ศาล เป็นองค์กรสาธารณะที่มีหน้าที่ในการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับพลเมือง แรงงาน กิจการ และอาชญากรรมภายใต้กฎหมาย ในกฎหมายทั่วไปและกฎหมายพลเมือง ศาลนับว่าเป็นทางออกของข้อพิพาทต่าง ๆ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ทุก ๆ คนมีสิทธิ์ที่จะนำข้อกล่าวหามาใช้ในศาลได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ถูกกล่าวหาก็มีสิทธิ์ที่จะแก้ต่างในศาลได้เช่นกัน

ที่ทำการศาลในประเทศมาเลเซีย

ศาลจะสามารถบังคับใช้อำนาจได้ผ่านการพิจารณาโดยอำนาจตุลาการ ซึ่งตามหลักแล้วตุลาการจะไม่สร้างกฎหมายขึ้นมาเองตามหลักการแยกใช้อำนาจ แต่จะใช้การตีความจากกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในแต่ละคดี

เขตอำนาจศาล

แก้

เขตอำนาจศาล หมายถึง พื้นที่และประเภทคดีที่ศาลนั้นมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายที่บัญญัติ[1] ซึ่งอาจแบ่งเขตอำนาจของแต่ละศาลได้ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ปริมาณคดีในท้องที่ และอำนวยความสะดวกผู้มาติดต่อราชการ[2]

ระบบของศาล

แก้

ในแต่ละประเทศแบ่งระบบของศาลออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่[3]

ระบบศาลเดี่ยว
คือไม่มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาสำหรับการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนโดยเฉพาะ เป็นการใช้กฎหมายในรูปแบบกฎหมายจารีตประเพณี พัฒนาโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาล และศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ โดยให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยในทุกข้อพิพาท[4]
ระบบศาลคู่
คือการตั้งศาลขึ้นมาสำหรับการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชน แยกออกมาจากศาลยุติธรรมในลักษณะคู่ขนาน อาจมีมากกว่าสองศาล ซึ่งใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร

ศาลระหว่างประเทศ

แก้

ศาลในประเทศไทย

แก้

การตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้น จะกระทำมิได้

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) ศาลมี 4 ประเภท[5] คือ

  1. ศาลยุติธรรม
  2. ศาลปกครอง
  3. ศาลทหาร
  4. ศาลรัฐธรรมนูญ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นออนไลน์ คำค้นหา เขตอำนาจศาล. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565
  2. "อำนาจพิจารณาคดีของศาลจังหวัด". mgronline.com. 2010-01-11.
  3. โรงเรียนสตรีวิทยา 2, ระบบศาลของประเทศไทย เก็บถาวร 2018-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (sw2.ac.th)
  4. "ระบบศาลไทย". www.public-law.net.
  5. รัฐสภา, โดย. "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 - วิกิซอร์ซ". th.wikisource.org.