เขตสงวนชีวมณฑล / พื้นที่สงวนชีวมณฑล (อังกฤษ: biosphere reserve) พื้นที่สงวนชีวมณฑลนั้นหมายถึงพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นระบบนเวศบนบก ทะเล ชายฝั่ง หรือใด ๆ รวมกัน ที่ได้รับความสำคัญภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑลของยูเนสโก (Man and the Biosphere (MAB) Programme) ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรอบบัญญัติเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก (Statutory Framework of World Network of Biosphere Reserve Network)

พื้นที่สงวนชีวมณฑลมีความสำคัญในฐานะพื้นที่เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นพื้นที่ที่เปิดรับสหวิทยาการเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อรักษาสมดุลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศและระบบสังคม รวมถึงการป้องกันและจัดการความขัดแย้งที่จะเกิดจากการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ พื้นที่สงวนชีวมณฑลเป็นพื้นที่ที่สร้างแนวทางในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตของโลกในขนาดของการจัดการในระดับท้องถิ่น พื้นที่สงวนชีวมณฑลทั่วโลกนั้นประกอบด้วยทั้งระบบนิเวศบนบก ทะเลและชายฝั่ง แต่ละพื้นที่มีการสนับสนุนแนวทางการจัดการที่ประนีประนอมทั้งในด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน

พื้นที่สงวนชีวมณฑลจะต้องเสนอโดยรัฐสมาชิกผ่านกระบวนการพิจารณาที่กำหนดไว้ พื้นที่สงวนชีวมณฑลที่จัดตั้งนั้นยังคงอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐที่พื้นที่สงวนชีวมณฑลนั้น ๆ ตั้งอยู่ การประกาศจัดตั้งพื้นที่สงวนชีวมณฑลดำเนินการโดยโครงการมนุษย์และชีวมณฑลของยูเนสโก โดยเลขาธิการยูเนสโกเป็นผู้ลงนามประกาศจัดตั้งตามมติของคณะกรรมการสภาพประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยโครงการด้านมนุษย์และชีวมณฑล (MAB International Coordinating Council: MAB ICC) พื้นที่ที่ประกาศมีสถานะพื้นที่ที่ได้รับความสำคัญในระดับนานาชาติ

หน้าที่ของพื้นที่สงวนชีวมณฑล

แก้
  • การอนุรักษ์ : ป้องกันรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ และภูมิทัศน์ พื้นที่สงวนชีวมณฑลให้ความสำคัญกับการดูแลพลวัตรทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมในพื้นที่
  • การพัฒนา : การสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในเชิงสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
  • โลจิสติกส์ขององค์ความรู้ : พื้นที่สงวนชีวมณฑลสนับสนุนการศึกษา วิจัย ฝึกอบรม การติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ในการจัดการประเด็นปัญหาต่างๆที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของแต่ละท้องถิ่น

แนวทางการจัดการ

แก้

เพื่อตอบสนองต่อหน้าที่ของพื้นที่สงวนชีวมณฑล การแบ่งเขตการจัดการได้ถูกนำมาใช้โดยคำนึงถึงรูปแบบของภูมิทัศน์ การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ และความเข้มข้นของกิจกรรมมนุษย์ เพื่อเป็นแนวทางในการสนับสนุนนโยบายของท้องถิ่นให้เป็นไปตามแนวทางที่สอดคล้องกับการสร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติกับกิจกรรมของมนุษย์

  • พื้นที่แกนกลาง มักเป็นส่่วนหนึ่งของพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย เป็นพื้นที่ที่สงวนธรรมชาติไว้ให้กระบวนการและพลวัตรทางธรรมชาติต่าง ๆ ดำเนินไปโดยตัวของมันเอง โดยไม่มีการแทรกแซงโดยมนุษย์ เว้นแต่การติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ
  • เขตกันชน อยู่ล้อมรอบพื้นที่แกนกลางไว้เพื่อลดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่จะมีผลต่อธรรมชาติในแกนกลาง พื้นที่เป็นพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์หรือใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิทัศน์อย่างยั่งยืนด้วยกิจกรรมที่มีผลกระทบต่ำ
  • พื้นที่เปลี่ยนผ่าน เป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมมนุษย์เข้มข้น แต่ทั้งนี้ จะต้องได้รับการส่งเสริมให้เป็นตัวอย่างของการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ัยั่งยืน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้