พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
![]() | |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 |
ประสูติ | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 พระบรมมหาราชวัง ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 (38 ปี) |
พระประวัติแก้ไข
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 มีพระโสทรอนุชา 1 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 เวลา 2 นาฬิกา สิริพระชันษา 38 ปี
พระเกียรติยศแก้ไข
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศแก้ไข
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453)
ภายหลังสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2442 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[1]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[2]
ราชตระกูลแก้ไข
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา |
พระชนก: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: หม่อมน้อย | |||
พระชนนี: เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: พระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: พระยาเพ็ชรพิไชย (หนู) | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ขรัวยายอิ่ม |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ, เล่ม 16, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 118, หน้า 499
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน, เล่ม 25, ตอน 39, 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451, หน้า 1153
- บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. หน้า หน้าที่. ISBN 974-0056-50-8
- นิกร ทัสสโร. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท นานมีบุ๊ค จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549. 520 หน้า หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9909-30-5
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |