อำเภอเมืองระนอง
เมืองระนอง เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ และการคมนาคมของจังหวัดระนอง มีพื้นที่ใน 1 เขตสงวนชีวมณฑลโลกและ 4 อุทยานแห่งชาติ คือพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง[1] อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว[2][3] อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี[4] อุทยานแห่งชาติแหลมสน[5]
อำเภอเมืองระนอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Ranong |
อนุสาวรีย์พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) อยู่บนถนนเพิ่มผล ด้านหน้าเทศบาลเมืองระนอง ตำบลเขานิเวศน์ โดยได้นำรูปปั้นท่านมาประดิษฐานเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี เจ้าเมืองระนองผู้ทำคุณประโยชน์ในด้าน การทำเหมืองแร่และอากรดีบุกแก่บ้านเมืองและท้องถิ่น | |
คำขวัญ: แหล่งท่องเที่ยวมากมี ไมตรีมากล้น ทุกคนปลอดภัย | |
แผนที่จังหวัดระนอง เน้นอำเภอเมืองระนอง | |
พิกัด: 9°58′2″N 98°38′2″E / 9.96722°N 98.63389°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ระนอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 713.7 ตร.กม. (275.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 94,706 คน |
• ความหนาแน่น | 132.70 คน/ตร.กม. (343.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 85000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8501 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองระนอง เลขที่ 300 หมู่ที่ 1 ถนนเพชรเกษม ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเมืองระนองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอละอุ่น
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพะโต๊ะ (จังหวัดชุมพร)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกะเปอร์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามันและแม่น้ำกระบุรี ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำคือภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า)
ประวัติ
แก้ระนอง หรือเมืองแร่นอง เดิมเป็นหัวเมืองเล็ก ๆ มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพรมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เมือง คือ เมืองระนองและเมืองตระ ซึ่งอยู่ในการปกครองเมืองชุมพร เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง เรียกชื่อตามนามเมืองว่า “หลวงระนอง” ครั้นต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวจีนฮกเกี้ยนชื่อ “ คอซู้เจียง ” ได้ยื่นขอประมูลอากรดีบุกในเขตเมืองระนองและเมืองตระ[6] พระบาทสมเด็จหลวงรัตนเศรษฐี ดำรงตำแหน่งนายอากรเมืองตระและเมืองระนอง
ตำแหน่งเจ้าเมืองระนองว่างลงในปี พ.ศ. 2397 เนื่องจากหลวงระนองป่วยถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระรัตนเศรษฐี เป็นเจ้าเมืองระนอง เมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและรัฐบาลอังกฤษได้จัดการปกครองหัวเมืองที่ได้ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าเมืองระนองและเมืองตระ เป็นเมืองขึ้นอยู่ในเมืองชุมพรจะรักษาราชการ ทางชายแดนไม่สะดวก จึงโปรดฯ ให้ยกเมืองตระและเมืองระนอง เป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง เมื่อ พ.ศ. 2405 และในปี พ.ศ. 2420 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ระนองมีฐานะเป็นหัวเมืองอิสระและต่อมาได้ยกฐานะ เป็นจังหวัดและได้มีการยุบเมืองตระเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอกระบุรี โดยให้ขึ้นกับจังหวัดระนองตั้งแต่นั้นมาจังหวัดระนองในอดีตมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองดีบุก เมืองชายแดน[7]
- วันที่ 14 มีนาคม 2479 จัดตั้งเทศบาลเมืองระนอง ในท้องที่ตำบลเขานิเวศน์[8]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเขานิเวศน์ จังหวัดระนอง เป็น อำเภอเมืองระนอง[9]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2486 เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง กับอำเภอกระบุรี โดยโอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางแก้ว กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง ไปขึ้นกับตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี[10]
- วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกระบุรี กับกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง โดยโอนพื้นที่บ้านเขาฝาชี ของตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลบางแก้ว กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง[11]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบางนอน แยกออกจากตำบลปากน้ำ ตั้งตำบลหงาว แยกออกจากตำบลบางริ้น ตั้งตำบลละอุ่นเหนือ แยกออกจากตำบลละอุ่น ตั้งตำบลบางพระเหนือ แยกออกจากตำบลบางพระ ตั้งตำบลบางหิน แยกออกจากตำบลกะเปอร์ ตั้งตำบลเชี่ยวเหลียง แยกออกจากตำบลบ้านนา และตั้งตำบลนาคา แยกออกจากตำบลกำพวน[12]
- วันที่ 28 กันยายน 2491 โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลปากน้ำ ไปขึ้นกับตำบลหงาว[13]
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2494 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดระนอง กับจังหวัดชุมพร โดยโอนพื้นที่ตำบลเขาทะลุ กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ไปขึ้นกับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร[14]
- วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกะเปอร์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลกะเปอร์[15]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลละอุ่น ในท้องที่บางส่วนของตำบลละอุ่น[16]
- วันที่ 28 กรกฎาคม 2502 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองระนอง กับกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง โดยโอนพื้นที่ตำบลทรายแดง กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง มาขึ้นกับ อำเภอเมืองระนอง[17]
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2507 ยกฐานะกิ่งอำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง เป็น อำเภอกะเปอร์[18]
- วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง เป็น อำเภอละอุ่น[19]
- วันที่ 22 มกราคม 2517 จัดตั้งสุขาภิบาลหงาว ในท้องที่บางส่วนของตำบลหงาว[20]
- วันที่ 15 มิถุนายน 2519 จัดตั้งสุขาภิบาลปากน้ำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากน้ำ[21]
- วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลเกาะพยาม แยกออกจากตำบลปากน้ำ[22]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลหงาว และสุขาภิบาลปากน้ำ เป็นเทศบาลตำบลหงาว และเทศบาลตำบลปากน้ำ ตามลำดับ[23]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเมืองระนองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 39 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[24] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | เขานิเวศน์[9] | Khao Niwet | –
|
18,609
|
|
2. | ราชกรูด | Ratchakrut | 8
|
9,691
| |
3. | หงาว | Ngao | 5
|
9,413
| |
4. | บางริ้น | Bang Rin | 6
|
23,054
| |
5. | ปากน้ำ | Pak Nam | 6
|
10,450
| |
6. | บางนอน | Bang Non | 4
