หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์
หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ (24 มกราคม พ.ศ. 2402 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2478) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[1] และบิดาของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5
หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 3 | |
ปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |
ประสูติ | 24 มกราคม พ.ศ. 2402 |
ชีพิตักษัย | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2478 (76 ปี) วังมหาสวัสดิ์ ตำบลคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดธนบุรี |
หม่อม | หม่อมห่วง หม่อมช้อย หม่อมคลี่ หม่อมหวาน |
บุตร | 11 คน |
ราชสกุล | ลดาวัลย์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี |
พระมารดา | หม่อมสาด ลดาวัลย์ ณ อยุธยา |
พระประวัติ
แก้ปฐมวัย
แก้หม่อมเจ้าเพิ่ม เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่หม่อมสาด เมื่อวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2402 ณ วังของพระบิดา ที่ถนนสนามไชย พระบิดาได้ถวายหม่อมเจ้าเพิ่มเป็นมหาดเล็กรับใช้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่คราวที่ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[1]
การศึกษา
แก้หม่อมเจ้าเพิ่มได้รับการศึกษาตามคตินิยมสมัยนั้น ต่อมาทรงถูกส่งไปศึกษาภาษาอังกฤษที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อมีการเปิดสอนภาษาอังกฤษในเขตพระราชฐานชั้นนอกของพระบรมมหาราชวัง ก็ได้เสด็จกลับมาทรงศึกษาที่นั่นด้วย[1]
รับราชการ
แก้หลังทรงจบการศึกษา ทรงรับราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมราชเลขาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตามลำดับ[1] และในปี พ.ศ.2435 หม่อมเจ้าเพิ่ม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี[2]
ระหว่างทรงรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หม่อมเจ้าเพิ่มเป็นพระอภิบาลพระเจ้าลูกเธอ 4 พระองค์ ที่เสด็จไปทรงศึกษาที่ต่างประเทศ ได้แก่
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช
นอกจากนี้ ยังได้ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ไปราชการในสหรัฐและประเทศญี่ปุ่น
ผนวช
แก้ปี พ.ศ. 2423 หม่อมเจ้าเพิ่ม ได้ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระอรุณนิภาคุณากร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร 2 พรรษาจึงลาผนวช[1]
ปัจฉิมวัย
แก้หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ เริ่มทรงพระกาสะมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2478 แพทย์ตรวจพบว่าประชวรเป็นวัณโรค และพระวักกะพิการ พระอาการทรุดลงจนสิ้นชีพิตักษัย ณ วังมหาสวัสดิ์ เมื่อเวลา 04:10 น. ของวันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2478 สิริชันษา 76 ปี[1]
ครอบครัว
แก้หม่อมเจ้าเพิ่ม มีหม่อมและโอรสธิดาหลายคน เฉพาะที่มีชีวิตอยู่เมื่อหม่อมเจ้าเพิ่มสิ้นชีพิตักษัยมีดังนี้[1]
- หม่อมห่วง ธิดาพระประเสริฐวานิช (เขียว เหล่าประเสริฐ) กับทองคำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสู่ขอให้หม่อมเจ้าเพิ่ม จึงเป็นหม่อมเอก ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449[3]
- หม่อมราชวงศ์สนุน ลดาวัลย์ บิดาของหม่อมหลวงสามารถ ลดาวัลย์
- หม่อมราชวงศ์สลับ ลดาวัลย์ ศาสตราจารย์วิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4]
- รองเสวกเอก นายชิต หุ้มแพร (หม่อมราชวงศ์สล้าง ลดาวัลย์)
- นาวาอากาศเอก หม่อมราชวงศ์บุลณรงค์ ลดาวัลย์ (นามเดิม หม่อมราชวงศ์เสนาะ)
- หม่อมราชวงศ์สนั่น ลดาวัลย์ บิดาของหม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ และหม่อมหลวงศรีทอง ลดาวัลย์
- หม่อมราชวงศ์สอาด ลดาวัลย์ (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์)
- พลตำรวจตรี หม่อมราชวงศ์ชยานันท์ ลดาวัลย์ (นามเดิม หม่อมราชวงศ์สอ้าน)
- หม่อมราชวงศ์สุพรรณภา ลดาวัลย์ มารดาของอาจารย์พรพรรณ วัฑฒนายน
- หม่อมช้อย
- หม่อมคลี่
- อำมาตย์โท พระภูมิพิชัย (หม่อมราชวงศ์บุง ลดาวัลย์) บิดาของหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์
- หม่อมหวาน
- หม่อมราชวงศ์แสงสูรย์ ลดาวัลย์ บิดาของหม่อมหลวงพูนแสง สูตะบุตร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2437 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[6]
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[7]
- พ.ศ. 2439 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- อิตาลี :
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏอิตาลี ชั้นที่ 3[9]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 โคลง,ฉันท์,กาพย์,ร่าย: พระนิพนธ์หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์, 2478
- ↑ การพระราชพิธีศรีสัจปานกาลพระราชทานพระชัยวัฒน์องค์เล็ก แลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แลตั้งองคมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 9 แผ่นที่ 26 วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2435
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ตอนที่ 35 เล่ม 23, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 125, หน้า 893
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์วิชาวิศวกรรมเหมืองแร่, ตอนที่ 25 เล่ม 66, 1 พฤษภาคม 2492, หน้า 1710
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปแลพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 10, หน้า 368
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 9, หน้า 353
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 7, หน้า 401
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 13, หน้า 27
- ↑ "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 9 (ตอน 5): หน้า 12. 1 พฤษภาคม 2435. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)