มะตูม

สปีชีส์ของพืช

มะตูม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aegle marmelos ภาคเหนือเรียกว่า มะปิน ภาคใต้เรียกว่า กะทันตาเถร, ตูม และตุ่มตัง ภาคอีสานเรียกว่า บักตูม ภาษาเขมรเรียกว่า พะโนงค์ (ព្នៅ) ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า มะปีส่า[4] เป็นไม้ผลยืนต้นพื้นเมืองของอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2] มีการเพาะปลูกทั่วไปในอินเดีย รวมทั้งในศรีลังกา แหลมมลายูตอนเหนือ เกาะชวา และฟิลิปปินส์ จัดเป็นพืชเพียงสปีชีส์เดียวที่อยู่ในสกุล Aegle

มะตูม
ต้นมะตูม (บน) และผลมะตูมที่สุกแล้ว (ล่าง)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: เงาะ
วงศ์: วงศ์ส้ม
วงศ์ย่อย: Aurantioideae
Corrêa[3]
สกุล: Aegle
(L.) Corrêa[2]
สปีชีส์: Aegle marmelos
ชื่อทวินาม
Aegle marmelos
(L.) Corrêa[2]
ชื่อพ้อง[2]
  • Belou marmelos (L.) A.Lyons
  • Crateva marmelos L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ลำต้นมีความสูง 18 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาเรียบเป็นร่องตื้น เนื้อไม้แข็ง มีสีขาวแกมเหลือง และมีกลิ่นหอม โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ยาว แข็ง ออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามกิ่ง[5] ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่หรือรูปหอกมี 3 ใบ มองดูคล้ายตรีศูลของพระศิวะ ดอกสีขาวหรือขาวอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลมีเปลือกแข็งเรียบและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5–15 เซนติเมตร บางผลมีเปลือกแข็งมากจนต้องกระเทาะเปลือกออกโดยใช้ค้อนทุบ เนื้อผลเหนียวข้น มีกลิ่นหอม และมีเมล็ดจำนวนมากแทรกอยู่ในเนื้อผล โดยเมล็ดจะมีขนหนาปกคลุม

การใช้ประโยชน์ แก้

ผลมะตูมใช้รับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง น้ำจากผลเมื่อนำไปกรองและเติมน้ำตาลจะได้เครื่องดื่มคล้ายน้ำมะนาว และยังใช้ในการทำ Sharbat ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการนำเนื้อผลมะตูมไปผสมกับมะขาม ผลอ่อนฝานแล้วตากแห้งนำไปต้มกับน้ำเป็นน้ำมะตูม นำมายำ ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสลัด กินกับน้ำพริก ลาบ และข้าวยำ ผลแก่แต่เปลือกยังนิ่มนำมาฝานแล้วทำเป็นมะตูมเชื่อม ซึ่งนำไปเป็นส่วนผสมของขนมอื่นอีกหลายอย่าง มะตูมสุก เนื้อเละใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้เป็นยารักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน โรคลำไส้ ตาแห้งไข้หวัดธรรมดา และยังใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรัง

ความเชื่อ แก้

คนไทยถือว่ามะตูมเป็นไม้มงคล นิยมปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน ศาสนาฮินดู เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ[4] ดังนั้นจึงพบต้นมะตูมได้ทั่วไปในสวนของวิหารในประเทศอินเดีย และใบมะตูมยังเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา เช่นการทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์หรือครอบครู

สัญลักษณ์ แก้

ต้นมะตูมเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดชัยนาท ผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงหรืองานสมรสพระราชทานจะได้รับพระราชทานใบมะตูมเพื่อเป็นสิริมงคล[4]

ชื่อท้องถิ่นของมะตูม แก้

ชื่อสามัญของมะตูมในภาษาต่าง ๆ ได้แก่

  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Plummer, J. (2020). Aegle marmelos. The IUCN Red List of Threatened Species 2020: e.T156233789A156238207. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T156233789A156238207.en. Downloaded on 07 March 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Taxon: Aegle marmelos (L.) Corrêa". GRIN Global, National Plant Germplasm System, US Department of Agriculture. 19 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 March 2018.
  3. "สกุล Aegle". ฐานข้อมูลออนไลน์ Germplasm Resources Information Network (GRIN). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2017.
  4. 4.0 4.1 4.2 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์ (ตุลาคม 2550). "มะตูม" ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กรุงเทพฯ: แสงแดด. หน้า 147–148. ISBN 9789749665749.
  5. "มะตูม". ฐานข้อมูลสมุนไพร. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Aegle marmelos