ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ 15–30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5–7 เซนติเมตร ยาว 12–20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคมถึงกันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือนธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือนมีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ตะแบกนา
ภาพดอกระยะใกล้ที่โกลกาตา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับชมพู่
วงศ์: วงศ์ตะแบก
สกุล: Lagerstroemia
Jack 1820
สปีชีส์: Lagerstroemia floribunda
ชื่อทวินาม
Lagerstroemia floribunda
Jack 1820

นิเวศวิทยา แก้

พืชชนิดนี้เป็นพืชที่พบได้ในพื้นที่เขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] โดยในประเทศไทยขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้มีขึ้นอยู่มากใน ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม และตามท้องนาทั่ว ๆ ไป

ประโยชน์ แก้

เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Lagerstroemia floribunda". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 25 January 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้