Kayangan
การถอดเสียงต่าง ๆ
 • มลายูPerlis (รูมี)
ڤرليس(ยาวี)
ธงของรัฐปะลิส
ธง
ตราราชการของรัฐปะลิส
ตราอาร์ม
เพลง: อามินอามินยาราบัลจาลิล
   รัฐปะลิส ใน    ประเทศมาเลเซีย
   รัฐปะลิส ใน    ประเทศมาเลเซีย
พิกัด: 6°30′N 100°15′E / 6.500°N 100.250°E / 6.500; 100.250พิกัดภูมิศาสตร์: 6°30′N 100°15′E / 6.500°N 100.250°E / 6.500; 100.250
เมืองหลวงกางาร์
เมืองเจ้าผู้ครองอาเรา
การปกครอง
 • ประเภทราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา
 • รายาสมเด็จพระราชาธิบดีซัยยิด ซีรอญุดดีน
 • มุขมนตรีอัซลัน มัน (BN-UMNO)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด819 ตร.กม. (316 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2019)[2]
 • ทั้งหมด254,400 คน
 • ความหนาแน่น310 คน/ตร.กม. (800 คน/ตร.ไมล์)
ดัชนีรัฐ
 • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2010)0.779 (สูง) (อันดับที่ 8)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
รหัสไปรษณีย์01xxx ถึง 02xxx
รหัสโทรศัพท์04
ทะเบียนพาหนะR
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
เว็บไซต์www.perlis.gov.my

ประชากรของรัฐมีจำนวน 198,335 คน ในปี 2543 ในจำนวนนี้เป็นชาวมลายูประมาณ 166,200 คนหรือร้อยละ 78, ชาวจีน 24,000 คนหรือร้อยละ 17, ชาวอินเดีย 3,700 คน และอื่น ๆ 5,400 คน) เมืองหลวงของรัฐปะลิสคือกางาร์ เมืองที่เป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครคืออาเรา นอกจากนี้เมืองการค้าสำคัญบริเวณชายไทย-มาเลเซียคือปาดังเบอซาร์ ส่วนเมืองท่าของรัฐซึ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐคือกัวลาเปอร์ลิซ

ประวัติ แก้

ปะลิสเดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองไทรบุรี แม้ว่าบางครั้งจะอยู่ภายใต้การปกครองของสยามหรืออาเจะฮ์ก็ตาม หลังจากสยามปราบไทรบุรีได้ในปี พ.ศ. 2364 (ค.ศ. 1821) อังกฤษก็รู้สึกว่าผลประโยชน์ของตนในเมืองเประถูกคุกคาม

ผลทำให้ในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เกิดข้อตกลงระหว่างสยามและสองรัฐมลายูในนามของเจ้าผู้ครองนคร ในสนธิสัญญาเบอร์นีได้เนรเทศสุลต่านอาห์มัด ตาจุดดิน ออกจากตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครไทรบุรี ไม่สามารถกลับเข้ามาปกครองได้อีกจนกระทั่งปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) โดยยอมรับอำนาจของสยามในที่สุด

แต่อย่างไรก็ตาม จากความไม่ไว้วางใจของสยามในตัวเจ้าผู้ครองนคร ทำให้สยามแยกไทรบุรีออกเป็นสี่ส่วนขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สตูล ปะลิส ไทรบุรี และกะปังปาสู

ซัยยิด ฮุสเซน ญะมาลุลลัยล์ ผู้มีพื้นเพมาจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหลานของสุลต่านไทรบุรี ได้กลายเป็นรายาองค์แรกของเมืองปะลิส ผู้สืบสกุลของรายาองค์นี้ยังคงปกครองปะลิส แต่เป็นในฐานะรายา แทนที่ฐานะสุลต่าน

ต่อมา สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 บังคับให้สยามต้องสละเมืองปะลิสให้กับอังกฤษ พร้อม ๆ กับเมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู โดยอังกฤษได้แต่งตั้งผู้แทนของอังกฤษขึ้นในเมืองอาเรา

เศรษฐกิจ แก้

เศรษฐกิจของรัฐส่วนใหญ่เป็นด้านเกษตรกรรม เช่น ข้าว น้ำตาล และการประมงเป็นสำคัญ ส่วนด้านอุตสาหรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก

ศาสนา แก้

ชาวรัฐปะลิสนับถือศาสนาตามลำดับดังต่อไปนี้ อิสลามร้อยละ 87.9, พุทธร้อยละ 10, ฮินดูร้อยละ 0.8, คริสต์ร้อยละ 0.6, ศาสนาพื้นบ้านของจีน ร้อยละ 0.2 และไม่มีศาสนาร้อยละ 0.2

สถิติจำนวนผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ ของรัฐปะลิสใน ค.ศ. 2010[6]
ศาสนา อัตราส่วน
อิสลาม
  
87.9%
พุทธ
  
10.0%
ฮินดู
  
0.8%
คริสต์
  
0.6%
ศาสนาพื้นบ้านของจีน
  
0.2%
อื่น ๆ
  
0.3%
ไม่มีศาสนา
  
0.2%

อ้างอิง แก้

  1. "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  2. "Perangkaan Demografi Suku Tahun Pertama". Department of Statistics, Malaysia. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 25 May 2015.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  4. "ระยะทางเสด็จพระราชดำเนิน ประพาสประเทศยุโรป ครั้งที่ 2 รัตนโกสินทร์ศก 125-126 ตอนที่ 3 (1) เรือพระที่นั่งสักสัน (2) ระยะทางจากสิงคโปร์ถึงปีนัง (3) ที่เมืองปีนัง (4) ระยะทางจากเมืองปีนังถึงโกลัมโบ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (6): 132. 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2450. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "ประกาศกระแสพระบรมราชโองการให้ใช้สัญญาว่าด้วยการเดินรถไฟ ระหว่างพระราชอาณาจักร์สยาม กับ กลันตัน, ไทรบุรี, เปอร์ลิศ และสหรัฐมลายู" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0ก): 274. 29 ธันวาคม พ.ศ. 2467. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012. p. 13

แหล่งข้อมูลอื่น แก้