วัดช่องนนทรี
วัดช่องนนทรี เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก ตรงข้ามกับบริเวณฝั่งบางกะเจ้า ก่อตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2119 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2528 กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2520 พระอุโบสถของวัดเปิดให้เข้าชมในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชาและวันอาสาฬหบูชา[1]
วัดช่องนนทรี | |
---|---|
วัดช่องนนทรี | |
ที่ตั้ง | เลขที่ 463 ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
โบราณวัตถุและจิตรกรรมฝาผนัง
แก้พระอุโบสถฐานเป็นโบสถ์แอ่นท้องสำเภา มีขนาด 5 ห้อง 2 มุข คล้ายโบสถ์มหาอุด ด้านหน้าพระอุโบสถทำเป็นมุขเด็จ มีเสาหารรองรับเครื่องบนหลังคาสี่ต้น หน้าบันทำเป็นฝาปะกนไม่สลักลวดลาย หลังคาเป็นลอนมุงกระเบื้องแล้วฉาบปูนติดเชิงชาย ด้านหน้าโบสถ์มีเจดีย์และใบเสมาเรียงรายกันอยู่ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีพระพุทธรูปอีกสี่องค์เรียงรายลดหลั่นกัน ฐานองค์พระมีลายปูนปั้น ขาสิงห์เป็นรูปครุฑ
จิตรกรรมฝาผนัง มีครบทั้ง 4 ด้าน แต่มีสภาพสมบูรณ์เพียง 2 ด้าน เล่าเรื่องทศชาติชาดก อดีตพุทธ และพุทธประวัติโครงสีเป็นสีแดงเรื่อ ๆ หรือสีชมพู โดยส่วนใหญ่เป็นสีจากธรรมชาติ ถือเป็นภาพเขียนสมัยอยุธยาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ใกล้เคียงกับวัดปราสาท จังหวัดนนทบุรี คาดว่าเป็นงานจิตรกรรมสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[2] การวางภาพจะคั่นเรื่องราวด้วยลายร้อยรักเป็นเส้นตั้ง และคั่นเรื่องย่อยด้วยเส้นสินเทา ส่วนใหญ่โครงเป็นสีแดง นิยมปิดทองตัวกษัตริย์ราชรถและปราสาท การเขียนภาพมีลักษณะเหนือจริงเน้นความสวยงามมากกว่าความสมจริง โดยเขียนต้นไม้บิดเบี้ยวและภูเขาตัดเส้นแบบจีน มีบางภาพเขียนแบบทัศนียวิทยาแบบตะวันตกด้วย[3]
-
อุโบสถหลังเก่า สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
-
พระประธานและหมู่พระพุทธรูปในอุโบสถหลังเก่า
-
จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถหลังเก่า
-
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องเตมียชาดก
อ้างอิง
แก้- ↑ ศุภกิจ พิทักษ์บ้านโจด. "วัดช่องนนทรี ศิลปะไทยยุคกรุงศรีฯ ที่ยังมีลมหายใจ".
- ↑ "วัดช่องนนทรี". สำนักงานเขตยานนาวา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
- ↑ "วัดช่องนนทรี".