จังหวัดชุมพร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้
จังหวัดชุมพร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Chumphon |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง : วัดพระบรมธาตุสวี พระตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร หาดทรายรี | |
คำขวัญ: ประตูสู่ภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดชุมพรเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ว่าง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 6,010.849 ตร.กม. (2,320.802 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 37 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 508,857 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 52 |
• ความหนาแน่น | 84.65 คน/ตร.กม. (219.2 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 55 |
รหัส ISO 3166 | TH-86 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | มะเดื่ออุทุมพร |
• ดอกไม้ | พุทธรักษา |
• สัตว์น้ำ | ปลาทู |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร หมู่ที่ 1 ถนนไตรรัตน์ ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000 |
• โทรศัพท์ | 0 7751 1551 |
เว็บไซต์ | http://www.chumphon.go.th/ |
ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี
และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา
เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว
ประวัติเมืองชุมพร
แก้คำว่า ชุมพร มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเปลี่ยนเป็น ชุมพร อีกประการหนึ่ง ในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหารในสถานที่ชุมนุม เพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพรหรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน
แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของ ตราประจำจังหวัดชุมพร
สมัยกรุงสุโขทัย
แก้เมืองชุมพรเป็นเมืองมีเจ้าเมืองปกครองมายาวนาน ในสมัยสุโขทัยนั้น เป็นเมืองขึ้นต่ออาณาจักรนครศรีธรรมราช ในฐานะเมืองอาณานิคม และเป็นเมืองหน้าด่าน ฝ่ายเหนือ หรือเมืองปีมะแม ถือตราแพะ เป็น 1 ในเมือง 12 เมือง หรือเรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร ของอาณาจักรนครศรีธรรมราช
สมัยกรุงศรีอยุธยา
แก้เมืองชุมพรในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้แผ่ขยายอาณานิคมลงทางใต้ ชาวจาม มาอยู่ที่เมืองชุมพร เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถ การค้า การเดินเรือ และการรบ จะเห็นได้จากทหาร อาสาจาม เป็นทหารชั้นดี ที่รับใช้ราชสำนักตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา มีความสามารถการรบ และการเดินเรือ อย่างเชี่ยวชาญ ตั้งแต่นั้นจนทำให้เมืองชุมพร ต้องขึ้นต่ออาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองอาณานิคม และเป็นเมืองหน้าด่าน ฝ่ายใต้ และเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญ ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมืองชุมพรจึงมีบทบาทเป็นเมืองหน้าด่าน มาแต่โบราณในอาณาจักรนครศรีธรรมราช และอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ทำให้ไม่มีการก่อสร้างวัตถุถาวรได้ ดังนั้นชาวชุมพรจึงเป็นลูกหลานนักรบที่แท้จริง และควรให้สมญานามบรรพบุรุษว่า “วีรบุรุษนักรบแห่งคอคอดกระ ดินแดนสองฝั่งทะเล"[ต้องการอ้างอิง] จากการทำศึกสงครามอย่างต่อเนื่องในแต่ละยุคแต่ละสมัย
สมัยกรุงธนบุรี
