สมอไทย
ผลสมอที่หล่นบนพื้นในเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Combretaceae
สกุล: Terminalia
สปีชีส์: T.  chebula
ชื่อทวินาม
Terminalia chebula
Retz.
เปลือกต้นสมอในเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย

สมอไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia chebula Retz.) กะเหรี่ยงเรียกว่าม่าแนหรือหมากแหน่ะ อยู่ในวงศ์ Combretaceae เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียใต้ ภาคอีสานเรียกหมากแน่ะ หรือม่าแน่ เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกลำต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ ปลายแหลม ใบใหญ่ขนาดประมาณใบกระท้อนสีเขียวเข้ม มีขนอ่อนสีน้ำตาลปกคลุม ปลายใบเป็นติ่งแหลม ดอกสีขาวนวลขนาดเล็กกลิ่นหอม ออกเป็นช่อ ผลค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ ผิวเรียบ สีเขียวอมเหลืองหรืออมแดง มีเมล็ดเดียว แห้งแล้วเป็นสีดำ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์ แก้

ผลดิบกินเป็นผลไม้สด รสเปรี้ยวขมอมฝาด มีแทนนินเป็นจำนวนมาก หรือนำไปดองเกลือ ผลห่ามนำไปจิ้มน้ำพริก ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ผลแก่เป็นยาฝาดสมาน แก้ลมจุกเสียด เยื่อหุ้มเมล็ดแก้ขัดและโรคเกี่ยวกับน้ำดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ชาวกะเหรี่ยงใช้ผลย้อมผ้า ให้สีเทา[1]

โกฐพุงปลา แก้

โกฐพุงปลา เป็นปุ่มหูดที่เกิดบนต้นสมอไทย เรียก terminalia gall ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกปูดกกส้มมอ เกิดจากแมลงเจาะกิ่งและใบอ่อนของต้นสมอไทยแล้ววางไข่ ต้นสมอไทยจะสร้างปุ่มหูดหุ้มไข่ของแมลงเหล่านั้นไว้ เมื่อแห้งแข็งจะมีลักษณะคล้ายถุงแบน กลวง ฝาดและขมจัด ใช้เป็นยาฝาดสมานอย่างแรง แก้ไข้สมานแผล องค์ประกอบหลักเป็นแทนนิน รวมทั้งกรดแทนนิก กรดกอลลิกและอนุพันธ์ [2]

 
สมอไทย

อ้างอิง แก้

  1. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548. หน้า 110
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. สมอไทย ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 249
  • เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. สมอไทย ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 18-19