อำเภอสายบุรี

อำเภอในจังหวัดปัตตานี ประเทศไทย

สายบุรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี เดิมเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองประเทศราชมลายูของสยาม ชาวไทยเชื้อสายมลายูจะเรียกว่า ตะลุแบ (มลายู: تلوبن Taluban; Telubae) หรือในภาษามลายู-สันสกฤตเรียกว่า สลินดงบายู[1] หรือ ซือลินดงบายู (มลายู: سليندوڠ بايو Selindung Bayu แปลว่า ที่กำบังลมพายุ) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม มีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง มีความหลากหลายทางด้านภาษา

อำเภอสายบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sai Buri
คำขวัญ: 
บูดูสะอาด หาดงามวาสุกรี สักขีวัดเก่า ภูเขาสลินดง คงวัฒนธรรม งามล้ำเมืองสาย
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอสายบุรี
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอสายบุรี
พิกัด: 6°42′5″N 101°37′3″E / 6.70139°N 101.61750°E / 6.70139; 101.61750
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด178.424 ตร.กม. (68.890 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด72,370 คน
 • ความหนาแน่น405.61 คน/ตร.กม. (1,050.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94110,
94190 (เฉพาะตำบลทุ่งคล้า)
รหัสภูมิศาสตร์9407
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสายบุรี ถนนลูกเสือ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 94110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่มาของชื่อ

แก้

เมืองสายบุรี เดิมเรียกกันว่า เมืองสาย ซึ่งมาจากภาษามลายูว่า นครีซา มีความหมายว่า "เมืองแห่งปฏัก" ซึ่งคำว่า ซา มาจากคำว่า ซากาเยาะ คือ ปฏัก (อุปกรณ์ที่ควาญช้างใช้บังคับช้าง)[2]

และยังมีชื่อในภาษามลายูที่ยืมคำมาจากภาษาสันสกฤต คือ ซือลินดงบายู ซือมาลันบุลัน มาตันดูวอ อันมีความหมายว่า เมืองกำบังลมพายุใต้แสงจันทร์ ณ ธารสองสาย [3]

ต่อมาได้แยกการปกครองจาก 2 ตำบลตอนล่างของอำเภอ เป็นกิ่งอำเภอไม้แก่น เมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นกิ่งอำเภอแห่งแรกของจังหวัดปัตตานี และได้ยกฐานะเป็นอำเภอไม้แก่นเมื่อปี พ.ศ. 2537

และในปี พ.ศ.2525 ได้แยก 3 ตำบลตอนล่างของอำเภอเช่นกัน แยกเป็นกิ่งอำเภอกะพ้อ และได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.2536

ทำให้อำเภอสายบุรีคงเหลือเพียง 11 ตำบลเท่านั้นจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

แก้

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอสายบุรีตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางทิศตะวันออกของจังหวัด อำเภอสายบุรีห่างจากศาลากลางจังหวัดปัตตานีประมาณ 50 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

รายนามเจ้าเมืองสายบุรี

แก้
  1. พระยาสายบุรี (หนิดะ หรือ นิอาดัส)
  2. พระยาสายบุรี (หนิละไม หรือ ตนกูยาลาลุดดิน)
  3. พระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย์ขอบเขตประเทศมลายูวิเศษวังษา พระยาสายบุรี (หนิแปะ หรือ ตนกูอับดุลย์กอเดร์)
  4. พระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย์ขอบเขตประเทศมลายูวิเศษวังษา พระยาสายบุรี (หนิวิตำนาเซร์ หรือ เต็งกูอับดุลมุฏฏอเล็บ)[4]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอสายบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 65 หมู่บ้าน ได้แก่

หมายเลข ชื่อ อักษรโรมัน หมู่บ้าน ประชากร[5]
01. ตะลุบัน Taluban - 14,541
02. ตะบิ้ง Tabing 6 06,983
03. ปะเสยะวอ Pase Yawo 7 08,920
04. บางเก่า Bang Kao 4 03,837
05. บือเระ Bue Re 4 03,361
06. เตราะบอน Tro Bon 11 08,724
07. กะดุนง Kadunong 8 05,662
08. ละหาร Lahan 5 05,775
09. มะนังดาลำ Manang Dalam 7 07,716
10. แป้น Paen 8 04,976
11. ทุ่งคล้า Thung Khla 5 01,875

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอสายบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองตะลุบัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะลุบันทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเตราะบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเตราะบอนและตำบลทุ่งคล้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะบิ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะเสยะวอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเก่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบือเระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบือเระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกะดุนง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะดุนงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละหารทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะนังดาลำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแป้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแป้นทั้งตำบล

ประชากร

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "อนุรักษ์แหวนแห่ง 'สลินดงบายู' สืบทอดธุรกิจแห่งภูมิปัญญา" (Press release). สำนักข่าวอามาน. 17 มีนาคม พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. โครงการวิจัยลุ่มน้ำสายบุรี. ปฐมบทแห่งลุ่มน้ำสายบุรี เก็บถาวร 2011-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2555
  3. โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา. ประวัติเจ้าเมืองนิอาดัส เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2555
  4. พงศาวดารเมืองปัตตานี พระยาวิเชียรคิรี(ชม) เมื่อยังเป็นพระยาสุนทรานุรักษ์ แต่ง
  5. สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร ปี พศ.2566

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

6°41′56″N 101°34′37″E / 6.69891°N 101.57684°E / 6.69891; 101.57684