แก้เมืองชุมพรในสมัยกรุงธนบุรีไม่ค่อยมีบทบาทมากนักเพราะอยู่ในภาวะสงครามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งรัชกาล และสืบเนื่องจาก พระชุมพร (พวย) นำกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ เมืองชุมพร กำลังพลประมาณ 800 คน ได้สูญเสียจากการรบในช่วงกรุงแตกที่ ค่ายบางกุ้ง จากการส่งกำลังเข้ารักษาพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2305-2308 และเข้าร่วมรบเพื่อตีเมืองนครศรีธรรมราช จึงทำให้เกิดการล้าของชาวเมืองชุมพร
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
แก้ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองชุมพรเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญ จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวจามยังมีบทบาทในดินแดนแทบนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด และเมื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สามารถเดินเรือได้เอง ชาวจามก็หมดบทบาทลงในเวลาต่อมา
อาณาเขตการปกครอง
แก้เจ้าเมืองชุมพร ปกครองอาณาเขตเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี มีเมืองจัตวาเป็นเมืองขึ้น 8 เมือง ดังนี้
- เมืองปะทิว (อำเภอปะทิว)
- เมืองท่าแซะ (อำเภอท่าแซะ) เมืองหน้าด่านเมืองชุมพร ด่านทัพต้นไทร (เนิน 491) หรือบ้านต้นไทร[3]
- เมืองตะโก (อำเภอทุ่งตะโก)
- เมืองหลังสวน (อำเภอหลังสวน อำเภอละแม อำเภอท่าชนะ)
- เมืองตระ (อำเภอกระบุรี)
- เมืองระนอง (จังหวัดระนอง)
- เมืองมะลิวัลย์ (จังหวัดเกาะสอง) อยู่ในประเทศพม่า
- เมืองกำเนิดนพคุณ (อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก แหล่งขุดทองคำบางสะพาน)
เจ้าเมืองชุมพร เป็นเชื้อสายจาม สืบเชื้อสายหลายพันปี ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึง สมัยกรุงธนบุรี มีบรรดาศักดิ์ นามว่า "ออกญาเคาะงะ" เป็นภาษาจาม หรือ พระชุมพร ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนบรรดาศักดิ์ นามว่า พระยาชุมพร และ พระยาเพชรกำแหงสงคราม ตามด้วยชื่อ และต่อได้ยกเลิกให้ใช้บรรดาศักดิ์เดิม
รายชื่ออดีตเจ้าเมือง
แก้- ออกญาเคาะงะ ทราธิบดีศรีสุรัตนวลุมหนัก ก่อน พ.ศ. 1997
- พระชุมพร (พวย) พ.ศ.ไม่ปรากฏ- 2310 (เสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒)
- พระชุมพร (มั่น) พ.ศ. 2312-2312
- พระยาแก้วโกรพ พ.ศ. 2336 เข้าร่วมกองเรือไปตีเมืองมะริด
- พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ถิ่น) น่าจะเป็นคนเดียวกับพระยาแก้วโกรพ
- พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย) ก่อน พ.ศ. 2367-2367
- พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ยม) พ.ศ. 2368-2368
- พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ครุฑ) พ.ศ. 2369-2404 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นเจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ) พ.ศ. 2404 ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมเวียง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
- พระยาเพชรกำแหงสงคราม (กล่อม) พ.ศ. 2404-2411 ถูกเรียกกลับกรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2411 เพื่อลงนามปันเขตแดนไทย-พม่า ให้ขึ้นบังคับกับอังกฤษ ลงนามวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411
- พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ยัง ซุ่ยยัง) บุตรพระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย) พ.ศ. 2411-2437
- พระยารามฤทธิรงค์ (สิน) พ.ศ. 2437-2439 (รักษาราชการ)
- พระยาชุมพร (มะลิ ยุกตนันท์) พ.ศ. 2439-2444