|
14,418
| |
7. | หาดส้มแป้น | Hat Som Paen | 3
|
3,197
| |
8. | ทรายแดง | Sai Daeng | 4
|
3,941
| |
9. | เกาะพยาม | Ko Phayam | 2
|
1,255
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเมืองระนองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองระนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขานิเวศน์ทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองบางริ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางริ้นทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหงาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหงาว เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2
- เทศบาลตำบลปากน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำ เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 5
- เทศบาลตำบลราชกรูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราชกรูดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปากน้ำท่าเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำ เฉพาะหมู่ที่ 3–4 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 5
- เทศบาลตำบลบางนอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางนอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหงาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหงาว เฉพาะหมู่ที่ 3–5 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–2
- องค์การบริหารส่วนตำบลหาดส้มแป้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดส้มแป้นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทรายแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรายแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพยามทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองหัวเขียว และป่าคลองเกาะสุย ป่าเกาะช้าง ป่าคลองหินกอง และป่าคลองม่วงกลวง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลปากน้ำ ตำบลหงาว ตำบลเกาะพยาม และตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (96 ก): 20–22. วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552
- ↑ "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑,๒๐๐ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ [กำหนดให้ป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ในท้องที่ตำบลบางแก้ว ตำบลละอุ่นใต้ ตำบลบางพระใต้ ตำบลละอุ่นเหนือ ตำบลบางพระเหนือ อำเภอละอุ่น ตำบลทรายแดง ตำบลบางนอน ตำบลหาดส้มแป้น ตำบลบางริ้น ตำบลหงาว ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง และตำบลกะเปอร์ ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นป่าสงวนแห่งชาติ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (58 ก): (ฉบับพิเศษ) 11-12. วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2530
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าละอุ่น ป่าราชกรูด และป่าเขาน้ำตกหงาว ในท้องที่ตำบลบางแก้ว ตำบลละอุ่นใต้ ตำบลละอุ่นเหนือ ตำบลบางพระเหนือ ตำบลในวงเหนือ ตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น ตำบลหาดส้มแป้น ตำบลบางริ้น ตำบลหงาว ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และ ป่าทุ่งระยะ ป่านาสัก ป่าเขาตังอา ป่าคลองโชน ป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง ในท้องที่ตำบลช่องไม้แก้ว ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี ตำบลนาขา ตำบลวังตะกอ ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน และตำบลปังหวาน ตำบลพระรักษ์ ตำบลพะโต๊ะ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (44 ก): 13–15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-06. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินลำน้ำกระบุรี ป่าคลองลำเลียง - ละอุ่น ป่าคลองเส็ตกวด ป่าเขาหินช้าง ป่าเขาสามแหลม ป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ในท้องที่ตำบลน้ำจืด ตำบลลำเลียง ตำบลบางใหญ่ อำเภอกระบุรี ตำบลบางแก้ว ตำบลบางพระเหนือ อำเภอละอุ่น และตำบลทรายแดง ตำบลปากน้ำ ตำบลบางนอน ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (29 ก): 66–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-07-06. วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2542
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหาดแหลมสน และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง ตำบลม่วงกลวง ตำบลกะเปอร์ ตำบลบางหิน ตำบลนาคา ตำบลกำพ่วน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (135 ก): (ฉบับพิเศษ) 24-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-06. วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ แผนกกรมราชโลหกิจ เรื่อง จีนเล่าเอียวตี เวนคืนประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุก ตำบลหาดส้มแป้น แขวงเมืองระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 2451–2452. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2453
- ↑ [1][ลิงก์เสีย]ประวัติระนอง
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ก): 1309–1314. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479
- ↑ 9.0 9.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 658–666. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-05-15. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองระนอง และอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (39 ง): 2348–2349. วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2486
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-22. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (56 ง): 2944. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพร พ.ศ. ๒๔๙๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (12 ก): 201–202. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494
- ↑ [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกะเปอร์ กิ่งอำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลละอุ่น กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 63-64. วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตท้องที่กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (74 ง): 1773. วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2502
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (49 ก): 565–569. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-05-15. วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (75 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2020-05-15. วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (9 ง): 183–184. วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (84 ง): 1445–1446. วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (166 ง): (ฉบับพิเศษ) 108-109. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2529
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-15 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อำเภอเมืองระนอง