พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย

พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑล (Man and the Biosphere (MAB) Programme) ขององค์การยูเนสโก ในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 5 แห่ง

รายชื่อพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย

แก้
สถานที่ ที่ตั้ง ปี
พ.ศ./
ค.ศ.
หมายเหตุ อ้างอิง
สะแกราช
(Sakaerat Biosphere Reserve)
จังหวัดนครราชสีมา 2519 ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เริ่มจากบริเวณพื้นที่ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชในปัจจุบัน ในเวลาต่อมาได้ขยายขอบเขตพื้นที่รอบนอก เพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอวังน้ำเขียว ( ตำบลอุดมทรัพย์ ตำบลวังน้ำเขียว ตำบลวังหมี ตำบลไทยสามัคคี  และตำบลระเริง) และ 6 ตำบลในอำเภอปักธงชัย (ตำบลภูหลวง ตำบลตะขบ ตำบลตูม ตำบลสุขเกษม) เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในป่าเขตร้อน และเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า วิจัยระบบนิเวศเป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง
แม่สา-คอกม้า
(Mae Sa-Kog Ma Biosphere Reserve)
จังหวัดเชียงใหม่ 2520 ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อุทยานแห่งชาติออบขาน และอุทยานแห่งชาติขุนขาน จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมือง อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอสะเมิง ประกอบด้วย 2 พื้นที่ลุ่มน้ำหลัก คือ ลุ่มน้ำแม่สาและลุ่มน้ำห้วยคอกม้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการศึกษาและวิจัยทางด้านลุ่มน้ำธรรมชาติและอุทกวิทยา และเป็นต้นแบบของการจัดการลุ่มน้ำ รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
ป่าสักห้วยทาก
(Hauy Tak Teak Biosphere Reserve)
จังหวัดลำปาง 2520 ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ตั้งอยู่ที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่งาว อำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นป่าไม้สักธรรมชาติที่เป็นแหล่งพันธุกรรมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนั้น ยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและคุณค่าในฐานะแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อย่างแหล่งภาพเขียนสีประตูผา และแหล่งภาพเขียนโบรณาบ้านห้วยหก
ระนอง
(Ranong Biosphere Reserve)
จังหวัดระนอง 2540 ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่มีระบบนิเวศแบบป่าชายเลนเป็นจุดเด่น ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนของอำเภอเมืองระนองที่มีคุณค่า ประกอบด้วยป่าชายเลนดั้งเดิมที่ไม่ผ่านการทำไม้ซึ่งคงเหลือไม่กี่แห่งในประเทศไทย โกงกางยักษ์อายุ 200 ปี ป่าชายเลนระนองมีความสำคัญในการรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อม ชายฝั่งทะเลเป็นแนวป้องกันลมพายุ และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด เป็นบริเวณที่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลนมาเป็นเวลานานจนเป็นแบบอย่างของการค้นคว้าวิจัยให้กับพื้นที่อื่น ๆ
ดอยเชียงดาว
(Doi Chiang Dao Biosphere Reserve)
จังหวัดเชียงใหม่ 2564 ตั้งแต่ พ.ศ. 2564[1] ดอยเชียงดาวเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า จำนวน 672 ชนิด จาก 358 สกุล ใน 91 วงศ์ ทั้งเป็นพื้นที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าสงวน ได้แก่ กวางผาและเลียงผา รวมถึงสัตว์ป่าคุ้มครองอีกหลายชนิด

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้