เจ้าเมืองชุมพร มักเรียก พระยาชุมพร โดยไม่เรียกบรรดาศักดิ์ใหม่ เช่น พระยาเพชรกำแหงสงคราม หรือ เลื่อนบรรดาศักดิ์สูงกว่าแต่ยังเรียก พระยาชุมพร เหมือนเดิม ต่อจากนั้นไม่ได้ใช้บรรดาศักดิ์ พระยาเพชรกำแหงสงคราม แต่ใช้ยศหรือบรรดาศักดิ์ ที่ได้รับพระราชทานมาแต่เดิม มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2445 เป็นต้นมา
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด
แก้รายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระนาม/ชื่อ | เข้ารับตำแหน่ง | สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง | |||||||
1. พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) | พ.ศ. 2439 (ร.ศ.115) | พ.ศ. 2439 (ร.ศ.115) | |||||||
2. หลวงสวัสดิ์บุรีรมย์ | พ.ศ. 2440 | พ.ศ. 2441 | |||||||
3. พระยาเพชรกำแหงสงคราม (มลิ ยุกตนันท์) | พ.ศ. 2442 | พ.ศ. 2448 | |||||||
4. พระยาสุราฤทธิ์ภักดี | 1 เมษายน 2449 | 30 มิถุนายน 2451 | |||||||
5. พระยาสำเริงนฤปการ | 1 มกราคม 2451 | 30 มิถุนายน 2452 | |||||||
6. พระยาวิเศษไชยชาญ (ชอุ่ม อมัติรัตน์) | 1 มกราคม 2452 | 30 มิถุนายน 2455 | |||||||
7. พระยาราชพินิจจัย (ชุบ โอสถานนท์) | 1 เมษายน 2456 | 30 ตุลาคม 2458 | |||||||
8. พระเทพราชธานี | 1 เมษายน 2458 | 30 มีนาคม 2459 | |||||||
9. พระชุมพรบุรีศรีสมุทร์เขต (สวาสดิ์ ภัทรนาวิก) | 1 เมษายน 2460 | 30 กันยายน 2464 | |||||||
10. พระยาพิพิธอำพลวิมลภักดี (ประเดิม อังศุสิงห์) | 31 ตุลาคม 2464 | 31 มกราคม 2471 | |||||||
11. พระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) | 1 พฤษภาคม 2471 | 31 มกราคม 2473 | |||||||
12. พระระนองบุรีศรีสมุทรเขต (คอยู่โง้ย ณ ระนอง) | 1 มิถุนายน 2473 | 31 พฤศจิกายน 2476 | |||||||
13. พ.ต.อ.พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุนนาค) | 30 มีนาคม 2475 | พฤศจิกายน 2476 | |||||||
14. พระยาอมรฤทธิธำรง (พร้อม ณ ถลาง) | 1 มีนาคม 2476 | 9 กันยายน 2478 | |||||||
15. น.ท.หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์) ร.น. | 1 ธันวาคม 2478 | 1 เมษายน 2481 | |||||||
16. หลวงจรูญประสาสน์ (จรูญ คชภูมิ) | 1 พฤษภาคม 2481 | 31 ธันวาคม 2485 | |||||||
17. ขุนบริรักษ์บทวสัญช์ (ชุ่ม บริรักษ์บทวลัญช์) | 1 มกราคม 2486 | 31 ตุลาคม 2486 | |||||||
18. นายวิเศษ สรรค์ประศาสน์ | 1 พฤศจิกายน 2486 | 30 มีนาคม 2487 | |||||||
19. นายเกษม อุทยานิน | 3 กรกฎาคม 2487 | 31 กรกฎาคม 2487 | |||||||
20. นายเนื่อง ปาณิกบุตร | 1 มกราคม 2488 | 30 มิถุนายน 2488 | |||||||
21. นายชอบ ชัยประภา | 1 กรกฎาคม 2488 | 20 มิถุนายน 2489 | |||||||
22. พระนิกรบดี (จอน นิกรบดี) | 12 กันยายน 2489 | 15 มกราคม 2490 | |||||||
23. นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์ | 18 มกราคม 2490 | 2 ธันวาคม 2492 | |||||||
24. ขุนรัตนวรพงศ์ (เคลื่อน รัตนวร) | 7 ธันวาคม 2492 | 17 กรกฎาคม 2493 | |||||||
25. นายแสวง ทิมทอง | 21 กรกฎาคม 2495 | 17 กรกฎาคม 2500 | |||||||
26. นายส่ง มีมุทา | 12 กรกฎาคม 2500 | 30 กันยายน 2511 | |||||||
27. นายประพัฒน์ บุญช่วย | 1 ตุลาคม 2511 | 30 กันยายน 2514 | |||||||
28. นายชวน พรพงศ์ | 1 ตุลาคม 2514 | 30 กันยายน 2515 | |||||||
29. นายลิขิต รัตนสังข์ | 1 ตุลาคม 2515 | 30 กันยายน 2516 | |||||||
30. นายประชุม บุญประคอง | 1 ตุลาคม 2516 | 12 กุมภาพันธ์ 2518 | |||||||
31. น.อ.จำลอง ประเสริฐยิ่ง ร.น. | 13 กุมภาพันธ์ 2518 | 30 กันยายน 2519 | |||||||
32. นายอรุณ รุจิกัณหะ | 1 ตุลาคม 2519 | 31 มกราคม 2522 | |||||||
33. นายบุญนาค สายสว่าง | 1 กุมภาพันธ์ 2522 | 30 กันยายน 2523 | |||||||
34. นายเติมศักดิ์ สมันตรัฐ | 1 ตุลาคม 2523 | 24 เมษายน 2524 | |||||||
