อำเภอบางสะพาน

อำเภอในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย

บางสะพาน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่มาของทองบางสะพาน ที่เลื่องชื่อ มีการร่อนที่ตำบลร่อนทอง บางสะพานเป็นอำเภอที่มีเศรษฐกิจที่ดีในระดับหนึ่งของประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากมีประชากรมาก และมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เช่น ชายทะเลบ้านกรูดและเกาะทะลุ

อำเภอบางสะพาน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Saphan
ภาพมุมสูงจากเขาธงชัย
ภาพมุมสูงจากเขาธงชัย
คำขวัญ: 
พระธาตุเจดีย์สูงเสียดฟ้า มากคุณค่าทองเนื้อเก้า
เด่นเรื่องราวการท่องเที่ยว หนึ่งเดียวอุตสาหกรรมเหล็ก
ชุมชนใหญ่เล็กรักสามัคคี ไหว้พระดีปู่อินทร์-ปู่ท้วม
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอบางสะพาน
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอบางสะพาน
พิกัด: 11°12′54″N 99°30′42″E / 11.21500°N 99.51167°E / 11.21500; 99.51167
ประเทศ ไทย
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด868.0 ตร.กม. (335.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด76,145 คน
 • ความหนาแน่น87.73 คน/ตร.กม. (227.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 77140,
77190 (เฉพาะตำบลธงชัยและชัยเกษม),
77230 (เฉพาะตำบลร่อนทองและทองมงคล)
รหัสภูมิศาสตร์7704
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางสะพาน ถนนบางสะพาน ตำบลกำเนิดนพคุณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

อำเภอบางสะพานเคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวา ชื่อ เมืองกำเนิดนพคุณ บางครั้งที่มีศึกสงครามก็ต้องยุบเมือง ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมืองกำเนิดนพคุณ ขึ้นกับเมืองชุมพร (จังหวัดชุมพร) ต่อมาได้รวมกับอำเภอปราณบุรี จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นจังหวัดปราณบุรี ตั้งที่ตำบลเกาะหลัก[1] ทำให้อำเภอเมืองกำเนิดนพคุณ เป็นอำเภอหนึ่งของเมืองปราณบุรี (จังหวัด) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์[2] อำเภอกำเนิดนพคุณก็ยังขึ้นตรงกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ต่อมา

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอบางสะพานตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอบางสะพานแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 71 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[3]
1. กำเนิดนพคุณ Kamnoet Nopphakhun
8
9,663
2. พงศ์ประศาสน์ Phong Prasat
10
10,159
3. ร่อนทอง Ron Thong
12
17,012
4. ธงชัย Thong Chai
11
10,116
5. ชัยเกษม Chai Kasem
12
11,631
6. ทองมงคล Thong Mongkhon
10
10,428
7. แม่รำพึง Mae Ramphueng
8
7,077

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอบางสะพานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกำเนิดนพคุณ
  • เทศบาลตำบลบ้านกรูด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลธงชัย
  • เทศบาลตำบลร่อนทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลร่อนทอง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกำเนิดนพคุณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำเนิดนพคุณ (นอกเขตเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพงศ์ประศาสน์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่อนทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลร่อนทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธงชัย (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกรูด)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยเกษมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทองมงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทองมงคลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่รำพึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่รำพึงทั้งตำบล

สถานศึกษา แก้

อาชีวะศึกษา

  • วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน

โรงเรียนมัธยม

  • โรงเรียนธงชัยวิทยา
  • โรงเรียนชัยเกษมวิทยา
  • โรงเรียนบางสะพานวิทยา
  • โรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์
  • โรงเรียนธนาคารออมสิน

