สบู่
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ในทางเคมี สบู่คือเกลือของกรดไขมัน[1] สบู่ในบ้านเรือนใช้ชะล้าง อาบ และใช้ในการทำความสะอาดบ้าน โดยสบู่ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว และน้ำมันอิมัลซิไฟเออร์เพื่อให้สบู่ไหลไปกับน้ำได้[2] ในอุตสาหกรรม สบู่ยังใช้กับการปั่นผ้า และเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารหล่อลื่นบางชนิด
สบู่สำหรับการชะล้างได้มาจากน้ำมันพืชหรือสัตว์ และไขมันที่มีค่าเบสสูง เช่น โซดาไฟ หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ในสารละลายในน้ำ ไขมันและน้ำมันเป็นส่วนประกอบของไตรกลีเซอไรด์ กล่าวคือ โมเลกุลของกรดไขมันสามโมเลกุลติดกับโมเลกุลของกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุล[3] สารประกอบอัลคาไลน์ที่มักถูกเรียกว่า ไล (lye) ชักนำให้เกิดกระบวนการการเปลี่ยนเป็นสบู่ (saponification)
ในปฏิกิริยานี้ ไขมันไตรกลีเซอไรด์จะสลายด้วยน้ำ (hydrolyze) กลายเป็นกรดไขมันอิสระ และกรดไขมันอิสระจะรวมกับอัลคาไลจนเกิดเป็นสบู่หยาบ หรือส่วนผสมของเกลือสบู่ ไขมันหรืออัลคาไลที่เกินมา น้ำ และกลีเซอรอลอิสระ (กลีเซอรีน) ผลพลอยได้คือกลีเซอรีนสามารถคงอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์สบู่ ทำหน้าที่เป็นสารที่ทำให้อ่อนโยน หรือถูกแยกออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น[3]
โดยคำว่า "สบู่" ในภาษาไทย เพี้ยนมาจากคำว่า "sabão" ในภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เชื่อว่าสบู่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยอยุธยา พร้อมกับชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขาย, รับราชการ และพำนักอยู่ในประเทศไทยในเวลานั้น[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ IUPAC. "IUPAC Gold Book – soap" Compendium of Chemical Terminology, 2nd ed. (the "Gold Book"). Compiled by A. D. McNaught and A. Wilkinson. Blackwell Scientific Publications, Oxford (1997). XML on-line corrected version: created by M. Nic, J. Jirat, B. Kosata; updates compiled by A. Jenkins. ISBN 0-9678550-9-8. doi:10.1351/goldbook. Accessed 2010-08-09
- ↑ S., Tumosa, Charles (2001-09-01). "A Brief History of Aluminum Stearate as a Component of Paint". cool.conservation-us.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-04-05.
- ↑ 3.0 3.1 Cavitch, Susan Miller. The Natural Soap Book. Storey Publishing, 1994 ISBN 0-88266-888-9.
- ↑ Thachai, Manoonthum (2019-08-11). "ชีวิตไม่สิ้นหวัง เล่าเรื่องชุมชนกุฎีจีน ตอนสอง 11 สค 2562". ช่อง 3.