เบส (เคมี)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เบส ตามคำจำกัดความของอาร์รีเนียส (Svante Arrhenius) คือ สารประกอบเคมีที่ดูดไฮโดรเนียมไอออน เมื่อละลายในน้ำ (ผู้รับโปรตอน) เบสที่ละลายในน้ำเรียกว่า อัลคาไล ในที่ที่สิ่งแวดล้อมเป็นน้ำ ไฮดรอกไซด์ไอออนจะถูกให้ เบสและกรดถูกมองว่าอยู่ตรงข้ามกันเพราะว่าผลของกรดคือการเพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในน้ำ, ในขณะที่เบสลดความเข้มข้น เบส อาร์รีเนียสเมื่อละลายน้ำสารละลายของมันจะมี pH มากกว่า 7 เสมอ กรดเมื่อผสมกับเบสจะสะเทิน
มี คำจำกัดความ กรด-เบส ทั่วไปและซับซ้อนอีกมากมาย
เบส และ pH
แก้pH ของน้ำไม่บริสุทธิ์จะวัดกันที่123 ความเป็นกรด ของมัน ในน้ำบริสุทธิ์ ประมาณ 1 ใน 10 ล้านโมเลกุล จะแตกตัวไปเป็น ไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) และ ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH−) , ตามสมการข้างล่างนี้
ความเข้มข้น (มีหน่วยเป็น โมล/ลิตร) ของไอออน ถูกแสดงเป็น [H3O+] และ [OH−]; สิ่งที่ได้คือ ค่าคงที่การแยกสลาย (dissociation constant) ของน้ำ และ มีค่าเท่ากับ 10−14 mole2/l2 ค่า pH ถูกกำหนดเป็น −log [H3O+]; ดังนั้นน้ำบริสุทธิ์จึงมีค่า pH เท่ากับ 7 (ตัวเลขเหล่านี้จะมีค่าถูกต้องที่สุดที่อุณหภูมิ 23 °C และจะแตกต่างกันเล็กน้อยที่อุณหภูมิอื่น)
เบสรับ (กำจัด) ไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) จากสารละลาย หรือ ให้ ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) แก่สารละลาย การกระทำทั้งสองนี้จะลดความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนและเพิ่มค่า pH ในทางตรงกันข้ามกรดจะให้ H3O+ ไออออนแก่สารละลาย หรือรับ OH−, ผลคือทำให้ pH ลดลง
ค่า pH ของสารละลายสามารถคำนวณได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ถ้า 1 โมล ของ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (40 ก.) ละลายในน้ำ 1 ลิตร ความเข้มข้นของ ไฮดรอกไซด์ไอออน จะเป็น [OH−] = 1 โมล/l. เพราะฉะนั้น [H+] = 10−14 โมล/l, และ pH = −log 10−14 = 14. ^^
ลักษณะเฉพาะของเบส
แก้เบสมีความหนืดมากกว่าน้ำเล็กน้อย มีรสขม คล้ายสบู่เมื่อสัมผัส ทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือ
การทำกรดให้เป็นด่าง
แก้เมื่อละลายในน้ำ เบส โซเดียมไฮดรอกไซด์จะแตกตัวเป็น ไฮดรอกไซด์ และ โซเดียมไอออน:
และคล้ายกัน ในน้ำ ไฮโดรเจนคลอไรด์ จะแตกตัวเป็น ไฮโดรเนียม และ คลอไรด์ไอออน:
เมื่อนำสารละลายทั้งสองมาผสมกัน H3O+ และ OH− ไอออน จะรวมกันเกิดเป็นโมเลกุลของน้ำ:
ถ้าจำนวนของ NaOH และ HCl ละลายเท่ากัน (วัดเป็นโมลไม่ใช่กรัม) ด่างและกรดจะทำปฏิกิริยากันพอดีแล้วเกิดเป็น NaCl (เกลือแกง) ละลายอยู่ในสารละลายนั้น
ความเป็นด่างของ นอน-ไฮดรอกไซด์
แก้ทั้ง โซเดียมคาร์บอเนต และ แอมโมเนีย เป็นเบส แม้ว่าสารประกอบทั้งสองจะไม่มี หมู่ OH− ก็ตาม อันนี้เป็นเพราะว่าสารประกอบทั้งสองรับ H+ เมื่อละลายน้ำ:
เบสที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเฮเตอโรเจนัส (Bases as heterogeneous catalysts)
แก้สารประกอบด่างสามารถใช้เป็น ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ ไม่ละลายน้ำแบบเฮเตอโรเจนัส ในปฏิกิริยาเคมี ได้ ตัวอย่างคือ โลหะออกไซด์ เช่น
- แมกนีเซียมออกไซด์ (magnesium oxide)
- แคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide)
- แบเรียมออกไซด์ (barium oxide)
- โพแทสเซียมฟลูออไรด์ (potassium fluoride) บน อะลูมินา (alumina)
- ซีโอไลต์ (zeolite)
โลหะทรานซิชัน ใช้ทำตัวเร่งปฏิกิริยาได้ดี หลายตัวทำให้เกิดสารประกอบเบส ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นด่างใช้ในการเร่งปฏิกิริยา ไฮโดรจีเนชัน โดยการเคลื่อนย้าย พันธะคู่, เมียร์วีอิน-พอนน์ดอร์ฟ-เวอร์เลย์ รีดักชัน (Meerwein-Ponndorf-Verlay reduction) , ปฏิกิริยาไมเคิล (Michael reaction) , และปฏิกิริยาอื่น ๆ อีกมากมาย