โรงเรียนประถม

  • โรงเรียนอนุบาลบางสะพาน
  • โรงเรียนวัดนาผักขวง
  • โรงเรียนบ้านดอนทอง
  • โรงเรียนบ้านถ้ำเขาน้อย
  • โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว
  • โรงเรียนบ้านดอนสง่า
  • โรงเรียนมัธยมนพคุณ
  • โรงเรียนบ้านสวนหลวง
  • โรงเรียนบ้านห้วยแก้ว
  • โรงเรียนบ้านชะม่วง
  • โรงเรียนบ้านหินกอง
  • โรงเรียนบ้านทุ่งเชือก
  • โรงเรียนบ้านดอนสำนัก
  • โรงเรียนธนาคารออมสิน
  • โรงเรียนบ้านคลองลอย
  • โรงเรียนบ้านวังน้ำเขียว
  • โรงเรียนบ้านดอนสูง
  • โรงเรียนบ้านหนองระแวง
  • โรงเรียนวัดดอนยาง
  • โรงเรียนบ้านดอนสำราญ
  • โรงเรียนวัดถ้ำคีรีวงศ์
  • โรงเรียนบ้านหนองมงคล
  • โรงเรียนวัดธงชัยธรรมจักร
  • โรงเรียนบ้านอ่าวยาง
  • โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี 1
  • โรงเรียนบ้านดงไม้งาม
  • โรงเรียนบ้านยางเขา
  • โรงเรียนไตรกิตทัตตานนท์
  • โรงเรียนบ้านเขามัน
  • โรงเรียนบ้านมรสวบ
  • โรงเรียนบ้านหนองจันทร์
  • โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง
  • โรงเรียนบ้านท่าขาม
  • โรงเรียนบ้านธรรมรัตน์
  • โรงเรียนบ้านทองมงคล
  • โรงเรียนบ้านราษฏร์ประสงค์
  • โรงเรียนบ้านวังยาว
  • โรงเรียนบ้านในล็อก
  • โรงเรียนบางสะพาน

แหล่งท่องเที่ยว แก้

  • วัดถ้ำเขาม้าร้อง

ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางสะพานไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กม. ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลพงศ์ประศาสน์ ภายในถ้ำมีหลายคูหาซึ่งมีผู้ดูแลติดตั้งไฟฟ้าแสงสีต่าง ๆ ประดับประดาทำให้บรรยากาศในถ้ำดูสวยงามน่าสนใจ ผนังถ้ำด้านหนึ่งมีพระพุทธรูปวางเรียงรายตลอดแนว สถานที่กว้างขวางรถยนต์สามารถเข้าถึงปากถ้ำได้

  • อ่าวแม่รำพึง

เป็นชายหาดที่ค่อนข้างเงียบสงบ มีถนนเลียบชายหาด มีร้านอาหารทะเล และสถานที่พักริมชายหาดเปิดบริการแก่นักท่องเที่ยว อยู่ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 86 กม. และห่างจากถนนเพชรเกษมตามทางแยกเข้าตัวอำเภอบางสะพานไปประมาณ 17 กม.

  • อุทยานป่ากลางอ่าว

เป็นอุทยานป่าไม้เบญจพรรณ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชนอำเภอบางสะพานเพียง 2 กม. และอยู่ ติดชายทะเล มีป่าไม้ ยางขนาดใหญ่ ให้ความร่มรื่น

  • อ่าวบ่อทองหลาง

อยู่ห่างจากอ่าวแม่รำพึงตามถนนเลียบชายหาดประมาณ 4 กม. มีชายหาดโค้งเป็นรูปวงกลมอยู่ริมเชิงเขา หาดทรายขาว สะอาด น้ำทะเลใส สามารถลงเล่นน้ำได้ ริมชายหาดมีร้านขายอาหาร และเครื่องดื่มบริการ

  • หาดบ้านกรูด
  • ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ตั้งอยู่บนเขาธงชัย ท้องที่บ้านกรูด ซึ่งแยกจากถนนเพชรเกษมเข้าไปทางซ้ายประมาณ 16 กม. จะพบตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สวยเด่นบนยอดเขาธงชัย หันหน้าออกสู่ทะเล บริเวณรอบ ๆ มีสวนไม้ดอก ไม้ประดับ และสำนักสงฆ์ซึ่งเชื่อกันว่ากรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เคยเสด็จฯ ประทับ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อพักทอดสมอเรือรบ

  • พระพุทธกิติสิริชัย

เป็นพระรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ เลียนแบบรูปแบบศิลปะคันธารราฐ ลักษณะปางขัดสมาธิหรือปางตรัสรู้ ประดิษฐ์บนฐานดอกบัวประกอบผ้าทิพย์ในพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. พระนามาภิไธยในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์พระบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ[ต้องการอ้างอิง] โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานกระทำพิธีสมโภชและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2539 พระพุทธกิติสิริชัย(คันทาราช) ประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออก องค์พระหันพระพักต์ออกสู่ทะเลตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขาธงชัย เป็นพระพุทธรูปประธานภายนอกอาคารเพื่อเป็นพุทธานุสรณ์สำหรับการเคารพกราบไหว้และการสักการะบูชา

  • พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ (นามพระราชทาน)

เป็นพระมหาธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ มีความสวยงามวิจิตรตระการตาตามแบบไทยแท้ อันหาดูได้ยากยิ่ง คณะสงฆ์และพสกนิกรผู้จงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศความภักดี โดยร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์เป็นปีที่ห้าสิบ ออกแบบโดย ม.ร.ว มิตรารุณ เกษมศรี นายช่างสถาปนิกประจำสำนักพระราชวัง โดยฝีมือการออกแบบและก่อสร้างอย่างวิจิตรบรรจง ทรงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมไทยอันยอดเยี่ยม

  • เกาะลำร่า

เป็นเกาะหินขนาดปานกลางอยู่ที่ตำบลธงชัย (อยู่ระหว่างเขตอำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน) บริเวณรอบเกาะมีแนวประการัง

  • เกาะทะลุ เป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นชั้นดีและที่สำคัญคือ ราคาค่าบริการดำน้ำดูปะการัง ถูกมากเมื่อเทียบกับแหล่งดำน้ำอื่นๆของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเกาะทะลุหรือที่บางท่านเรียกว่าเขาทะลุได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างมากมาย หากท่านอยู่ริมทะเลในอ่าวบางสะพานและบางสะพานน้อย ไม่ว่าช่วงไหน คือตั้งแต่อ่าวแม่รำพึงจนถึงหาดบางเบิด จะมองเห็นเกาะทะลุ ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อยู่ห่างจากชายฝั่งไปไม่ไกล บนเกาะมีถ้ำทะลุจากด้านหนึ่งของเกาะไปยังอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดเด่นและที่มาของชื่อเกาะทะลุ บนเกาะทะลุมีชายหาดสวยงามสี่แห่ง มีแหล่งปะการังน้ำตื้นสวยงามให้ชมอยู่รอบเกาะ แถมปลายังชุกชุมซะด้วย นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาให้อาหารปลาและดำน้ำเล่นกับฝูงปลากันที่นี่ ใช้เวลาเดินทางมายังจุดดำน้ำเกาะทะลุ โดยเรือท่องเที่ยวประมาณ 30-40 นาที

เกาะทะลุ อยู่ในทะเลอ่าวไทย อ. บางสะพานน้อย ห่างจากชาย ฝั่งบริเวณปากคลองบางสะพานน้อยราว 7 กม. มีจุดดำน้ำที่เลื่องชื่ออยู่ 2 จุดโดยเรือท่องเที่ยวจะพาไปดำน้ำชมปะการังจุดละ 1 ชั่วโมง โดยเกาะทะลุมีเกาะบริวารอีกสองเกาะ คือ เกาะสังข์และเกาะสิงห์ ซึ่งเป็นแหล่งชมปะการังน้ำตื้นที่สวยงามอีกที่เช่นกัน

  • เกาะสิงห์-เกาะสังข์

ที่นี่เป็นจุดที่สองสำหรับการดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นเป็นเกาะขนาดเล็ก อยู่ใกล้กับเกาะทะลุไปทางด้านทิศใต้ ตัวเกาะคล้ายกับโขดหินที่ลอยอยู่ในทะเล ไม่มีชายหาด รอบเกาะอุดมไปด้วยปะการังสวยๆชนิดต่างๆ คล้ายกับที่เกาะทะลุ แต่จะมีจุดเด่นกว่าตรงที่ เกาะสิงห์มีปะการังมากชนิดกว่า และสวยงามกว่า จึงพลาดไม่ได้สำหรับคนที่ชอบปะการัง

  • น้ำตกไทรคู่

การเดินทางไปน้ำตกไทรคู่จะต้องใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3196 จากตัวอำเภอบางสะพานมุ่งหน้าไปตามเส้นทางจนกระทั่งถึงทางแยกไปทางบ้านโป่งโกเลี้ยวขวาเข้าไป เจอสะพานไม้เล็ก ๆ ข้ามห้วยไปประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกไทรคู่ ซึ่งน้ำตกไทรคู่ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลร่อนทอง อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ อยู่ทางทิศตะวันตกของถนนเพชรเกษม บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี น้ำตกไทรคู่แห่งนี้มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นจะมีความสวยงามที่แตกต่างกันไป โดยชั้นที่มีความงามมากที่สุดคือชั้นที่ 5 ซึ่งน้ำตกในชั้นนี้จะมีลักษณะที่เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิดที่บริเวณน้ำตกอีกด้วย