35. นายพจน์ อินทวิเชียร | 1 มิถุนายน 2524 | 30 กันยายน 2529 | |||||||
36. ร.ต.เบญจกุล มะกะระธัช | 1 ตุลาคม 2529 | 30 กันยายน 2531 | |||||||
37. นายปัญญา ฤกษ์อุไร | 1 ตุลาคม 2531 | 30 กันยายน 2532 | |||||||
38. นายสุชาญ พงษ์เหนือ | 1 ตุลาคม 2532 | 30 กันยายน 2533 | |||||||
39. นายกนก ยะสารวรรณ | 1 ตุลาคม 2533 | 30 กันยายน 2534 | |||||||
40. นายปริญญา นาคฉัตรีย์ | 1 ตุลาคม 2534 | 30 กันยายน 2535 | |||||||
41. นายประยูร พรหมพันธ์ | 1 ตุลาคม 2535 | 30 กันยายน 2537 | |||||||
42. นายประพัฒนพงษ์ บำเพ็ญสิทธ์ | 1 ตุลาคม 2537 | 30 กันยายน 2539 | |||||||
43. นายคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์ | 1 ตุลาคม 2539 | 19 ตุลาคม 2540 | |||||||
44. นายสุรพล กาญจนจิตรา | 20 ตุลาคม 2540 | 30 กันยายน 2542 | |||||||
45. นายศักดิ์ เตชาชาญ | 1 ตุลาคม 2542 | 30 กันยายน 2543 | |||||||
46. ม.ล.ประทีป จรูญโรจน์ | 2 ตุลาคม 2543 | 30 กันยายน 2545 | |||||||
47. นายเมฆินทร์ เมธาวิกูล | 1 ตุลาคม 2545 | 30 กันยายน 2547 | |||||||
48. นายอานนท์ มนัสวานิช | 1 ตุลาคม 2547 | 30 กันยายน 2548 | |||||||
49. นายพินัย อนันตพงศ์ | 1 ตุลาคม 2548 | 13 พฤษภาคม 2550 | |||||||
50. นายสุวัฒน์ ตันประวัติ | 14 พฤษภาคม 2550 | 30 กันยายน 2550 | |||||||
51. นายมานิต วัฒนเสน | 1 ตุลาคม 2550 | 19 ตุลาคม 2551 | |||||||
52. นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ | 20 ตุลาคม 2551 | 9 มิถุนายน 2553 | |||||||
53. นายพินิจ เจริญพานิช | 1 ตุลาคม 2553 | 30 กันยายน 2555 | |||||||
54. นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า | 8 ตุลาคม 2555 | 6 กรกฎาคม 2557 | |||||||
55. นายวงศศิริ พรหมชนะ | 3 พฤศจิกายน 2557 | 30 กันยายน 2558 | |||||||
56. นายสมดี คชายั่งยืน | 1 ตุลาคม 2558 | 30 กันยายน 2559 | |||||||
57. นายณรงค์ พลละเอียด | 1 ตุลาคม 2559 | 1 พฤษภาคม 2561 | |||||||
58. นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ | 29 มิถุนายน 2561 | 30 กันยายน 2563 | |||||||
59. นายธีระ อนันตเสรีวิทยา | 1 ตุลาคม 2563 | 30 กันยายน 2564 | |||||||
60. นายโชตินรินทร์ เกิดสม | 15 ธันวาคม 2564 | 30 กันยายน 2565 | |||||||
61. นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ | 1 ตุลาคม 2565 | 30 กันยายน 2567 |
ภูมิประเทศ
แก้จังหวัดชุมพรนับเป็นประตูสู่ภาคใต้เมื่อลงจากภาคกลาง มีพื้นที่ทางเหนือติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางตะวันออกติดชายฝั่งอ่าวไทย ด้านใต้ติดกับอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และทางตะวันตกติดต่อกับอำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และส่วนหนึ่งติดกับประเทศพม่า
สภาพพื้นที่ทั่วไปมีภูเขาสูง มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำท่าตะเภา ในอำเภอเมืองชุมพร มีความยาว 33 กิโลเมตร แม่น้ำสวี ในอำเภอสวี มีความยาว 50 กิโลเมตร และ แม่น้ำหลังสวน ในอำเภอหลังสวน มีความยาว 100 กิโลเมตร แม่น้ำทุกสายไหลลงสู่อ่าวไทย ในทะเลนอกฝั่งของจังหวัดชุมพร มีเกาะน้อยใหญ่เกือบ 50 เกาะ
ภูมิอากาศ
แก้สภาพภูมิอากาศของจังหวัดชุมพรคล้ายกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ กล่าวคือ มีฤดูฝนมากกว่าฤดูอื่น นั่นคือ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม โดยมีลมมรสุมพัดผ่าน ฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม
การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นระดับอำเภอ จำนวน 8 อำเภอ ระดับตำบล จำนวน 70 ตำบล และระดับหมู่บ้าน จำนวน 674 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่ออำเภอ | อักษรโรมัน | จำนวนตำบล | จำนวนประชากร[4] |
