อิมัลชัน (อังกฤษ: emulsion, /ɪˈmʌlʃən/[1]) เป็นคอลลอยด์ประเภทหนึ่ง เกิดจากของที่ละลายเข้ากันเป็นเนื้อเดียวไม่ได้สองชนิดขึ้นไป โดยทำให้แตกตัว โดยตัวหนึ่งเป็นอนุภาคคอลลอยด์ (dispered phase) อีกตัวหนึ่งเป็นส่วนเนื้อเดียว (continuous phase) เรียกสารที่แตกตัวว่า ตัวกระทำอิมัลชัน (emulsifier)

ตัวอย่างอิมัลชัน

แก้
อิมัลชัน สารเนื้อเดียว อนุภาคคอลลอยด์ ตัวกระทำอิมัลชัน
น้ำเสีย น้ำ น้ำมันหรือไขมัน สบู่หรือผงซักฟอก
นม น้ำนม ไขมันในนม เคซีน
น้ำสลัด น้ำมัน ไข่ขาว ไข่แดง (เลซิติน)

ตัวกระทำอิมัลชัน

แก้

ตัวกระทำอิมัลชัน (emulsifier) มักจะเป็นสารที่สามารถลดแรงตึงผิวได้ เนื่องจากการละลายของสารเกิดจากความต่างขั้วกัน ดังนั้นเพื่อให้สารผสมกันได้ โดยครึ่งหนึ่งจะมีขั้ว อีกครึ่งหนึ่งไม่ ตัวอย่างของตัวกระทำอิมัลชัน เช่น

  • ไข่แดง (เลซิติน) เป็นตัวกระทำอิมัลชันที่รับประทานได้ จึงผสมในอาหาร เช่น น้ำสลัด เนื้อขนมปัง
  • สารทำความสะอาดต่าง ๆ (detergent) น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก เป็นตัวกระทำอิมัลชันทุกชนิด เพื่อทำความสะอาดคราบไขมันได้
  • เอนไซม์และสารโปรตีนชนิดอื่น ๆ ในร่างกายเป็นตัวกระทำอิมัลชันเช่นกัน

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้