หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์

พลโท หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (30 สิงหาคม พ.ศ. 2449 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526) เป็นทหารบก นักการทูตและข้าราชการพลเรือนชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญเช่น ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารผสม, ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหาร และเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศเดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ประสูติแต่หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค)

หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์
ประสูติ30 สิงหาคม พ.ศ. 2449
สิ้นชีพิตักษัย23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 (76 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
ชายาหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์ (สมรส 2476)
บุตร
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลจักรพันธุ์
พระบิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
พระมารดาหม่อมหวน บุนนาค
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ประจำการพ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2505
ชั้นยศพลโท
บังคับบัญชาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
การยุทธ์

พระประวัติ แก้

หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายติ๊บ[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ประสูติแต่หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2449 โดยพราะนาม "คัสตาวัส" นี้ มาจากภาษาสวีเดนว่า Gustavus เป็นพระนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน ในวโรกาสที่เจ้าชายออสการ์ เบอร์นาดอตต์ เคานต์แห่งวิสบอร์ก พระราชโอรส เสด็จเยือนประเทศสยาม

หม่อมเจ้าคัสตาวัสทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในปี พ.ศ. 2464 สอบไล่ได้ชั้นประถม 5 จากนั้นในปี พ.ศ. 2465 เสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารที่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส เสด็จกลับประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 เข้าประจำการกองบังคับการทหารปืนใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ทรงดำรงตำแหน่งเจ้ากรมการพาหนะทหารบก พ.ศ. 2488 เป็นผู้บังคับการโรงเรียนเทคนิคทหารบก พ.ศ. 2490 เป็นหัวหน้าแผนกศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบก พ.ศ. 2491 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นทูตฝ่ายทหารบกและทหารอากาศประจำสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2504 เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหาร ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์ ระหว่าง พ.ศ. 2505 - 2510

หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์) มีโอรส-ธิดา 3 คน คือ

  • หม่อมราชวงศ์กทลี สุนทรสิงคาล สมรสกับพันตำรวจเอกวสิฐ สุนทรสิงคาล
  • หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน (เดิม: หม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์) สมรสกับอานันท์ ปันยารชุน
  • หม่อมราชวงศ์ตราจักร จักรพันธุ์ สมรสกับอรวรรณ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ตันตยาวนารถ) มีบุตร-ธิดา คือ
    • หม่อมหลวงตรีนุช สิริวัฒนภักดี
    • หม่อมหลวงจุลจักร จักรพันธุ์

หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 สิริชันษา 76 ปี โดย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน ไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันเสาร์ที่ 9 เมษายน ปีเดียวกัน[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พลโท หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

พระยศ แก้

พระยศทางทหาร แก้

  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2470: นายร้อยตรี[13]
  • 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2474: นายร้อยโท[14]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2478: นายร้อยเอก[15]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2483: นายพันตรี[16]
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2486: พันโท[17]
  • 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2489: พันเอก[18]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2496: พลจัตวา[19]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2502: พลโท[20]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. เนื่องในวโรกาสพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2553. [ม.ป.ท.]: ม.ป.พ.; 2553.
  2. ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๑๓๗๘)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๘๐, ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๗๗๑, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๗๘, ๒๐ ตุลาคม ๒๔๗๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๒๔, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๙, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๓๔๙, ๒๖ มกราคม ๒๔๙๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๑๔๐๔, ๓ พฤษภาคม ๒๕๐๓
  13. พระราชทานยศทหารบก
  14. พระราชทานยศทหารบก
  15. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  16. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  • พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.