เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นอดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอดีตข้าหลวงใหญ่แห่งมณฑลพายัพในสมัยรัชกาลที่ 5[1]
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ป.จ., ป.ช., ป.ม. | |
---|---|
![]() | |
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม 2459 - 1 สิงหาคม 2465 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ |
ถัดไป | เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2406 |
เสียชีวิต | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 (80 ปี) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงพุ่ม สุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ |
บุตร | พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ์ (เชียร กัลยาณมิตร) ชัด กัลยาณมิตร |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ มีนามเดิมว่า เชย เกิดเมื่อปีกุน พ.ศ. 2406 เป็นบุตรพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ชื่น กัลยาณมิตร) (บุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร (โต กัลยาณมิตร)) เริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็นนายรองพิจิตรสรรพการ จ่าเร่งงานรัดรุด พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร และพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ ตามลำดับ[2]
วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์เป็นเจ้าพระยา[3] มีราชทินนามว่า เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ อรรคราชวโรปกร บดินทรเทพยภักดี ราชกรณียกิจจำนง มหามัตยพงษ์ประพัทธ์ กัลยาณวัตรวิบุลย์ อดุลยอาชวาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[4]
ต่อมาวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาเป็นเจ้าพระยาหิรัญบัฏ มีราชทินนามว่า เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ อรรคราชวโรปกร บดินทรเทพยภักดี ราชกรณียกิจจำนง มหามัตยพงศ์ประพัทธ์ กัลยาณวัตรวิบุลย์ อดุลยอาชวาธยาศรัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[5]
20 มกราคม พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ขึ้นมารับราชการตำแหน่ง ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ [6]เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ได้ปฏิรูปการปกครอง การศึกษา การแพทย์ การคมนาคม จนมณฑลพายัพเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย เมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าหลวงใหญ่แห่งมณฑลพายัพแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 จนกระทั่งกราบบังคมทูลลาออกจากราชการในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465[7]
เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 บุตรธิดาของท่าน ได้แก่ พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ์ (เชียร กัลยาณมิตร) และหม่อมชื้น ประวิตร ณ อยุธยา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี เป็นต้น[2]
บรรดาศักดิ์แก้ไข
ยศและตำแหน่งแก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2444 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[16]
- พ.ศ. 2438 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2440 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[18]
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2452 - หีบหมากทองคำหลังตราราชสีห์[21]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์,มหาอำมาตย์เอก (เชย กัลยาณมิตร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
- ↑ 2.0 2.1 สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 194-8. ISBN 974-417-534-6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์เป็นเจ้าพระยา, เล่ม 26, ตอน 0 ง, 23 มกราคม 2452, หน้า 2391-2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์, เล่ม 26, ตอน 0 ง, 23 มกราคม 2452, หน้า 2392-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2020-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 35, ตอน 0 ก, 3 เมษายน 2461, หน้า 1-3
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ "โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-15. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
- ↑ สัญญาบัตรปีระกาสัปตศก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ประกาศตั้งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-27.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องยศ
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม 26, ตอน 0 ง, 23 มกราคม พ.ศ. 2452, หน้า 2397
- ↑ พระราชทานเครื่องยศ