ยมหิน
ยมหิน เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานเพื่อปลูกเป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นยมหินมีความสูง 15-25 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาลถึงน้ำตาลดำ เพื่อลำต้นมีอายุเพิ่มขึ้น เปลือกในสีแดงออกน้ำตาลชมพู แก่นไม้มีสีเหลืองเข้มถึงน้ำตาลแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Chukrasia velutina Wight & Arn.
ยมหิน | |
---|---|
ดอก ใบ และเมล็ดของยมหิน | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | เงาะ Sapindales |
วงศ์: | กระท้อน Meliaceae |
วงศ์ย่อย: | Cedreloideae Cedreloideae A.Juss. |
สกุล: | Chukrasia Chukrasia A.Juss. |
สปีชีส์: | Chukrasia tabularis |
ชื่อทวินาม | |
Chukrasia tabularis A.Juss. | |
ชื่อพ้อง | |
|
เป็นพืชในวงศ์ Meliaceae ชื่อสามัญ Almond-wood, Chickrassy Chittagong-wood.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้จะเป็นแบบขนนกปลายคี่ ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ใบแก่จะมีรูปร่างใบแบบรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ฐานใบกลมหรือมน ปลายใบแหลม ผลของต้นยมหิน เป็นแบบผลแห้งมีเปลือกแข็งสีน้ำตาลมีรูปทรงแบบไข่ ขนากยาวประมาณ 2.5-50 เซนติเมตร เมล็ดของต้นยมหิน มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาล มีความยาวเป็นสองเท่าของความกว้าง ในแต่ละช่วงของผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 60-100 เมล็ด
การใช้ประโยชน์
แก้เป็นไม้ที่เหมาะสำหรับงานที่ใช้ในที่ร่ม สามารถนำไปแปรรูปเป็นสินค้าได้ เช่น ทำเครื่องเรือน, ก่อสร้างบ้านเรือน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Barstow, M. (2018). "Chukrasia tabularis". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T32651A68080787. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-1.RLTS.T32651A68080787.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- ↑ "Chukrasia tabularis A.Juss. — the Plant List".
แแหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Chukrasia tabularis A. Juss. - MELIACEAE เก็บถาวร 2021-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, biotik.org