---|---|---|---|---|
1. | เมืองชุมพร | Mueang Chumphon | 17 | 150,167 |
2. | ท่าแซะ | Tha Sae | 10 | 86,524 |
3. | ปะทิว | Pathio | 7 | 47,824 |
4. | หลังสวน | Lang Suan | 13 | 73,855 |
5. | ละแม | Lamae | 4 | 29,611 |
6. | พะโต๊ะ | Phato | 5 | 24,490 |
7. | สวี | Sawi | 11 | 73,215 |
8. | ทุ่งตะโก | Thung Tako | 6 | 25,618 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- หาดทรายรี
- เขามัทรี
- ศาลหลักเมืองชุมพร
- หาดทุ่งวัวแล่น
- เขาดินสอ
- แหลมแท่น
- อ่าวทุ่งซาง
- วัดพระธาตุถ้ำขวัญเมือง
- เขาเจ้าเมือง
- ถ้ำเขาเกรียบ
- อ่าวทุ่งไข่เน่า
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
- น้ำตกเหลวโหลม
- วนอุทยานน้ำตกกะเปาะ
- ศาลเจ้าพระยาชุมพร (พวย) หรือ ศาลเจ้าพ่อพวยดำ เชิงเขาถ้ำขุนกระทิง ค่ายขุนกระทิง
- วัดสุบรรณนิมิตรและ โรงเรียนอนุบาลเมืองชุมพรวัดสุบรรณนิมิตรสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. 2335
- วัดประเดิม
- ดอยตาปัง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
แก้- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพุทธรักษา (Canna indica)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemosa)
- คำขวัญประจำจังหวัด: ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก
- อักษรย่อ: ชพ
การเดินทาง
แก้รถยนต์
แก้จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทาง พุทธมณฑล นครปฐม-เพชรบุรี หรือเส้นทางสาย ธนบุรี-ปากท่อ (หมายเลข 35) แล้วแยกที่อำเภอปากท่อ เข้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงสี่แยกปฐมพร จากนั้นแยกซ้ายเข้าตัวเมืองชุมพร ตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 327 อีกประมาณ 8 กิโลเมตร
อากาศ
แก้รถโดยสารประจำทาง
แก้มีรถโดยสารธรรมดา ของบริษัท ขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ไปชุมพร ทุกวัน สำหรับเที่ยวกลับจากชุมพร เข้ากรุงเทพ ขึ้นรถได้ที่ ถนนศาลาแดง
รถไฟ
แก้- จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถเร็ว ขบวนรถด่วน ขบวนรถด่วนพิเศษ ไปจังหวัดชุมพรทุกวัน
- จากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) มีขบวนธรรมดาไปจังหวัดชุมพรทุกวัน
การคมนาคมภายในจังหวัดชุมพร และไปต่างจังหวัด
แก้- รถโดยสารประจำทาง สาย ชุมพร-สวี-หลังสวน-สุราษฎร์ธานี รถจอดหน้า สำนักงานเทศบาลเมืองชุมพร ถนนปรมินทรมรรคา ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.
- รถทัวร์โดยสารปรับอากาศ สาย ชุมพร-หาดใหญ่ รถจอดที่ ถนนนวมินทร์ร่วมใจ (หลังปั้มน้ำมัน ปตท.)
- รถทัวร์โดยสารปรับอากาศ สาย ชุมพร-ระนอง-ภูเก็ต
- รถแท็กซี่ รถจอดที่คิวแท็กซี่ หน้าการประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดชุมพร
- รถตู้ปรับอากาศประจำทาง - รถจอดที่คิวรถตู้ ชุมพรไนท์พลาซ่า มีบริการเดินรถไปอำเภอหลังสวน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- รถตู้ปรับอากาศประจำทาง - รถจอดที่คิวรถตู้ ถนนนวมินทร์ร่วมใจ มีบริการเดินรถไป จังหวัดนครศรีธรรมราช
- รถตู้ปรับอากาศประจำทาง - รถจอดที่คิวรถตู้ ถนนท่าตะเภา มีบริการเดินรถไป จังหวัดระนอง
- รถตุ๊กตุ๊ก จอดรถบริเวณหน้าโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ บริการภายในเขตเทศบาลเมืองชุมพร
ท่าเรือไปเกาะเต่า
แก้ท่าเรือไปเกาะเต่า และเกาะนางยวนนั้น อยู่ที่จังหวัดชุมพร ไม่ไกลจากตัวเมืองชุมพร
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ
แก้- อำเภอท่าแซะ 24 กิโลเมตร
- อำเภอปะทิว 33 กิโลเมตร
