สนสองใบ
สนสองใบ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Coniferophyta |
ชั้น: | Pinopsida |
อันดับ: | Pinales |
วงศ์: | Pinaceae |
สกุล: | Pinus |
สกุลย่อย: | Pinus |
สปีชีส์: | P. merkusii |
ชื่อทวินาม | |
Pinus merkusii Jungh. & de Vriese | |
เขตที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของสนสองใบ |
สนสองใบหรือเกี๊ยะดำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Pinus merkusii ภาษากะเหรี่ยงเรียกโชซู ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกสีดำหรือน้ำตาลอมดำ เปลือกหนามาก กระพี้สีเหลืองอ่อน มียางซึมออกมาจากแก่น ใบเดี่ยวเป็นกระจุก กระจุกละสองใบ โคนแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อสีเหลือง โคนตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ มีเกล็ดโดยรอบ สีเหลืองอมเขียว ภายใต้เกล็ดมีโอวุลหลายอัน เมล็ดมีปีกบางๆ 2 ปีก เนื้อไม้ใช้ทำโครงสร้างต่างๆของบ้าน เช่น ฝา เสา หลังคา และใช้ทำฟืน
อ้างอิง
แก้- ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน