แม่น้ำกระบุรี หรืออีกชื่อหนึ่งของคนในท้องถิ่นว่า แม่น้ำปากจั่น ภาษาพม่าเรียก แม่น้ำจัน (พม่า: မြစ်ကြီးနား, BGN/PCGN: myitkyina) เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า มีความยาวตลอดสายประมาณ 60 กิโลเมตร[3][4] บางแห่งว่า 95 กิโลเมตร[1][5] บางแห่งว่า 125 กิโลเมตร[6] มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาตะนาวศรี ไหลผ่านพื้นที่อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง

กระบุรี
ปากจั่น
ปากแม่น้ำกระบุรีที่ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน
ชื่อท้องถิ่นမြစ်ကြီးနား  (พม่า)
ที่ตั้ง
ประเทศประเทศไทย ประเทศพม่า
จังหวัดระนอง ตะนาวศรี
เมืองกระบุรี มะลิวัลย์ ละอุ่น เกาะสอง เมืองระนอง
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำเขาน้ำตุ่นและเขาจอมแห[1]
 • ตำแหน่งตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
ปากน้ำทะเลอันดามัน
 • ตำแหน่ง
ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
 • ระดับความสูง
25 กิโลเมตร (16 ไมล์)
ความยาว60 กิโลเมตร (37 ไมล์)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำปากคลองกะเปอร์ - อุทยานแห่งชาติแหลมสน - ปากแม่น้ำกระบุรี
ขึ้นเมื่อ14 สิงหาคม พ.ศ. 2545
เลขอ้างอิง1183[2]
แม่น้ำกระบุรี

แม่น้ำสายนี้มีลักษณะพิเศษทางภูมิประเทศที่เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า ชะวากทะเล หมายถึงบริเวณปากแม่น้ำมีระยะห่างระหว่างฝั่งทั้งสองค่อย ๆ ขยายกว้างออกไปจนเป็นอ่าว อันเกิดจากแผ่นดินมีการยุบตัวลง มีอิทธิพลน้ำเค็มจากทะเลเข้าไปได้ สองฝั่งแม่น้ำจึงมีสภาพนิเวศแบบป่าชายเลนไปตลอดจนถึงเขตอำเภอละอุ่น บริเวณปากคลองละอุ่นจึงเริ่มเป็นบริเวณที่แม่น้ำมีความกว้างเป็นปรกติ โดยมีความกว้างสุด 6 กิโลเมตร[4] ก่อนออกสู่ทะเลนั้นก็มีลำน้ำสาขาไหลออกสู่แม่น้ำกระบุรี คือ คลองบางหมี คลองขี้นาค คลองลำเลียง คลองบางสองรา คลองบางใหญ่เหนือ คลองบางใหญ่ คลองละอุ่น คลองจิก คลองหลุมถ่าน คลองเส็ตกวด และคลองหินช้าง[7]

ประชาชนทั้งสองฝั่งแต่เดิมเป็นคนพื้นเมืองปักษ์ใต้ หมู่บ้านที่อยู่ตรงข้ามกับอำเภอกระบุรี (เมืองตระในอดีต) คือหมู่บ้านหมาราง หมู่บ้านตลิ่งชัน ขึ้นกับเมืองมะลิวัลย์ ซึ่งแต่เดิมเป็นดินแดนของราชอาณาจักรสยาม ได้เสียให้แก่อังกฤษไปในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อมกับเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี แม่น้ำสายนี้ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี[3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "จังหวัดระนอง". หอมรดกไทย. กระทรวงกลาโหม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2014.
  2. "Kaper Estuary - Laemson Marine National Park - Kraburi Estuary". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2019.
  3. 3.0 3.1 "อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี". สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2014.
  4. 4.0 4.1 "อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี". สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2023.
  5. "จังหวัดระนอง". วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2014.
  6. "แม่น้ำกระบุรี". ท่องเที่ยวทั่วไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2014.
  7. "อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี". Thai Forest Booking. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2014.

10°02′N 98°36′E / 10.033°N 98.600°E / 10.033; 98.600