หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย

หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย คือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมายตามที่ได้บัญญัติไว้ ทั้งรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย หรือกฎหมายอื่น ๆ มอบอำนาจไว้ให้ในการปฏิบัติการและบังคับใช้[1] ภายใต้เขตอำนาจศาลที่ได้บัญญัติไว้

เขตอำนาจ แก้ไข

 
การปรากฎตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจและรถตำรวจ เป็นรูปแบบพื้นฐานในการป้อมปรามอาชญากรรม[2]ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในแต่ละท้องถิ่น

เขตอำนาจ คือขอบเขตที่เจ้าพนักงานบังคับใช้กฎหมายนั้น ๆ มีอำนาจในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนหรือจับกุมตามขอบเขตอำนาจที่ได้กำหนดไว้

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจะมีข้อจำกัดในการใช้อำนาจของตนตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ซึ่งมีหลายระดับ ทั้งในระดับประเทศ เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในระดับภูมิภาคของประเทศ เช่น ตำรวจภูธรภาค 2 ในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย และในระดับระหว่างประเทศ เช่น ตำรวจสากล

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับสากล มักจะให้การสนับสนุนกิจการรมในการบังคับใช้กฎหมายในประเทศสมาชิกของตน โดยแบ่งปันข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่จำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับหน่วยงานในประเทศนั้น ๆ แทนการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง เพราะไม่มีอำนาจสั่งการเหนืออธิปไตยประเทศนั้น ๆ

ตำรวจ แก้ไข

 
ท้องที่ของสถานีตำรวจนครบาล กรุงเทพมหานคร

เขตอำนาจการสอบสวน หรือ เขตอำนาจสอบสวน,[3] เขตสอบสวน[4] คือขอบเขตที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการดำเนินงาน ในคดีอาญานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากพนักงานสอบสวนดำเนินการไปทั้งที่ไม่มีอำนาจจะทำให้อัยการไม่สามารถฟ้องคดีได้[5]

สำหรับในประเทศไทย เขตอำนาจการสอบสวนจะแบ่งตามความรับผิดชอบของสถานีตำรวจที่มีอาณาเขตความรับผิดชอบในท้องที่นั้น ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็น สถานีตำรวจนครบาล สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล นอกเหนือจากนั้นเป็น สถานีตำรวจภูธร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัด อยู่ภายใต้ตำรวจภูธรทั้ง 9 ภาคทั่วประเทศ

ศาล แก้ไข

เขตอำนาจศาล คือพื้นที่และประเภทคดีที่ศาลนั้นมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายที่บัญญัติ[6] ซึ่งอาจแบ่งเขตอำนาจของแต่ละศาลได้ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ปริมาณคดีในท้องที่ และอำนวยความสะดวกผู้มาติดต่อราชการ[7]

รูปแบบหน่วยงาน แก้ไข

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมีมากมายหลายประเภท ทั้งบังคับใช้กับคนทั่วไปในชุมชนหรือประเทศ และบังคับใช้เฉพาะด้านโดยเฉพาะ เพื่อสอดส่องดูแลให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กสทช. และเพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศ อาทิ กรมศุลกากร โดยในแต่ละประเทศจะมีรูปแบบการบังคับใช้แตกต่างกันไป

ศาสนา แก้ไข

ในประเทศที่เคร่งศาสนา จะมีการบังคับใช้กฎหมายศาสนาอย่างเคร่งครัด เช่น กฎหมายชะรีอะฮ์ ในศาสนาอิสลามที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชนที่มีพื้นฐานมาจากหลักนิติศาสตร์ (jurisprudence) ของศาสนาอิสลามสำหรับชาวมุสลิมใช้ บังคับใช้โดยตำรวจศาสนา ใช้ระบบพิจารณาคดีโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเรียกว่าผู้พิพากษา ซึ่งคำตัดสินเล่านั้นเรียกว่าฟัตวา (Fatwa)[8]

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายศาสนานั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามหลักพื้นฐานของศาสนาและประเทศ อาทิ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย คือตำรวจศีลธรรมชื่อว่า "มุตาวา"[9]

กิจการภายใน แก้ไข

ในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายแต่ละหน่วยงาน จะมีหน่วยตรวจสอบภายใน เพื่อตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานนั้น ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น สำนักงานจรรยาบรรณวิชาชีพ ภายในสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ของสหรัฐอเมริกา สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทย[10] โดยในบางประเทศมีการตั้งหน่วยตรวจสอบภายในองค์กรแยกออกมาจากองค์กรนั้น เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นหน่วยงานตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย[11]

ตำรวจ แก้ไข

ตำรวจ คือหน่วยงานหลักในการบังคับใช้กฎหมายที่แพร่หลายที่สุดในโลก เนื่องจากมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับคนในสังคมมากที่สุด ทั้งที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง และเกี่ยวกับการรักษาความสงบรวมถึงการเข้าถึงเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ได้ระบุไว้ในกฎหมายในฐานะหน่วยงานแรกที่ต้องตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ซึ่งมีเขตอำนาจที่หลากหลายตามบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ๆ เช่น ตำรวจรัฐในสหรัฐอเมริกา มีอำนาจการสืบสวนสอบสวนแค่ภายในมลรัฐที่ตัวเองสังกัด[12]

ทหาร แก้ไข

 
สารวัตรทหารของกองทัพโปแลนด์

ในหน่วยหรือองค์กรทางทหาร มีหน่วยงานสำหรับบังคับใช้กฎหมายของกองทัพ เรียกว่าสารวัตรทหาร มีสังกัดและภารกิจที่หลากหลายตามที่ได้รับมอบหมาย อยู่ในกองทัพต่าง ๆ ในทุกประเทศ

