พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

ศาสตราจารย์พิเศษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536) เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ และหม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านเกษตรศาสตร์ และเริ่มเข้ารับราชการที่กระทรวงเกษตร และเป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถพิเศษทางด้านการประพันธ์คำร้องและทำนองเพลงอีกด้วย

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
พระองค์เจ้าชั้นโท
Chakrapanpensiri-young.jpg
หม่อม
  • เพียงกาญจน์ วีรเธียร (หย่า)
  • หม่อมประพาล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
พระบุตร
  • หม่อมราชวงศ์สุพินดา จักรพันธุ์
  • หม่อมราชวงศ์อรพรรณ สุคันธนาค
  • หม่อมราชวงศ์จันทิรา จักรพันธุ์
  • หม่อมราชวงศ์มาลินี จักรพันธุ์
  • หม่อมราชวงศ์เบญจาภา ไกรฤกษ์
  • หม่อมราชวงศ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์
ราชสกุลจักรพันธุ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
พระมารดาหม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
ประสูติ27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452
สิ้นพระชนม์13 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (84 ปี)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์
ก่อนหน้า พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
ถัดไป สวัสดิ์ คำประกอบ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
ก่อนหน้า หม่อมหลวงชูชาติ กำภู
ถัดไป ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก

พระประวัติแก้ไข

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ หรือ ท่านจักร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กับหม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

ทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2465 จากนั้นได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกรุ่นเดียวกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่ทรงประสบอุบัติเหตุต้องพักการเรียนไป 1 ปี หลังจากนั้นได้กลับเข้าเรียนร่วมรุ่นกับจอมพลถนอม กิตติขจร เรียนจนจบชั้น 5 (ปฐม) จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์ให้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐและประเทศฟิลิปปินส์ ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านการเกษตรเมื่อปี พ.ศ. 2479

หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เสกสมรสและหย่ากับวิภา เก่งระดมยิง; ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเพียงกาญจน์ วีรเธียร)[1] บุตรสาวของพลโท หลวงกาจสงคราม (เทียน เก่งระดมยิง) เมื่อพ.ศ. 2484 มีธิดาคือ

  • หม่อมราชวงศ์สุพินดา จักรพันธุ์ (จุ๋ยกริ่ง) สมรสและหย่ากับอนันต์ กฤษนันท์
  • หม่อมราชวงศ์อรพรรณ สุคันธนาค (จิ๋งกรุ่ม) สมรสกับอนันต์ สุคันธนาค
  • หม่อมราชวงศ์จันทิรา จักรพันธุ์ (จุ๋มกริ่ม) สมรสและหย่ากับอัลโด มัสเซ็ตติ มีธิดาคือคลาวเดีย จักรพันธุ์
  • หม่อมราชวงศ์มาลินี จักรพันธุ์ (จิ๋มกรุ่น) สมรสและหย่ากับอภินันท์ ปวนะฤทธิ์
  • หม่อมราชวงศ์เบญจาภา ไกรฤกษ์ (จุ๋นกรุ่ย) สมรสกับศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์

หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ สมรสกับหม่อมประพาล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ท.จ.ว.(สกุลเดิม รจนานนท์) ธิดาพระยาอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (พ้อง) มีธิดาคนเดียว คือ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ประชวรด้วยพระโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและถุงลมโป่งพองมาเป็นเวลานานจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536 สิริพระชันษาได้ 84 ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศและเฉลิมพระนาม หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2537[2] เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงความจงรักภักดี ตลอดจนความชอบและความดีที่ท่านจักรได้ทรงบำเพ็ญมาตลอดพระชนม์ชีพ มีพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2537 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส

การทรงงานแก้ไข

ผลงานดนตรีแก้ไข

นอกจากทรงเป็นนักบริหารทางการเกษตรที่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังทรงมีความสามารถพิเศษทางด้านการประพันธ์คำร้องและทำนองเพลง

ผลงานที่สำคัญที่สุดคือ การถวายงานด้านการประพันธ์เนื้อร้องประกอบทำนองเพลงพระราชนิพนธ์อันดับแรก แสงเทียน ใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช” ซึ่งท่านจักรได้ทรงเริ่มประพันธ์คำร้องถวายตั้งแต่ครั้งนั้น และยังได้ทรงประพันธ์คำร้องถวายอีก 28 เพลง เช่น ยามเย็น, สายฝน, เทวาพาคู่ฝัน, แก้วตาขวัญใจ, ลมหนาว, แสงเดือน, พรปีใหม่ ฯลฯ

นอกจากนั้นยังได้ทรงประพันธ์คำร้องและทำนองให้แก่วงดนตรีสุนทราภรณ์ไว้อีกเกือบ 100 เพลง ซึ่งล้วนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เช่น ชะตาฟ้า, เกาะสวรรค์, กล่อมสาวงาม, จากรัก, รำวงชาวทะเล, ฝากรัก, เธอนะเธอ, เสี่ยงรัก, ร่มเกล้า, รำวงเกษตร, มาร์ชเกษตรศาสตร์, จุฬาบันเทิง, จุฬาแซมบ้า ฯลฯ

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทรงริเริ่มก่อตั้งวงดนตรี KU Band ประจำมหาวิทยาลัยวงแรกของประเทศไทยด้วย

เพลงเด่นอื่น ๆ เช่น นันทาเทวี ในอุปรากร "นันทาเทวี" ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล คณะอัศวินการละคร และ ร่มเกล้า ในภาพยนตร์ "เงิน เงิน เงิน" ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ละโว้ภาพยนตร์ เป็นต้น

พระเกียรติยศแก้ไข

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ
ลำดับโปเจียมไม่ทราบ

พระอิสริยยศแก้ไข

  • หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ในพระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 - 16 เมษายน พ.ศ. 2458)
  • หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ (16 เมษายน พ.ศ. 2458 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536)

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (29 มีนาคม พ.ศ. 2537)[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนามแก้ไข

พงศาวลีแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. "ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง ศาลมีคำสั่งให้ หม่อมวิภา หรือเพียงกาญจน์ เก่งระดมยิง หรือจักรพันธุ์ หรือวีรเธียร เป็นคนไร้ความสามารถ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (74ง): 52. 12 กันยายน พ.ศ. 2539. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. ประกาศสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ. ราชกิจจานุเบกษา
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา,ประการสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ เล่ม 111 ตอน 5 ข 29 มีนาคม 2537 หน้า 1
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕, ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๑, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๕๑, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
  • พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.