หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า อาภากร

หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า อาภากร (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์; 11 ตุลาคม พ.ศ. 2457 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2542) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า อาภากร
หม่อมเจ้า ชั้น 5
ประสูติ11 ตุลาคม พ.ศ. 2457
สิ้นชีพตักษัย4 มีนาคม พ.ศ. 2542 (84 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สวามีหม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร (2478-2509)
พระบุตร5 คน
ราชสกุลรพีพัฒน์ (โดยประสูติ)
อาภากร (โดยเสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
พระมารดาหม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ

แก้

หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า อาภากร (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์) มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงนิด[1] เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2457 มีโสทรภราดาและโสทรภคินีรวมสิบองค์ และมีขนิษฐาต่างพระมารดาสององค์

หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้าทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์แมรี่ และได้อาสาสมัครเป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บ และในปี พ.ศ. 2489 ได้ทรงติดตามสวามีไปรับตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และประทับอยู่จนถึง พ.ศ. 2493 โดยทรงใช้เวลาว่างในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและสามารถทำอาหารไทยและฝรั่งได้เป็นอย่างดี

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้า พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 และ 5 เชิญทั้งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค ทั้งหมด 16 องค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยืนกลาง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงยืนเบื้องขวาพระองค์ แวดล้อมด้วยพระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 และ 5 ทรงเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรและเครื่องราชูปโภคหม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 5 เชิญศิลาบด

 
หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้าเชิญศิลาบท แถวหน้า ลำดับที่ 1

หลังจากที่พลเรือเอก หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร ผู้เป็นสวามีได้สิ้นชีพตักษัยลงขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้าทรงสละเวลาให้แก่กิจการสังคมสงเคราะห์อย่างเต็มที่ โดยทรงเข้ากลุ่มทำกิจกรรมเป็นกรรมการและเป็นประธานของสโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกที่ได้เริ่มตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 นอกจากนี้ยังร่วมเสด็จไปแจกจ่ายเครื่องอุปโภค บริโภค เวชภัณฑ์ต่าง ๆ ยังถิ่นทุรกันดารอยู่เสมอ และเป็นประธานกรรมการจัดหาทุนเข้าสภากาชาดไทย โดยจัดกิจกรรมแข่งขันกอล์ฟการกุศลเป็นเวลาหลายปี

หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้าเริ่มประชวรเมื่อปี พ.ศ. 2539 ด้วยพระโรคพาร์กินสัน และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็นคนไข้ในพระราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จนกระทั่งสิ้นชีพตักษัย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2542 เวลา 8.20 น. ด้วยโรคหทัยวาย และปัปผาสะติดเชื้อ สิริชันษา 84 ปี[1]

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จพระราชดำเนินและเสด็จมาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เสกสมรส

แก้

หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้าเสกสมรสกับพลเรือเอก หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กับหม่อมช้อย วิจิตรานุช) เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2477 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2478)[2] มีโอรสธิดา 5 คน คือ[3]

  • หม่อมราชวงศ์ชาย (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
  • หม่อมราชวงศ์ทิพภากร สมรสกับหม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ มีบุตรธิดา 2 คน คือ
    • หม่อมหลวงเกียรติกร วรวรรณ
    • หม่อมหลวงสุทธิ์ธรทิพย์ วรวรรณ
  • หม่อมราชวงศ์ชาย (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
  • หม่อมราชวงศ์ชาย (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
  • หม่อมราชวงศ์พรระพี อาภากร สมรสกับอุมาภร (สกุลเดิม ศุภสมุทร) มีบุตร 1 คน คือ
    • หม่อมหลวงพงศ์ระพีพร อาภากร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ที่ระลึก หม่อมเจ้าดวงทิพย์โชติ์แจ้งหล้า อาภากร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว. ในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2542. [ม.ป.ท.]: มูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก; 2542.
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 51 ง หน้า 4166 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2477
  3. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2535" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (154ง ฉบับพิเศษ): 4. 4 ธันวาคม 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2532" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (73ง ฉบับพิเศษ): 5. 4 พฤษภาคม 2532. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประกาศกระทรวงวัง เรื่องการประดับเสมาบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน (ทอง, กาโหล่ทอง, เงิน, ทองแดง)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43: 3720. 16 มกราคม 2469 (สากล 2470). สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)