อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอทับสะแกและอำเภอบางสะพานของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในประเทศไทย มีพื้นที่ 158.43 ตารางกิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติใน พ.ศ. 2534 เขตอุทยานเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.1 (เขาล้าน) และหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.2 (ขาอ่อน)

อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
ที่ตั้งอำเภอทับสะแกและอำเภอบางสะพาน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย
พิกัด11°37′33″N 99°36′50″E / 11.625839°N 99.613796°E / 11.625839; 99.613796
พื้นที่158.43
จัดตั้งพ.ศ. 2534[1]
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เว็บไซต์สำนักอุทยานแห่งชาติ

ประวัติ

แก้

ใน พ.ศ. 2530 กรมป่าไม้ได้รับแจ้งว่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าทับสะแก มีน้ำตก 2 แห่งซึ่งสมควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน จึงได้ให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ปจ.3 (ทับสะแก) ออกไปสำรวจ ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ) และน้ำตกห้วยหินดาด เหมาะสมจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติจึงเสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมากองอุทยานแห่งชาติได้ให้หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกห้วยยางทำการสำรวจบริเวณน้ำตกทั้ง 2 แห่ง ต่อมาในช่วงกลางปี 2531 ได้มีข้อเสนอให้สำรวจพื้นที่หาดวนกรเพื่อผนวกเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย และใน พ.ศ. 2532 ได้ผนวกป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร) เข้ากับพื้นที่ทั้งหมดจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง[2] และใน พ.ศ. 2534 ได้รับการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา[1]

อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ได้รับรางวัลอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) ระดับทอง (ดีเยี่ยม) ประจำปี 2563

ภูมิประเทศ

แก้

ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี โดยมียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด และยังเป็นสถานที่ที่พบปูเจ้าฟ้าอีกด้วย ป่าที่พบเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย และหินเป็นหินแกรนิตและหินลูกรัง นอกจากนี้ เขตอุทยานเป็นพื้นที่ให้กำเนิดต้นน้ำหลายสาย ได้แก่ คลองอ่างทอง คลองแก่ง คลองทับสะแก คลองจะกระ คลองไข่เน่า คลองตาเกล็ด คลองห้วยยาง คลองห้วยมา และคลองหินจวง[2]

จุดท่องเที่ยว

แก้
  • น้ำตกเขาล้าน เป็นน้ำตก 5 ชั้น บางชั้นมีแอ่งน้ำที่สามารถลงเล่นได้
  • น้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ) เป็นน้ำตกขนาดเล็ก 9 ชั้น มีความสูงเกินกว่า 10 เมตร มีแอ่งน้ำตามชั้น สภาพทางเดินขึ้นน้ำตกค่อนข้างชุ่มชื้น
  • น้ำตกห้วยยาง เป็นน้ำตกที่ไหลลงจากยอดเขาหลวง มีทั้งหมด 7 ชั้น โดยในชั้นที่ 4 มีทางแยกขึ้นสู่จุดชมดวงอาทิตย์ขึ้น ส่วนในชั้นที่ 5 มองเห็นสายน้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ 15 เมตร
  • ยอดเขาหลวง เป็นจุดที่สูงที่สุดในอุทยาน และเป็นแนวเขตธรรมชาติที่ใช้แบ่งเขตประเทศไทยและประเทศพม่า

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้