มะเดื่อ
มะเดื่อ | |
---|---|
ต้นมะเดื่อที่ฮ่องกง | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Moraceae |
เผ่า: | Ficeae |
สกุล: | Ficus |
สกุลย่อย: | Ficus |
สปีชีส์: | F. carica |
ชื่อทวินาม | |
Ficus carica L. | |
แผนที่แสดงการส่งออกมะเดื่อหลังปี ค.ศ. 2005 |
มะเดื่อ มะเดื่อฝรั่ง หรือ มะเดื่อญี่ปุ่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus carica) เป็นไม้ยืนต้นที่แยกดอกแยกต้นเจริญได้ดีในที่สูงถึง 6 เมตร หรือ 19 ฟุต อยู่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบตะวันออกกลาง[1] เป็นพืชคนละชนิดกับมะเดื่ออุทุมพรหรือมะเดื่อชุมพร (F. racemosa) ซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองในอินเดียและศรีลังกา[2]
มะเดื่อเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเป็นปุ่มแตกกิ่งก้านออก ใบเดี่ยว ด้านหนึ่งหยาบ อีกด้านหนึ่งมีขนอ่อน ลำต้นมียางสีขาว ผลออกเป็นกระจุก กลมแป้นหรือรูปไข่ เปลือกบาง ผลอ่อนสีเขียว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดงหรือชมพูแล้วแต่พันธุ์ เนื้อในสีแดงเข้ม สุกแล้วมีกลิ่นหอม การปลูกเป็นการค้าเริ่มที่เอเชียตะวันตก แล้วจึงแพร่หลายสู่ซีเรีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[3] ปัจจุบันปลูกมากในยุโรปใต้ สหรัฐ ตุรกี ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ มาดากัสการ์ ในอดีต ประเทศไทยจะนำเข้ามะเดื่อในรูปผลแห้ง เริ่มนำต้นเข้ามาปลูกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2524 ที่ดอยอ่างขาง[3] โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มูลนิธิโครงการหลวง เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น[4] เป็นผลไม้ต่างถิ่นชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางอาหารสูงอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก
ประวัติ
แก้การปลูกมะเดื่อพบว่า มีมากว่า 2,000 ปีแล้ว ตำนานของยุโรป และ ตะวันออกยุคโบราณบันทึกไว้ว่า ชาวอียิปต์และชาวกรีกเชื่อว่ามะเดื่อเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นอาหารสำหรับนักกีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณ[3] มีปรากฏในไบเบิลของศาสนาคริสต์และอัลกุรอ่านของศาสนาอิสลาม[5]
คุณค่าทางโภชนาการ
แก้ในผลมะเดื่อมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็กในปริมาณสูงมาก โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ไนอาซิน คาร์โบไฮเดรต ผลมะเดื่อ มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น กล้ามเนื้อแข็งแรง สร้างสมดุลสภาวะกรดในร่างกาย ลดรอยเหี่ยวย่น ป้องกันโรคนิ่วในไต ช่วยฟอกตับและม้าม ช่วยสมานแผลในปาก ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันโรคมะเร็ง (สารสกัดจากผลมะเดื่อสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งในการทดลองได้) ไม่มีไขมันหรือโคเลสเตอรอล[6]
การใช้ประโยชน์และความเชื่อ
แก้คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 1,041 กิโลจูล (249 กิโลแคลอรี) |
63.87 g | |
น้ำตาล | 47.92 g |
ใยอาหาร | 9.8 g |
0.93 g | |
3.30 g | |
วิตามิน | |
ไทอามีน (บี1) | (7%) 0.085 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (7%) 0.082 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (4%) 0.619 มก. |
(9%) 0.434 มก. | |
วิตามินบี6 | (8%) 0.106 มก. |
โฟเลต (บี9) | (2%) 9 μg |
วิตามินซี | (1%) 1.2 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (16%) 162 มก. |
เหล็ก | (16%) 2.03 มก. |
แมกนีเซียม | (19%) 68 มก. |
ฟอสฟอรัส | (10%) 67 มก. |
โพแทสเซียม | (14%) 680 มก. |
สังกะสี | (6%) 0.55 มก. |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
มะเดื่อใช้กินเป็นผลไม้สด หรือใช้ทำขนม เช่น พาย พุดดิ้ง เค้ก ไอศกรีม แยม อบแห้ง ผสมในชาไข่มุก หรือใส่ขนมแทนลูกเกด ผลแห้งนำไปคั่วแล้วป่นใช้แทนกาแฟ เป็นผลไม้ที่มีใยอาหารสูง เป็นยาระบาย [3]
อ้างอิง
แก้- ↑ The Fig: its History, Culture, and Curing, Gustavus A. Eisen, Washington, Govt. print. off., 1901
- ↑ ประชิดวามานนท์. ไม่ประดับเพื่อการตกแต่ง. กทม. บ้านและสวน. 2550
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะเดื่อฝรั่ง ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า149
- ↑ มะเดื่อฝรั่ง
- ↑ "Foods of the prophet". IslamOnline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-15. สืบค้นเมื่อ 2012-03-08.
- ↑ "Figs-มะเดื่อฝรั่ง (ญี่ปุ่น)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-24. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.