  • น้ำตกขาอ่อน

หรือน้ำตกทับมอญ อยู่ติดกับเทือกเขาตะนาวศรี ในพื้นที่ ต.ชัยเกษม อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์น้ำตกแห่งนี้อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษม 15 กม. การเดินทางในปัจจุบันสะดวกสบาย มีเพียงทางเข้าน้ำตกเท่านั้นที่ยังคงเป็นถนนลูกรังอยู่เพียง 1.5 กม. ระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับบรรยากาศสองข้างทางซึ่งเป็นสวนมะพร้าว รวมทั้งก่อนถึงบริเวณหน่วยพิทักษ์น้ำตกขาอ่อน ยังมีจุดชมวิวทิวทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านมรสวบ และอ่างเก็บน้ำบ้านหนองบอน ตลอดสองข้างทางขึ้นสู่น้ำตกขาอ่อน เป็นป่าไผ่และต้นไม้น้อยใหญ่ที่ขึ้นปกคลุมผืนป่าจนร่มรื่น น้ำตกมีด้วยกัน 9 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามที่แตกต่างกันไป ระหว่างทางมีพืชพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นอยู่ริมลำธาร ไม่ว่าจะเป็นมอส เฟิร์นข้าหลวง เฟิร์นเจ้างู ในช่วงปลายฝนต้นหนาว การเดินทางขึ้นไปยังน้ำตกแต่ละชั้นของน้ำตกขาอ่อนไม่ยากเย็นมากนัก แต่ละชั้นยังมีจุดนั่งพักผ่อนเพื่อดื่มด่ำกับธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำตกชั้นที่ 5 ซึ่งมีความโดดเด่นเนื่องจากจะมีความเย็นเปรียบเสมือนห้องแอร์ธรรมชาติ ไม่เพียงเท่านั้น ระหว่างทางยังมีผีเสื้อแมลงปีกสวยบินวนเวียนอยู่เป็นจำนวนมาก

ศาสนสถาน แก้

 
วัดทางสาย บนเขาธงชัย
  • วัดเขากะจิ
  • วัดเขาน้อย
  • วัดเขาโบสถ์
  • วัดนาผักขวง
  • วัดห้วยทรายขาว
  • วัดเขาตะล่อม
  • วัดเขาถ้ำม้าร้อง
  • วัดชะม่วง
  • วัดทุ่งมะพร้าว
  • วัดหินกอง
  • วัดเกาะยายฉิม
  • วัดสุวรรณาราม
  • วัดเขาถ้ำคีรีวง
  • วัดชัยภูมิ
  • วัดดอนยาง
  • วัดทางสาย
  • วัดธงชัยธรรมจักร
  • วัดมรสวบ
  • วัดรักดีคีรีวัน
  • วัดหนองจันทร์
  • วัดหนองโปร่ง
  • วัดทองมงคล
  • วัดธรรมรัตน์
  • วัดโป่งโก
  • วัดดอนสำราญ
  • วัดบ่อทองหลาง
  • วัดพรหมรังษี (เขาอิติสุคโต ๓)
  • วัดวังน้ำเขียว

การเดินทาง แก้

  • ทางถนน
    •   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
      •   ทางหลวงหมายเลข 3169 (ร่อนทอง-บางสะพาน-อ่าวทองหลาง)
    • รถโดยสารของบริษัทบางสะพานทัวร์ (กรุงเทพ-บางสะพาน) ให้บริการตั้งแต่ 06.00 น.- 24.00 น. (รถออกทุก 1 ชั่วโมง) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง
  • ทางรถไฟ:   การรถไฟแห่งประเทศไทย     สายใต้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
  2. ประกาศ เปลี่ยนนามเมืองปราณบุรี เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประกาศในราชกิจจานุเบกษษา เล่มที่ ๓๒ ตอนที่ ๐ ก วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ หน้าที่ ๑๗๖
  3. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้