สำหรับสารวัตรทหาร มีอำนาจหน้าที่หลัก ดังนี้[13]

  • ป้องกันการเกิดอาชญากรรมในกองทัพ
  • สืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร
  • สอดส่องตรวจตราให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงกลาโหมอยู่ในระเบียบวินัย ว่ากล่าวตักเตือนเมื่อพบการกระทำผิด
  • ควบคุมจัดระเบียบการจราจรที่อยู่ในกิจการของทหาร เช่น การเคลื่อนกำลังพล การส่งกำลังบำรุง
  • รักษาความปลอดภัยวัตถุตามที่ได้รับมอบหมาย และอารักขาบุคคลสำคัญ
  • ปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการเชลยศึก เรือนจำทหาร ทหารพลัดหลงจากหน่วย หรือพลเรือนที่ถูกกักกันในยามสงคราม ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของฝ่ายทหาร

รายชื่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย แก้ไข

ตัวอย่างรายชื่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับต่าง ๆ ตามเขตอำนาจ

หน่วยงานระหว่างประเทศ แก้ไข

  • องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือเรียก ตำรวจสากล ก่อตั้งมาเพื่อสนับสนุนองค์กรหรือหน่วยงานที่มีภารกิจในการป้องกันหรือปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ มีสมาชิกทั้งหมด 194 ประเทศทั่วโลก

หน่วยงานรัฐบาลกลาง แก้ไข

ในประเทศที่ปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ จะมีหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับรัฐบาลกลาง มีเขตอำนาจในการสืบสวนสอบสวนทุกรัฐภายในประเทศ อาทิ

หน่วยงานระดับรัฐ แก้ไข

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับรัฐ หรือในระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด เป็นหน่วยงานที่มีอยู่ในประเทศที่ปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ โดยอาจจะร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลกลาง หรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระดับท้องถิ่นในการปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมายในรัฐหรือภูมิภาคนั้น ๆ ส่วนมากพบในทวีปอเมริกาเหนือ เอเชียใต้[14] และโอเชียเนีย[15] อาทิ

  •   ออสเตรเลีย
    • ตำรวจรัฐนิวเซาท์เวลส์[15]
    • ตำรวจรัฐควีนส์แลนด์
    • ตำรวจรัฐเซาท์ออสเตรเลีย
    • ตำรวจรัฐแทสเมเนีย
    • ตำรวจรัฐวิกตอเรีย
    • ตำรวจรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย

หน่วยงานระดับชาติ แก้ไข

เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกลางในระดับชาติ ส่วนมากพบในประเทศที่ปกครอบในรูปแบบรัฐเดี่ยว มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการทั่วทั้งประเทศ อาทิ

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย แก้ไข

ระดับประเทศ แก้ไข

ระดับท้องถิ่น แก้ไข
  • กรมการปกครอง
    • นายอำเภอ
    • ปลัดอำเภอ
    • กำนัน
    • ผู้ใหญ่บ้าน
  • เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล
    • เทศกิจ หน่วยงานหรือบุคคลที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเทศบัญญัติ[17]
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ดูเพิ่ม แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  1. "Content". www.satit.up.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-06. สืบค้นเมื่อ 2022-02-18.
  2. "แนวทางการขับเคลื่อนงานป้องกันปราบปรามอา - ดาวน์โหลดหนังสือ | 1-41 หน้า | PubHTML5". pubhtml5.com.
  3. "ป้ายตำรวจ". Mapio.net (ภาษาอังกฤษ).
  4. "โซเชียลเดือดจี้ตรวจสอบกองซาก 'กะโหลกหมา' หลังบ่อจระเข้ไร่พ่อ ส.ส.ดัง". Dogilike.com.
  5. admin-csd (2019-02-25). "เขตอำนาจการสอบสวน' คืออะไร? แบ่งอย่างไร?". CSD | กองบังคับการปราบปราม.
  6. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นออนไลน์ คำค้นหา เขตอำนาจศาล. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565
  7. "อำนาจพิจารณาคดีของศาลจังหวัด". mgronline.com. 2010-01-11.
  8. "กฎหมายชารีอะห์คืออะไร มีอิทธิพลมากแค่ไหนกับระบอบตาลีบัน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  9. "เรื่องราวการลี้ภัยเข้าสหราชอาณาจักรของสาวซาอุฯ". BBC News ไทย. 2019-02-06.
  10. "วิสัยทัศน์/พันธกิจ ค่านิยมองค์การ ยุทธศาสตร์". audit.police.go.th. สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตส.). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  11. "ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์". www.pacc.go.th. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "ตำรวจอเมริกา เป็นอย่างไรกัน?". dailynews. 2021-05-19.
  13. "Vision and Mission วิสัยทัศน์และพันธกิจ". www.nmp.navy.mi.th. Naval Military Police Regiment.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "ตำรวจอินเดียสังหารกลุ่มลัทธิเหมา 26 รายในรัฐทางใต้". tna.mcot.net. 2021-11-15. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 "ความปลอดภัย การอยู่อาศัยอย่างปลอดภัยในรัฐนิวเซาท์เวลส์". www.study.sydney (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2019-08-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี". ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี.
  17. "ฝ่ายเทศกิจ - สำนักงานเขตวังทองหลาง". dailynews (ภาษาอังกฤษ). 2022-02-21.