- อำเภอสวี 35 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งตะโก 50 กิโลเมตร
- อำเภอหลังสวน 71 กิโลเมตร
- อำเภอละแม 91 กิโลเมตร
- อำเภอพะโต๊ะ 108 กิโลเมตร
การศึกษา
แก้ระดับอุดมศึกษา
แก้- มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อำเภอปะทิว
- มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร อำเภอเมืองชุมพร
โรงเรียน
แก้ชาวชุมพรที่มีชื่อเสียง
แก้- พระสงฆ์
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตสังฆมนตรี อดีตแม่กองธรรมสนามหลวง อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการามวรวิหาร
- พระธรรมโกศาจารย์ (องอาจ ฐิตธมฺโม) พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๖ เจ้าอาวาสวัดขันเงิน พระอารามหลวง อำเภอหลังสวน
- หลวงพ่อสงฆ์ จนฺทสโร - อดีตเจ้าอาวาสวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
- ขุนนาง
- พระยาชุมพร (พวย) - อดีตเจ้าเมืองชุมพรคนสุดท้ายแห่งราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
- พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) - อดีตเจ้าเมืองชุมพร
- เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) - อดีตอธิบดีกรมพระคลังสวน
- นักแสดง - ศิลปิน - นักร้อง - ผู้กำกับ
- คงกะพัน แสงสุริยะ - นักแสดง พิธีกร และนักดนตรี
- สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ - นักแสดง
- สุทิศา พัฒนุช - นักแสดง ดาราภาพยนตร์
- ชุมพร เทพพิทักษ์ - อดีตนักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์
- ทักษิณ แจ่มผล - อดีตนักแสดง
- เด๋อ ดอกสะเดา - นักแสดงตลกชาวไทย
- นะโม ทองกำเหนิด - นักแสดง ดารา ผู้กำกับ
- ธนดล นิลนพรัตน์ - นักร้องชาวไทย
- แตน อรอุมา - นักร้องชาวไทย
- ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ - นักร้องนำและนักแต่งเพลงของวง หิน เหล็ก ไฟ
- สาริกา กิ่งทอง - นักร้องลูกทุ่งหญิงชื่อดัง
- จูเลี่ยม กิ่งทอง - ศิลปินพื้นบ้าน
- ศศิ สินทวี - นางงาม - มิสเอิร์ธไทยแลนด์ 2014 มิสอินเตอร์เนชั่นแนลไทยแลนด์2015
- แพรววนิต เรืองทอง- นางงาม-Supranational Thailand 2022, รองอันดับ3 Miss Universe Thailand 2020, รองอันดับ1 Miss Thailand World 2018
- ใบตอง จรีรัตน์ เพชรโสม - นางงาม
Miss Earth Thailand 2021 ชาวปะทิว
- อมีนา พินิจ- ดารา นักแสดง พิธีกร
- ข้าราชการ-นักการเมือง
- ปริญญา นาคฉัตรีย์ - อดีตรองปลัด
กระทรวงมหาดไทย,อดีตอธิบดีกรมการปกครอง
- ประมวล กุลมาตย์ - นักการเมืองชาวไทย
- พิเชษฐ์ วิสัยจร - อดีตแม่ทัพภาคที่ 4
- จัตุรนต์ คชสีห์ - นักการเมืองชาวไทย
- ฉัตรชัย พะลัง - นักการเมืองชาวไทย
- ชุมพล จุลใส - นักการเมืองชาวไทย
- วรชัย เหมะ - นักการเมืองชาวไทย
- สุชาติ แก้วนาโพธิ์ - นักการเมืองชาวไทย
- สุวโรช พะลัง - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร
- โสภณ รัตนากร - นักการเมืองชาวไทย
- สุพล จุลใส- นักการเมืองชาวไทย,สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร,อดีตนายกองค์การบริหารจังหวัดชุมพร
- นักกีฬา
- เกียรติชัย ไอซ์เจลลิบาล์ม - นักมวยชาวไทย
- ขวัญใจ 3เคแบตเตอรี่ - นักมวยชาวไทย
- เทอดเกียรติ จันทร์แดง - นักมวยชาวไทย
- เทอดศักดิ์ จันทร์แดง - นักมวยชาวไทย
- ยอดเงิน ต.เฉลิมชัย - นักมวยชาวไทย
- ร้อยเอก หญิง ศานิกุณ ธนสาร - นักยกน้ำหนักชาวไทย
- นักประพันธ์
- บินหลา สันกาลาคีรี - นักประพันธ์รางวัลซีไรต์
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2565.
- ↑ บ้านต้นไทร บันทึกตระกูลขุนไกร นายอากร แห่งราชอาณาจักรอยุธยาปลาย
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2560. สืบค้น 11 มีนาคม 2561.