มณฑลเพชรบูรณ์
มณฑลเพชรบูรณ์ (เดิมสะกดว่า มณฑลเพ็ชร์บูรณ์ หรือ มณฑลเพ็ชร์บูรณ) เป็นมณฑลหนึ่งในการปกครองส่วนภูมิภาคระบบมณฑลเทศาภิบาลของราชอาณาจักรสยาม
มณฑลเพชรบูรณ์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มณฑลเทศาภิบาล | |||||||||||||
พ.ศ. 2443 – 2446 พ.ศ. 2450 – 2459 | |||||||||||||
แผนที่มณฑลเพชรบูรณ์ | |||||||||||||
เมืองหลวง | เพชรบูรณ์ | ||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• ประเภท | สมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ | ||||||||||||
สมุหเทศาภิบาล | |||||||||||||
• พ.ศ. 2443–2446 | พระยาเพชรรัตนสงคราม (เฟื่อง เฟื่องเพชร) (คนแรก) | ||||||||||||
• พ.ศ. 2450–2454 | พระยาเทพธิบดี (อิ่ม เทพานนท์) | ||||||||||||
• พ.ศ. 2454–2459 | พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์) (คนสุดท้าย) | ||||||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | รัตนโกสินทร์ | ||||||||||||
• แยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมา | 20 มกราคม พ.ศ. 2443 | ||||||||||||
• ยุบรวมกับมณฑลพิษณุโลก | 27 กันยายน พ.ศ. 2446 | ||||||||||||
• จัดตั้งขึ้นอีกครั้ง | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 | ||||||||||||
• ยุบรวมกับมณฑลพิษณุโลกอีกครั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2459 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ไทย |
ประวัติ
แก้การจัดตั้งครั้งที่ 1
แก้เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2443 (นับแบบเก่า พ.ศ. 2442 (ร.ศ. 118)) กระทรวงมหาดไทยได้ยกบริเวณเพชรบูรณ์ตั้งขึ้นเป็นมณฑลหนึ่ง แยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมา และให้ยกเมืองหล่มศักดิ์มารวมอยู่ในมณฑลเพชรบูรณ์ด้วย แต่เมืองเลย เมืองแก่นท้าว ซึ่งเป็นเมืองขึ้นกับเมืองหล่มศักดิ์เดิมนั้น ให้คงอยู่ในมณฑลฝ่ายเหนือตามเดิม[1]
การยกเลิกครั้งที่ 1
แก้เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์และรวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้ากับมณฑลพิษณุโลก ด้วยเหตุผลที่ว่า มณฑลเพ็ชร์บูรณ์เปนมณฑลที่มีหนทางไกลกันดาร ประกอบด้วยการไข้เจ็บ แม้ว่าจะเปนมณฑลที่มีท้องที่อุดมด้วยการเภาะปลูกก็ดี แต่การเภาะปลูกมีน้อยยังไม่เจริญ ผลประโยชน์แผ่นดินที่จะพึงได้ ไม่พอกับการใช้จ่ายสำหรับตั้งเปนมณฑล[2]
การจัดตั้งครั้งที่ 2
แก้เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2450 (ร.ศ. 126) กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยแยกออกจากมณฑลพิษณุโลก เนื่องจาก มณฑลเพ็ชร์บูรณ์มีอาณาเขตร์ท้องที่กว้างใหญ่ หนทางเปนที่กันดารห่างไกลจากมณฑลพิศณุโลก ข้าหลวงเทศาภิบาลและข้าราชการทางมณฑลพิศณุโลกจะไปตรวจตราราชการก็ไม่ใคร่ทันท่วงที[3]
การยกเลิกถาวร
แก้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 รัฐบาลได้ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์และรวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้ากับมณฑลพิษณุโลกเป็นการถาวร เนื่องจากมณฑลเพชรบูรณ์มีเพียง 2 เมือง (จังหวัด) ได้แก่ เมืองเพ็ชร์บูรณ์ และเมืองหล่มศักดิ์ ประชากรมีจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเมือง ๆ เดียวในมณฑลอื่น ๆ ประกอบกับสถานการณ์โจรผู้ร้ายชุกชุมเบาบางลง และการคมนาคมด้วยรถไฟสายเหนือสะดวกขึ้นแล้ว[4]
ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศเปลี่ยนคำว่าเมืองมาเป็นจังหวัด[5] และต่อมาจังหวัดหล่มศักดิ์ได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474[6]
เขตการปกครอง
แก้มณฑลเพชรบูรณ์ประกอบด้วย 2 เมือง (จังหวัด) ได้แก่
- เมืองเพชรบูรณ์
- เมืองหล่มศักดิ์
อ้างอิง
แก้- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ประกาศการที่ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบริเวณเพชรบูรณ์ขึ้นเป็นมณฑลโดยให้ยกเมืองหล่มสักมารวม ,ตั้งผู้แทนข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลเพชรบูรณ์ ,ให้เมืองเลย เมืองแก่นท้าวซึ่งขึ้นกับเมืองหล่มสักยังคงให้อยู่ในมณฑลฝ่ายเหนือ ตามเดิม]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๖ หน้า ๖๒๙ วันที่ ๒๘ มกราคม ๑๑๘. 28 มกราคม พ.ศ. 2443. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ รวมขึ้นอยู่ในมณฑลพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ หน้า ๔๔๓ วันที่ ๒ ตุลาคม ๑๒๓. 2 ตุลาคม พ.ศ. 2447. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งมณฑลเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๔ หน้า ๑๒๐๓ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๑๒๖. 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศเลิกมณฑลเพ็ชร์บูรณ์เข้าเปนเมืองในมณฑลพิศณุโลก แลแยกมณฑลพายัพเปนมณฑลมหาราษฎร์ แลมณฑลพายัพ รวมเรียกว่า มณฑลภาคพายัพ มีตำแหน่งอุปราชเปนผู้ตรวจตรากำกับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 กันยายน พ.ศ. 2458. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0ก): 51–53. 28 พฤษภาคม 1916.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2015-06-28.