อำเภอสามร้อยยอด

อำเภอในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย

สามร้อยยอด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ซึ่งเป็นตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. 2433 และอีกทั้งมีพื้นที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จัดเป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งผสมผสานหมู่เกาะในทะเลแห่งแรกของไทย เป็นระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย และรับการประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติอนุสัญญาแรมซาร์ เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2551 เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับประเทศอันดับที่ 11 และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับโลกหรือแรมซาร์ไซท์อันดับ ที่ 1,374

อำเภอสามร้อยยอด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sam Roi Yot
จากซ้ายไปขวา:
คำขวัญ: 
สักการะพ่อปู่ งามคูหาคฤหาสน์ อุทยานแห่งชาติล้ำค่า
แหล่งพฤกษาชุ่มน้ำ หาด เขา ถ้ำ สวยสด
สับปะรดหวานฉ่ำ ถิ่นอำไพน้ำใจ
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอสามร้อยยอด
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอสามร้อยยอด
พิกัด: 12°16′14″N 99°52′19″E / 12.27056°N 99.87194°E / 12.27056; 99.87194
ประเทศ ไทย
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด871.9 ตร.กม. (336.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด48,543 คน
 • ความหนาแน่น55.68 คน/ตร.กม. (144.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 77180,
77120 (เฉพาะตำบลสามร้อยยอด)
รหัสภูมิศาสตร์7708
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสามร้อยยอด เลขที่ 100 ถนนเพชรเกษม ตำบลศิลาลอย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
หมู่บ้านชาวประมงบางปู
หาดเจ้าพระยาบางปู

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอสามร้อยยอดตั้มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

ท้องที่อำเภอสามร้อยยอดเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอปราณบุรีและอำเภอกุยบุรี ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลสามร้อยยอด ตำบลศิลาลอย และตำบลไร่เก่า จากอำเภอปราณบุรี มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสามร้อยยอด[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 และมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน โดยชื่ออำเภอมีความเป็นมาหลายกระแสบ้างว่าเป็นเพราะมีต้นสามร้อยยอดขึ้นอยู่ หรือมียอดเขามากมายถึง 300 ยอด แต่ที่คนส่วนใหญ่กล่าวขานกันจนเป็นตำนานสืบกันมาว่า ในสมัยที่เทือกเขายังเป็นเกาะอยู่ ได้มีเรือสำเภาจีนบรรทุกผู้โดยสารผ่านมา และได้ประสบกับลมพายุอย่างรุนแรง จึงได้นำเรือเข้ามาตามร่องน้ำด้านทิศตะวันตกของเกาะเพื่อหลบพายุ แต่เนื่องจากไม่ชำนาญพื้นที่เรือได้ชนกับหินโสโครกอับปางลง ผู้คนตะเกียกตะกายหนีขึ้นฝั่งได้ 300 คน จึงได้ตั้งชื่อว่า "เกาะสามร้อยรอด" ต่อมาระดับน้ำทะเลได้ลดลง เกาะจึงกลายเป็นภูเขา ชาวบ้านจึงเรียกเพี้ยนเป็น "เขาสามร้อยยอด"

ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนตำบลไร่ใหม่ จากอำเภอกุยบุรีมาอยู่ในเขตการปกครองของทางกิ่งอำเภอตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2539[2] ในที่สุดก็ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสามร้อยยอด ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[3] เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาค และถือเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และกลายเป็นอำเภอลำดับที่ 8 ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  • วันที่ 28 ตุลาคม 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลไร่เก่า ในท้องที่หมู่ 4–7 และ 9 ตำบลศิลาลอย[4] กับจัดตั้งสุขาภิบาลไร่ใหม่ ในท้องที่หมู่ 1–2, 6–8 และ 9 ตำบลสามกระทาย[5]
  • วันที่ 29 เมษายน 2518 ตั้งตำบลไร่ใหม่ แยกออกจากตำบลสามกระทาย[6]
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลไร่เก่า แยกออกจากตำบลศิลาลอย[7]
  • วันที่ 22 มีนาคม 2538 แยกพื้นที่ตำบลสามร้อยยอด ตำบลศิลาลอย และตำบลไร่เก่า ของอำเภอปราณบุรี มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสามร้อยยอด[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปราณบุรี
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลศาลาลัย แยกออกจากตำบลไร่เก่า[8]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2538 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกุยบุรีกับกิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี โดยโอนพื้นที่ตำบลไร่ใหม่ จากอำเภอกุยบุรี มาขึ้นกับกิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี[2]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลไร่เก่า และสุขาภิบาลไร่ใหม่ เป็นเทศบาลตำบลไร่เก่า และเทศบาลตำบลไร่ใหม่ ตามลำดับ[9] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี เป็น อำเภอสามร้อยยอด[3]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอสามร้อยยอดแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 5 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[10]
1. สามร้อยยอด Sam Roi Yot
9
7,872
2. ศิลาลอย Sila Loi
9
11,208
3. ไร่เก่า Rai Kao
8
12,829
4. ศาลาลัย Salalai
8
7,558
5. ไร่ใหม่ Rai Mai
7
9,023

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอสามร้อยยอดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

สถานที่สำคัญ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสามร้อยยอด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 66. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13. วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2538
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนเขตอำเภอกุยบุรีกับกิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (58 ก): 28–29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลไร่เก่า อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (93 ง): 3206–3208. วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2512
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลไร่ใหม่ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (93 ง): 3209–3210. วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2512
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (84 ง): 1099–1103. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2518
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราณบุรี อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (177 ง): 3624–3632. วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2522
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 59–67. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
  9. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  10. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.