เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ (6 มีนาคม พ.ศ. 2434 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2526) นามเดิม หม่อมราชวงศ์สั้น เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ร้องเพลง นางร้องไห้ ถวายเป็นชุดสุดท้าย และเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ที่มีชีวิตอยู่เป็นคนสุดท้ายก่อนถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2526
เจ้าจอม หม่อมราชวงศ์ สดับ ในรัชกาลที่ 5 | |
---|---|
เกิด | หม่อมราชวงศ์สั้น 6 มีนาคม พ.ศ. 2434 ตำบลปากคลองตลาด อำเภอพระราชวัง จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2526 (92 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2449–2453) |
บิดามารดา | หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ หม่อมช้อย ลดาวัลย์ ณ อยุธยา |
ประวัติ
แก้วัยเยาว์
แก้เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ มีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สั้น เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม 11 ค่ำ เดือนสาม ตรงกับวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2433 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2434) ณ วังกรมหมื่นภูมินทรภักดี ตำบลปากคลองตลาด อำเภอพระราชวัง จังหวัดพระนคร[1] เป็นธิดาในหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ กับหม่อมช้อย ลดาวัลย์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม นครานนท์)[2]
เมื่อท่านมีอายุได้ 11 ปี หม่อมยายได้พาท่านไปถวายตัวเป็นข้าหลวงในตำหนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา หลังจากนั้นไม่นานนัก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ พระราชธิดาในพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ได้ประทานนามให้ใหม่ว่า "สดับ"[3] ซึ่งกรมพระสุทธาสินีนาฏทรงอบรมเลี้ยงดูหม่อมราชวงศ์สดับในฐานะพระญาติ และยังโปรดให้เรียนหนังสือทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รวมทั้งหัดงานฝีมือ ตลอดจนการอาหารคาวหวานจนเชี่ยวชาญ นอกจากความอัจฉริยภาพและความงามแล้ว ความมีเสียงอันไพเราะของท่าน ยังเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นด้วย ดังใน บทพระราชนิพนธ์เงาะป่า ว่า
- "แม่เสียงเพราะเอย น้ำเสียงเจ้าเสนาะ เหมือนดังใจพี่จะขาด เจ้าร้องลำนำ ยิ่งซ้ำพิสวาท พี่ไม่วายหมายมาด รักเจ้าเสียงเพราะเอย"
ถวายตัว
แก้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2449 หม่อมราชวงศ์สดับได้เข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ท่านได้รับพระราชทาน "กำไลมาศ" จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกำไลทองคำแท้จากบางสะพาน หนักสี่บาท ทำเป็นรูปตาปูโบราณสองดอกไขว้กัน ปลายตาปูเป็นดอกเดียวกัน มีตัวอักษรซึ่งเป็นบทกลอนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสลักไว้บริเวณด้านบนของกำไลว่า
กำไลมาศชาตินพคุณแท้ | ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นยั่งยืนสี |
เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที | จะร้ายดีขอให้เห็นเช่นเสี่ยงทาย |
ตาปูทองสองดอกตอกสลัก | ตรึงความรักรัดไว้อย่าให้หาย |
แม้รักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย | เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย |
คราวที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับได้บันทึกไว้ว่า[4] "ในวันเฉลิมพระที่นั่งนี้ทรงพระมหากรุณาสวมกำไลทองรูปตาปูพระราชทานข้าพเจ้า ทรงสวมโดยไม่มีเครื่องมือ บีบด้วยพระหัตถ์ รุ่งขึ้นจึงต้องรับสั่งให้กรมหลวงสรรพศาสตร์พาช่างทองแกรเลิตฝรั่งชาติเยอรมันนำเครื่องมือมาบีบให้เรียบร้อย"
วันนี้ถือว่าเป็นวันที่ท่านมีความสุขมากที่สุด และทั้งตลอดชีวิตของท่าน เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมิได้ถอดออกจากข้อมือเลย จวบจนชีวิตท่านหาไม่แล้ว หม่อมหลวงพูนแสง สูตะบุตร ผู้เป็นหลานสาวจึงเป็นผู้ที่ถอดออกให้ และได้ถวาย "กำไลมาศ" แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในงานพระราชทานเพลิงศพของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับนั้นเอง
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ประกอบด้วย หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี พานทอง เป็นพานหมากมีเครื่องในทองคำกับกระโถนทองคำ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ซึ่งเป็นเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นพระสนมเอก ท่านจึงเป็น พระสนมเอก ท่านสุดท้ายในรัชกาล[5]
รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป
แก้วันที่หม่อมราชวงศ์สดับได้เล่าว่าเป็นวันที่ทุกข์ที่สุดก็คือ วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2450 เนื่องจากก่อนรัชกาลที่ 5 จะเสด็จพระราชดำเนินนั้น มีพระราชดำริที่จะให้เจ้าจอมสดับตามเสด็จไปยุโรปด้วย ในฐานะข้าหลวงในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ถึงกับสอนภาษาอังกฤษพระราชทานเองก่อนเสวยพระกระยาหารทุกคืน แต่มีเหตุขัดข้อง จึงมิอาจเป็นไปตามพระราชดำรินั้นได้
แม้กระนั้น พระองค์ก็ได้มีพระราชหัตเลขามาถึงทุกสัปดาห์ เมื่อได้รับลายพระราชหัตถเลขาแล้ว ท่านก็แสดงอาการดีใจออกมาทุกครั้ง แต่อาการนั้นทำให้เกิดความรู้สึกริษยาจากคนรอบข้างโดยที่ท่านไม่รู้ตัว ทำให้พระวิมาดาเธอฯ ในฐานะผู้ปกครองจึงทรงต้องเข้มงวดกวดขันกิริยาอาการ ตลอดไปถึงข้อความในจดหมาย ด้วยเกรงว่าจะเขียนกราบทูลในเรื่องไม่สมควรไป
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงพระนคร ก็ทรงซื้อเครื่องเพชรมาพระราชทาน โปรดให้แต่งเครื่องเพชรแล้วให้ช่างถ่ายรูปชาวต่างชาติมาถ่ายรูป โดยทรงพระกรุณาจัดท่าพระราชทาน และโปรดพระราชทานตู้ที่ระลึก ยังทรงจัดของตั้งแต่งในตู้นั้นอีกด้วย อีกทั้งยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาท่านขึ้นเป็นพระสนมเอก อันเป็นตำแหน่งที่แม้เจ้าจอมมารดาบางท่านรับราชการมาช้านานยังไม่ได้รับพระราชทาน แต่ท่านซึ่งเป็นเพียงเด็กสาวรุ่น และเพิ่งเข้ามารับราชการไม่นานนักกลับได้รับพระเมตตาไว้ในตำแหน่งที่สูงถึงเพียงนี้ ยิ่งก่อให้เกิดความริษยาจากคนรอบข้าง ด้วยวัยเพียง 17 ปี ท่านจึงได้เล่าถึงความรู้สึกครั้งนั้นว่า
- "...เหลียวไปพบแต่ศตรู คุณจอมนั้นส่อเสียดว่าอย่างนั้น คุณจอมนี้ว่าอย่างนี้ ตรองดูทีหรือข้าพเจ้าจะย่อยยับแค่ไหน"
ด้วยความที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับยังอายุน้อย บวกกับความคับแค้นใจ ทำให้ขาดความยั้งคิด ดื่มน้ำยาล้างรูปหมายจะทำลายชีวิตตนเอง แต่แพทย์ประจำพระองค์ช่วยชีวิตไว้ได้ทัน
ปลายรัชกาล
แก้ครั้นเมื่อท่านมีอายุได้ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ท่านมีความทุกข์ และเศร้าโศกอย่างยิ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า
"..ใจคิดจะเสียสละได้ทุกอย่าง จะอวัยวะหรือเลือดเนื้อ หรือชีวิตถ้าเสด็จกลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นใจที่คิดแน่วแน่ว่าตายแทนได้ไม่ใช่แค่พูดเพราะ ๆ ...คุณจอมเชื้อเอาผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่งมาให้ข้าพเจ้า บอกว่าท่านได้ประทานไว้ซับพระบาท ข้าพเจ้าจึงเอาผ้าที่ซับพระบาทนั้นแล้วพันมวยผมไว้ แล้วก็นั่งร้องไห้กันต่อไปอีก..."
ครั้งสุดท้ายที่เจ้าจอมสดับได้มีโอกาสสนองพระเดชพระคุณคือ การเป็นต้นเสียงนางร้องไห้หน้าพระบรมศพ
บทเพลง นางร้องไห้ มีอยู่ทั้งหมด 5 บท ดังนี้
- 1 พระร่มโพธิ์ทอง พระพุทธเจ้าข้าเอย
- พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย
- 2 พระเสด็จไปสู่สวรรค์ชั้นใด ละข้าพระบาทยุคลไว้ พระพุทธเจ้าข้าเอย
- พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย
- 3 พระยอดฟ้า พระสุเมรุทอง พระพุทธเจ้าข้าเอย
- พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย
- 4 พระเสด็จผ่านพิภพแห่งใด ข้าพระบาทจะตามเสด็จไป พระพุทธเจ้าข้าเอย
- 5 พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย
- พระทูลกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย
สิ้นรัชกาล
แก้ในปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตนั้น เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมีอายุเพียง 20 ปี ทำให้ท่านเป็นที่จับตามองจากคนรอบข้างว่าจะสามารถครองตัวครองใจเป็นหม้ายได้ต่อไปตลอดหรือไม่
หลังจากนั้นอีกไม่นาน ท่านได้ถวายคืนเครื่องเพชรทั้งหลายที่ได้รับพระราชทานมาแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จนหมดสิ้น สมเด็จฯ ก็ได้ทรงรับไว้แล้วโปรดเกล้าฯ ให้นำไปขายที่ยุโรป แล้วนำเงินมาสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทั้งสิ้น นอกจากนั้นท่านยังหันไปยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วย
จนเมื่อท่านเจ้าจอมนั้นมีวัยชราแล้ว พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้ท่านกลับเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ในช่วงเวลานี้นี่เอง ที่ท่านได้มีโอกาสทำคุณประโยชน์อีกครั้ง โดยการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ชนรุ่นหลัง เช่น
- วิธีถักตาชุนหรือ ถักสไบ ที่เรียกกันว่า กรองทอง
- วิธีทำน้ำอบ น้ำปรุง
- ยาดมส้มโอมือ ฯลฯ
ตลอดจนถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ในพระราชสำนักเมื่อครั้งกระนั้น ให้ชนรุ่นหลังได้ฟังและจดบันทึกไว้ นับเป็นประโยชน์มาก เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2526 สิริอายุได้ 92 ปี
ห้องพระเครื่องต้นแห่งราชสำนัก
แก้สุดท้ายแล้วนั้น เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ รับสนองพระมหากรุณาธิคุณในกิจการห้องพระเครื่องต้นแห่งราชสำนัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทำให้เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมีความชำนาญในการปรุงอาหารคาวหวาน และยังเป็นผู้ที่มีรสนิยมในการรับประทานอาหารเป็นอย่างยิ่ง มีความสุขที่จะเป็นผู้ทำอาหารให้ผู้อื่นรับประทานมาตั้งแต่ยังสาว จนกระทั่งแม้อายุ 92 ปี ก็ยังไม่งดที่จะลงมือตำน้ำพริกเองยามมีหลานหรือแขกไปรับประทานอาหารด้วย วันหนึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน ประจวบเป็นเวลาที่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับกำลังจะรับประทานอาหารกลางวัน จึงได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ พร้อมทั้งกราบบังคมทูลว่า “ แหม นี่ถ้าประทานรับสั่งมาก่อนล่วงหน้าสัก 10 นาทีว่าจะเสด็จฯ มา จะตำน้ำพริกตั้งเครื่องทันที ” เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับนอกจากจะเป็นผู้ที่มีรสมือหาตัวจับยากแล้ว ยังเป็นผู้ไม่ปิดบังตำรา ตรงกันข้ามกลับมีความยินดีที่จะถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้น และทุกครั้งที่ได้ถ่ายทอดแก่ผู้ใดแล้วก็ตามก็จะต้องพูดติดปากเสมอว่า “ เป็นตำราพระวิมาดา ” แสดงถึงความยกย่องในพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ในฐานะที่ทรงเป็นต้นตำรับ และแสดงถึงความเป็นผู้ไม่แอบอ้างว่าอาหารอร่อยเพราะเพียงฝีมือผู้ปรุงเท่า นั้น ตำรับเป็นส่วนสำคัญด้วย
เกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมยศของ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 | |
---|---|
การเรียน | กราบเรียน |
การแทนตน | กระผม/ดิฉัน |
การขานรับ | ครับผม/ค่ะ |
บรรดาศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2434 : หม่อมราชวงศ์สั้น ลดาวัลย์
- ไม่ปรากฏ : หม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์
- พ.ศ. 2448 : เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5
ตราประจำตัว
แก้ตราประจำตัวเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ ๕ นั้น เป็นรูปอักษรย่อ S.B.C. ซึ่งเป็นอักษรย่อที่ รัชกาลที่ ๕ ทรงประทานไว้ให้ มาจากคำว่า S คือ สดับ B คือ ภูมินทรภัคดี C คือ จุฬาลงกรณ์ หรือ ตราสัญลักษณ์พิณภายใต้พระจุลมงกุฎกำกับ [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[7]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[8]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5[9][10][11] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พูนพิศ อมาตยกุล. "เจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ (ลดาวัลย์) ในรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๓๓-๒๕๒๖)". ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ:เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค. 2550, หน้า 164
- ↑ ศรุตานุสรณ์, หน้า 11
- ↑ ฉัตรเฉลิม, นางอันเป็นที่รักในพระพุทธเจ้าหลวง, สำนักพิมพ์บางกอกบุ๊ค, 2545 ISBN 974-89757-6-2
- ↑ ม.ร.ว. สดับ ลดาวัลย์ พระสนมเอกรัชกาลที่๕
- ↑ tnews (12 มิถุนายน 2562). "ตำรับโบราณจาก เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ ๕". สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2521" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 75 (ตอน 51 ง ฉบับพิเศษ): หน้า 10. 12 พฤษภาคม 2521. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 35): 1015. 29 พฤศจิกายน 2451. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ศรุตานุสรณ์, หน้า 134-135
- ↑ "พระยาราชโยธา (เผื่อน พรหมปิณฑะ)". ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สุบินนิมิตและคติเทศของพระยาโกมารกุลมนตรี (PDF). พระนคร: มหาดไทย กรมราชทัณฑ์. 2508. p. 1-2.
- วิชาการดอตคอม เก็บถาวร 2006-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน