กระบก

สปีชีส์ของพืช

กระบก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Irvingia malayana) เป็นไม้ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคเหนือเรียกมะมื่น ภาคอีสานเรียกหมากบก ภาษาชองเรียกชะอัง สุโขทัยและโคราชเรียกมะลื่น ภาษาส่วยในจังหวัดสุรินทร์เรียกหลักกาย เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Irvingiaceae[3] ไม่ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงสลับ ผิวเกลี้ยง ดอกขนาดเล็ก มีขนนุ่ม ออกดอกรวมกันเป็นช่อโตที่ปลายกิ่ง สีขาวอมเขียวอ่อน ผลกลมรี ทรงกล้วยไข่ ขนาดใกล้เคียงกับมะม่วงกะล่อนขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเข้มขึ้น สุกเป็นสีเหลืองอมเขียว เนื้อเละ เมล็ดแห้ง

กระบก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: อันดับโนรา
Malpighiales
วงศ์: วงศ์กระบก
Irvingiaceae
สกุล: Irvingia
Irvingia
Oliv. ex A.W.Benn.
สปีชีส์: Irvingia malayana
ชื่อทวินาม
Irvingia malayana
Oliv. ex A.W.Benn.
ชื่อพ้อง[2]
  • Irvingella harmandiana Tiegh.
  • Irvingella malayana (Oliv. ex A.W.Benn.) Tiegh.
  • Irvingella oliveri (Pierre) Tiegh.
  • Irvingia oliveri Pierre

การใช้ประโยชน์

แก้
 
ผล

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง[4] และเผาถ่าน[5] เมล็ดนำไปอบหรือคั่ว รับประทานได้ [6] เนื้อในเมล็ดรสมันอมหวาน ทางจังหวัดระยองนำเมล็ดกระบกมาบดละเอียด คลุกน้ำตาล ห่อด้วยใบตอง เรียกข้าวราง เมล็ดมีน้ำมันมาก ใช้ทำสบู่และเทียนไขได้ เนื้อในเมล็ด บำรุงเส้นเอ็นและไขข้อ ฆ่าพยาธิในท้อง

อ้างอิง

แก้
  1. Barstow, M. (2020). "Irvingia malayana". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T33227A67741108. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-2.RLTS.T33227A67741108.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn". The Plant List. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
  3. "Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn". Plants of the World Online. The Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew. n.d. สืบค้นเมื่อ August 21, 2020.
  4. Asianplant - Irvingia malayana Oliv. ex Benn.
  5. Trees in Paddy Fields in Northeast Thailand
  6. ‘wild’ food plants used by rice farmers in Kalasin, Northeast Thailand
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. กระบก ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550. หน้า 295

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้