อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติขุนขาน ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำแม่ขานและลุ่มน้ำแม่แจ่ม ท้องที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 130,583.45 ไร่ หรือ 208.93 ตารางกิโลเมตร[1]
อุทยานแห่งชาติขุนขาน | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
ที่ตั้ง | อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ |
พิกัด | 18°51′14″N 98°37′26″E / 18.85389°N 98.62389°E |
พื้นที่ | 208 ตารางกิโลเมตร (130,000 ไร่) |
จัดตั้ง | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 |
ผู้เยี่ยมชม | 587 (2562) |
หน่วยราชการ | กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช |
ภูมิประเทศ
แก้มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำสุด 500 เมตร และสูงสุด 1,708 เมตร สภาพของพื้นที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 เป็นส่วนใหญ่ แม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ได้แก่ น้ำแม่สะเมิง น้ำแม่สาบ น้ำแม่ขาน น้ำอมลอง น้ำแม่โต๋ น้ำแม่บ่อแก้ว น้ำแม่อมแตง น้ำแม่ตาละ น้ำแม่สะงะ และน้ำแม่แจ่ม[2][3]
ลักษณะภูมิอากาศ
แก้สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไป 23 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,380 มิลลิเมตร
ทรัพยากรป่าไม้
แก้สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติ ประกอบไปด้วยป่า 5 ชนิด คือ
- ป่าดิบเขา พบตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป บริเวณตอนบนของพื้นที่และบริเวณเทือกเขาแบ่งเขตอำเภอสะเมิงกับอำเภอแม่แจ่ม พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ ก่อ สนสามใบ ทะโล้ ตุ้มเต๋น มะขามป้อม จำปี มะส้าน สารภีป่า นมนาง เป็นต้น
- ป่าดิบแล้ง พบทั่วไปบริเวณหุบเขาและริมลำห้วยในระดับความสูง 600-1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยาง ตะเคียน มะม่วงป่า ลำไยป่า มะไฟ มะเดื่อ เป็นต้น
- ป่าสนเขา พบตามยอดเขาโดยทั่วไปที่ระดับความสูง 700-1,300 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ รัก รัง เหียง เป็นต้น
ทรัพยากรสัตว์ป่า
แก้สัตว์ป่าที่เห็นได้โดยมาก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า ลิง เม่น หมาใน กระต่ายป่า กระรอก อีเห็น ตะกวด หมาจิ้งจอก ตุ่น บ่าง ค้างคาว พังพอน เป็นต้น ส่วนสัตว์ป่าที่เป็นจุดเด่น ได้แก่ นกนานาชนิด เสือโคร่ง และ เลียงผา
อาณาเขต
แก้- ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตอุทยานแห่งชาติออบขาน ตำบลบ่อแก้ว ตำบลแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตติดต่อ อำเภอแม่ริม ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่แจ่ม ตำบลแม่แดด ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
แหล่งท่องเที่ยว
แก้ด้านธรรมชาติ
แก้อุทยานแห่งชาติขุนขาน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง ได้แก่
- จุดชมทิวทัศน์ป่าแม่แจ่ม กิโลเมตรที่ 36–55
- จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิง กิโลเมตรที่ 24–25
- น้ำตกแม่นาเปอะ
- น้ำตกห้วยตาด
- น้ำตกห้วยฮ้อม
- น้ำตกอมลอง
- น้ำตกห้วยอมแตง
- หน้าผามาต๊ะ
- ถ้ำหลวงแม่สาบ
- บ่อน้ำร้อนท่าโต๋
- ดอยซาง
- ดอยขุนแม่เอ๊าะ
- ผาสามหน้า
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยานขุนขานได้ตลอดทั้งปี
ด้านศึกษาธรรมชาติ
แก้- เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติริมถนนสายสะเมิง–วัดจันทร์
อ้างอิง
แก้- ↑ "ข้อมูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจานุบกษา 133 แห่ง". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022, no 126
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ "Khun Khan National Park". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2015. สืบค้นเมื่อ 16 Nov 2015.
- ↑ "National Parks in Thailand: Khun Khan National Park" (PDF). กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2015. pp. 41–42. สืบค้นเมื่อ 26 May 2017.
- ขุนขาน สำนักอุทยานแห่งชาติ